การพัฒนาสินค้าทางวัฒนธรรมจากภูมิปัญญาผ้าไหมทอมือบ้านครัว โดยครอบครัวมนูทัศน์ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ภูมิปัญญา, ผ้าไหมทอมือ, บ้านครัว, สินค้าทางวัฒนธรรม, ครอบครัวมนูทัศน์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติการสืบทอดและวิธีการพัฒนาสินค้าทางวัฒนธรรมจากภูมิปัญญาผ้าไหมทอมือบ้านครัวของครอบครัวมนูทัศน์ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพประเภทกรณีศึกษา เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากสมาชิกครอบครัวมนูทัศน์ ช่างทอผ้าไหม ผู้เคยทอผ้าไหมในชุมชน หน่วยงานเครือข่าย ลูกค้าที่ซื้อผ้าไหมและประชาชนที่รู้จักและสนใจผ้าไหม แต่ไม่เคยซื้อสินค้า รวมทั้งสิ้น 18 คน วิเคราะห์และนำเสนอด้วยการบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า ครอบครัวมนูทัศน์สืบทอดภูมิปัญญาจากรุ่นบรรพบุรุษกลุ่มชาติพันธุ์จามจากประเทศกัมพูชา ย้ายมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยตั้งแต่ปีพ.ศ.2330 ถ่ายทอดและสืบทอดสู่รุ่นลูกและรุ่นหลาน รวมอายุภูมิปัญญากว่า 230 ปี เดิมทอผ้าเพื่อใช้ในครัวเรือนและเริ่มพัฒนาการทอผ้าไหมเพื่อจำหน่ายอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ.2494 ถึงปัจจุบัน รวมอายุการจำหน่ายผ้าไหมกว่า 130 ปี ปัจจุบันสืบทอดโดยผู้สืบทอดรุ่นที่ 3 มีการพัฒนาภูมิปัญญาผ้าไหมเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม จำแนกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาด้านทรัพยากรสำหรับการผลิตและการทอผ้าไหม ด้านการประยุกต์และแปรรูปสินค้าวัฒนธรรมเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป และเกิดแนวคิดในการกระจายรายได้สู่สมาชิกในชุมชนและเครือข่ายผู้ประกอบการ ด้านการพัฒนาสินค้าทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างและยกระดับคุณภาพสินค้าภายใต้หน่วยงานเครือข่ายและเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้า และด้านการพัฒนาและขยายช่องทางจำหน่ายสินค้า และการขยายฐานลูกค้า สิ่งเหล่านี้ สะท้อนถึงการพัฒนาสินค้าทางวัฒนธรรมจากภูมิปัญญาอย่างเข้มแข็ง
References
Chuaybamroong, T. (2011). Local Wisdom for Creative Community Development. Bangkok: King Prajadhipok’s Institute (In Thai).
Cohen, E. (1988). Authenticity and Commoditization in Tourism. Annals of Tourism Research, 15(3), 371-386.
Janjumpa, P. (2015). Cultural Capital Management for Urban Development, Songkhla Municipality, Thailand. Bangkok: Thammasart University (In Thai).
Komchadluek Online. (2020). Jim Thompson disappeared with no return. Retrieved from https://www.komchadluek.net/news/today-in-history/424375 (In Thai)
Kongpikul, D. (2012). The Cultural Capital Reproduction: A Case Study of Praharuthai Convent School. Bangkok: National Institute of Development Administration (In Thai).
Lertsukprasert, P. (2005). Commoditization of funeral services. Bangkok: Chulalongkorn University (In Thai).
Moohamad, R. (2013). Islam and Sustainable Development: A Case Study of Masjid Kamalulislam Community, Khlong Saen Saep, Bangkok. Bangkok: National Institute of Development Administration (In Thai).
Mungmachon, R., & Vangpaisal, T. (2013). The Integration of Local Knowledge and Wisdom of Ratchathani Asok Community, Ubon Ratchathani: A Proposal of a New Model for a Community of Learning. Journal of the Association of Researchers, 18(3), 45-55 (In Thai).
Nathalang, E. (1997). Four Regional Local Wisdom: Lifestyle and Learning Process of Thai Villagers. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University (In Thai).
Noraratphutthi, K. (2019). Culture, Values toward Worth. Retrieved from http://article.culture.go.th/index.php/template-features/137-2019-07-02-06-14-35 (In Thai)
Phongphit, S. (2005). Thinking based SMCEs Small and Micro Community Enterprise. Bangkok: Palang Panya publisher (In Thai).
Puangpanya, B., Kenaphoom, S., & Yupas, Y. (2016). Management Approach for Enhancing the Cultural commodity. Bailan Journal, Ubon Ratchathani Rajabhat University, 1(1), 80-101 (In Thai).
Thanapornpan, R. (2003). Cultural Capital: Culture in World Capitalism Volume1. Bangkok: Matichon publisher (In Thai).
Vanichwatanavorachai, S., & Homfung, C. (2018). The Creative Integration of Local Wisdom into Teaching and Learning in the 21st Century. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(3), 2551-2563 (In Thai).
Wangyen, J. (2011). Post Modern Issue: Intellectual World Revisit. Institute of Culture and Arts Journal, 13(1), 20-23 (In Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว