การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบห้องเรียนกลับด้านแบบดั้งเดิมและแบบปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การผลิตพืชยุค 4.0 ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้แต่ง

  • พรประภา แสนหลวง โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา
  • ทักษอร จอมมานพ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้, ห้องเรียนกลับด้านแบบดั้งเดิม, การเรียนรู้แบบเน้นปัญหาเป็นฐาน, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

      วัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านแบบดั้งเดิมและปัญหาเป็นฐาน, เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  และความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสองกลุ่มตัวอย่าง(independent sample t-test)  กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 48 คน

       ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนห้องเรียนกลับด้านแบบดั้งเดิมและปัญหาเป็นฐาน มีคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนสอบก่อนเรียน โดยมีคะแนนสอบก่อนเรียนเฉลี่ย 15.58, 16.08 คะแนนและคะแนนสอบหลังเรียนเฉลี่ย 20.42, 20.00 คะแนน ตามลำดับ รูปแบบการสอนทั้งสองรูปแบบมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มทดสอบ ด้านความพึงพอใจ ผู้เรียนมีระดับความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนทั้งสองรูปแบบอยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.43 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.70 การจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เรียนในการทำกิจกรรมที่มอบหมาย รวมทั้งผู้สอนที่ต้องมีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่น่าสนใจ เน้นการมีส่วนร่วม สร้างกระบวนการทำงานเป็นทีม จะทำให้การจัดกิจกรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด

References

Boonchaiyo, K., Hoksuwan, S., & Sichaliew, T. (2019). Flipped classroom learning environment model based on problem-based principles to promote analytical thinking skills for secondary school students. Journal of Education, Mahasarakham University, 13(1), 38–52 (In Thai).

Kuder, G. F., & Richardson, M. W. (1937). The theory of the estimation of test reliability. Psychometrika, 2, 151-160. doi:10.1007/BF02288391

Limwong, T., & Sangrit, Y. (2019). The flipped classroom: A new way of learning for the 21st century. Journal of Mahidol R2R e-Journal, 6(2), 9–17. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/article/download/241469/164227/ (In Thai)

Maneerat, W. (2012). Development of flipped classroom learning management in chemistry on the topic of acids and bases for students in special science classrooms. In Master's thesis. Srinakharinwirot University . Retrieved from http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Chem/Waratthaya_M.pdf (In Thai)

Ministry of Education. (2088). The basic education core curriculum B.E. 2551: Career education. In Office of Academic Affairs and Educational Standards, OBEC. Retrieved from https://www.obec.go.th

Sanghirun, M. (2010). Statistics for Classroom Research. Journal of Education, Uttaradit Rajabhat University, 19-32. Retrieved from https://shorturl.asia/0LYsB (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2024