การพัฒนาความสามารถด้านวัฒนธรรมจีนกับการใช้ภาษาโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติของนักศึกษาหลักสูตรภาษาจีนธุรกิจ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
คำสำคัญ:
การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาจีน, วัฒนธรรมจีน, กิจกรรมบทบาทสมมติ, หลักสูตรภาษาจีนธุรกิจบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถด้านวัฒนธรรมจีนกับการใช้ภาษาโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรภาษาจีนธุรกิจ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนวัฒนธรรมจีนและการใช้ภาษา 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อวัฒนธรรมจีนกับการใช้ภาษาโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปี 3 ที่ลงทะเบียนรายวิชา ZH202 วัฒนธรรมจีนกับการใช้ภาษาจำนวน 69 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ 1) แผนการสอนรายวิชา ZH202 วัฒนธรรมจีนกับการใช้ภาษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2565 จำนวน 18 แผน 2) แบบประเมินความสามารถด้านวัฒนธรรมและการใช้ภาษาจีน 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา ZH202 วัฒนธรรมจีนกับการใช้ภาษา 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาต่อรายวิชา ZH202 วัฒนธรรมจีนกับการใช้ภาษาโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ตรวจสอบสมมติฐาน One sample t- test
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีความสามารถด้านวัฒนธรรมและการใช้ภาษาจีนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ กิจกรรมส่วนใหญ่มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดี 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนวิชา ZH202 นักศึกษามีคะแนนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=9.164* sig.=0.000) 3) ภาพรวมของความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D. = 0.54) ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านอาจารย์ผู้สอน ( = 4.62, S.D. = 0.49) ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ( = 4.56, S.D. = 0.50) และด้านผู้เรียน ( = 4.42, S.D. = 0.61)
References
Arham, R. (2016). The Use of Role Play to Improve Teaching Speaking. International Journal of Scientific and Research Publications, 239-241.
Chantamat, S. (2022). Using Role-Playing Activities for Students’ Chinese Speaking Skills Improvement in The Chinese Language Teaching Program, Faculty Of Education, Chiang Rai Rajabhat University. Journal of Education Burapha, 33(1), 72-85 (In Thai).
Chaursiya, B. (2012). Effectiveness of Role Play Technique in Teaching Dialogue. Kathmandu.: Faculty of Education Tribhuvan University Kirtipur.
Harris, P. D. (1990). Testing English as a Second Language. New York: McGraw Hill.
Littlewood, W. (1995). Communicative Language Teaching. Britain: Cambridge University Press.
Revell, J. (1979). Teaching Techniques for Communicative English. London: The Macmillan Press Limited.
Richards, C. J. (2006). Communicative Language Teaching Today. New York: Cambridge University Press.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-Referenced Test Item Validity. Tijdschrift Voor Onderwijs Research, 2, 49-60.
Srisa-ard, B. (2013). Introduction to Research (5th ed.). Bangkok:: Suweeriyasarn (In Thai).
Sunardi. (2013). Teaching Speaking Ability Through Role Play. In TEACHER TRAINING AND EDUCATION FACULTY (pp. 1-16.). PontianakONTIANAK: Tanjungpura University.
Thanapongpipat, T., & Komaratat, S. (2018). The development of speaking Chinese skill by using role play technique for accountant major of vocational certificate grade 2. Journal of Graduate School of Dhurakij Pundit University, 7(2), 453-464. (In Thai).
Werth, M. (2018). (2018). Role-play in the Chinese Classroom. Amherst: University of Massachusetts .
Wisutsiri, Y., Banpurng, M., & Tasanameelarp, A. (2021). Using Role-play To Improve Chinese Language Speaking Skills : Case Study From International College, Suratthani Campus, Prince Of Songkla University. Journal of Technical Education Rajamangala University of Technology Thanyaburi, 20(3), 112-121 (In Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว