การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยสื่อการสอนแบบเพื่อนสอนเพื่อนและวีดีโอของรายวิชาการเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม

ผู้แต่ง

  • กัญธิมา หล่าดอนดู่ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

สื่อการสอนด้วยวีดีโอ, สื่อการสอนแบบเพื่อนสอนเพื่อน, การเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่าง ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

       การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนภายในกลุ่มที่เรียนด้วยสื่อประเภทเพื่อนสอนเพื่อนและวีดีโอ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนระหว่างกลุ่มด้วยการใช้สื่อการสอนประเภทเพื่อนสอนเพื่อนและวีดีโอ 3)  ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อประเภทเพื่อนสอนเพื่อนและวีดีโอของรายวิชาการเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่าง ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง  โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ประจำปีการศึกษา 2/2565 จำนวน 58 คน โดยทำการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการทำแบบทดสอบ และทำแบบประเมินความพึงพอใจด้วยแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยสถิติ t-test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

       ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยสื่อเพื่อนสอนเพื่อนและแบบวีดีโอ พบว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 แสดงให้เห็นว่านักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น 2) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนระหว่างกลุ่มที่เรียน พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน 3) ความพึงพอใจพบค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนด้วยสื่อเพื่อนสอนเพื่อนและสื่อวีดีโอ อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด และมาก ตามลำดับ  ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนทั้ง 2 เทคนิค โดยเฉพาะเทคนิคการสอนแบบเพื่อนสอนเพื่อน ดังนั้นควรมีการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเพื่อนสอนเพื่อน เพิ่มเติมในรายวิชาปฏิบัติอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนและตรงตามความต้องการของนักศึกษามากขึ้น

References

Almalhy, K. M. (2022). Effect of video tutorial delivery method on D/HH students’ content comprehension. Sec. Educational Psychology, 13, 1-15. doi:10.3389/fpsyg.2022.872946

Best, J. W., & Kahn, J. V. (1981). Research in education. America: Prentice Hall.

Chanudom, P., Krahomvong, R., & Kochakornjarupong, D. (2019). The Results of Instruction Model Using the Demonstration Method of Algorithm on Practice Skills and Learning Achievement of Secondary Grade 4 Students. Journal of Education Thaksin University, 19(1), 88–98. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/187286 (In Thai)

Daosri, T., Thipkonglad, P., Khemphong, P., Dubsork, S., Pengpis, S., Wisarutphaisan, W., & Phutiariyawat, J. (2021). The study of the learning management approach of school in the 21st century. Journal of Humanities and Social Sciences Nakhon Pathom Rajabhat University, 11(1), 59-74. Retrieved from https://so07.tci-thaijo.org/index.php/HUSO-J/article/view/692 (In Thai)

Donkor, F. (2010). The comparative instructional effectiveness of print-based and video-based instructional materials for teaching practical skills at a distance. International review of research in open and distributed learning, 11(1), 96-116. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/41847143_The_Comparative_Instructional_Effectiveness_of_Print-Based_and_Video-Based_Instructional_Materials_for_Teaching_Practical_Skills_at_a_Distance

Hamzah, N., Ahmad, F., Ariffin, A., Rubani, S. N., & Zakaria, N. (2019). EEffectiveness of Video Use in the Teaching and Learning of Electronic Practice in Vocational College. International Journal of Innovative Technology and Exploring Engineering, 9(2), 4626-4630. Retrieved from https://www.ijitee.org/portfolio-item/B9046129219

Hunyala, J. (2013). A Comparative Study of the Efficiency of Two Teaching Tools: Use of

Slideshows and Use of Videos to Instruct Students in Management and Quality

Assurance. Industrial Technology Lampang Rajabhat University Journal, 6(1 ), 1-8. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/Itech/article/view/29414 (In Thai)

Ketchatturat, J. (2019). Classroom Research: The process of creating knowledge for learning development under the academic services project to strengthen classroom research of teachers in the northeastern region (In Thai). Khon Kaen: Khon Kaen University Printing (In Thai).

Plengcharoensirichai, M. (2015). A comparison of learning achievement of Mathayomsuksa 4 students between study by study by cooperative learning and blended learning with cooperative learning. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 8(2), 950-966. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/40282 (In Thai)

Tuntirojanawong, S. (2017). A Direction of Educational Management in the 21stCentury. Veridian EJournal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 10(2), 2843-2854. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/109763 (In Thai)

Veeramani, R., & Bradley, S. (2008). Insights regarding undergraduate preference for lecture capture. Madison, WI: University of Wisconsin-Madison, 3.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-06-2024