การศึกษาปัญหาการใช้คำกริยาพ้องความหมายหน่วยคำปรากฏร่วมภาษาจีน ของนักศึกษาไทย

ผู้แต่ง

  • พิมพร วัฒนากมลกุล สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

คำจีนกริยาพ้องความหมาย, ระดับความเข้าใจ, ข้อผิดพลาดในการใช้คำ, แนวทางแก้ไขปัญหา

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ และเปรียบเทียบคำกริยาพ้องความหมายหน่วยคำปรากฏร่วมภาษาจีน 2) ศึกษาสภาพความเข้าใจในการใช้คำกริยาพ้องความหมายหน่วยคำปรากฏร่วมภาษาจีน 3) ปัญหาข้อผิดพลาดในการใช้คำกริยาพ้องความหมายหน่วยคำปรากฏร่วมภาษาจีน และ 4) แนวทางแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนด้านการใช้คำกริยาพ้องความหมายหน่วยคำปรากฏร่วมภาษาจีน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ มหาวิทยาลัยที่เปิดการเรียนการสอนภาษาจีนเป็นสาขาวิชาเอกทั้งกรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและภูมิภาคต่างๆ จำนวน 6 แห่ง รวมทั้งสิ้น 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบ  2) แบบสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ และค่า ร้อยละ และวิธีการวิเคราะห์เอกสาร

        ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านบริบทความหมาย ถึงแม้ว่าความหมายจะเหมือนหรือพ้องกัน แต่เมื่อขอบเขตความหมายต่างกัน เป้าหมายการใช้จึงมีความแตกต่างกัน รวมทั้งระดับความหมายทางอรรถศาสตร์หนักเบาหรือความเข้มข้นต่างกัน ด้านลักษณะหน้าที่ทางการใช้คำทางไวยากรณ์ พบว่า การที่ใช้คำประกอบกันส่งผลทำให้คำพ้องความหมายมีความแตกต่างในบริบทการใช้ ด้านชนิดของคำ คำนั้นสามารถทำหน้าที่ได้หลายประเภท รวมทั้งรูปแบบโครงสร้างของคำ โดยคำประสมแบบรวมคำ-คำประสมแบบรวมคำมีจำนวนสูงสุด, 2) สภาพการใช้คำกริยาพ้องความหมายหน่วยคำปรากฏร่วมภาษาจีนของนักศึกษาไทย พบว่า ส่วนใหญ่อัตราการใช้ที่ถูกต้องมากกว่า ร้อยละ 50 3) ปัญหาข้อผิดพลาดในการใช้คำกริยาพ้องความหมายหน่วยคำปรากฏร่วมภาษาจีน พบว่า มีข้อผิดพลาดด้านความหมายของคำ และข้อผิดพลาดด้านไวยากรณ์ และ 4) แนวทางแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนให้ถูกต้องและเป็นระบบ 4 ด้าน คือ ด้านผู้เรียน ด้านระดับความยากของภาษา ด้านผู้สอนและการจัดการเรียนการสอน รวมถึงด้านตำราเรียน

References

Anchaleenukul, S. (2019). Thai morphological system . Bangkok: Chulalongkorn University Press (In Thai) .

Beijing Advanced Innovation Center for Language Resources. (2019). HSK dynamic composition corpus. Retrieved June 10, 2019, from Beijing Language and Culture University: http://hsk.blcu.edu.cn/ (In Chinese)

Dong, Y. (1989). View on parts of same morpheme of Chinese disyllabic word. Thinking and Wisdom, 8(1), 41-43 (In Chinese).

Feng, Z. (2010). Modern Chinese usage dictionary. Chengdu: Sichuan Lexicographical Press (In Chinese).

Ge, B. (2001). Modern Chinese lexicology. Jinan: Shandong People’s Publishing House (In Chinese).

Gu, W. (2018). The study on the use of monosyllabic and disyllabic synonymous verbs with a same morpheme in Thai students. In Master's thesis. Yunnan University (In Chinese).

Iamworamate, T. (2018). A new Chinese-Thai dictionary (35th ed.). Bangkok: Ruam Sarn (In Thai).

Jeangjai, S. (2009). The Analysis of Differences in Chinese Synonyms for Thai Learner. Songklanakarin Journal of Social Sciences and Humanities, 15(6), 1026-1036. Retrieved from https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/include/getdoc.php?id=1577&article=703&mode=pdf (In Thai)

Liu, Y. (2001). Practical Modern Chinese Grammar. Beijing: The Commercial Press (In Chinese).

Mei, J., Zhu, Y., Gao, Y., & Yin, H. (1996). Tongyici Cilin (2nd ed.). Shanghai: Shanghai Lexicographical Publishing House (In Chinese).

Regional Education Office No.3. (2020). The conditions and problems of organizing active learning (Active Learning) of basic educational institutions in the area under the responsibility of Region Education Office No.3. Ratchaburi: Region Education Office No.3 (In Thai).

The Dictionary Department of the Institute of Linguistics of the Chinese Academy of Social Sciences. (2016). Modern Chinese Dictionary (7th ed.). Beijing: The Commercial Press (In Chinese).

Yang, J. (2004). How to compare the usage of synonyms in classroom teaching. Chinese Teaching in the World, 18(3), 96-104. Retrieved from https://cstj.cqvip.com/Qikan/Article/Detail?id=11127770 (In Chinese)

Zhu, Z. (2004). Error Analysis on Chinese Dissyllabic Compounds in Semantics. Chinese language teaching, 24(2), 61-65. doi:10.3969/j.issn.1003-7365.2004.02.012. (In Chinese)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10-06-2024