การพัฒนาสมรรถนะการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้สร้างคำอธิบายที่สมเหตุสมผลโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ หาความรู้ (5Es) ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลนางแล (บ้านทุ่ง)

ผู้แต่ง

  • แสงระวี ณ ลำพูน -education
  • สุพัตรา ไชยมงคล
  • สมชาย ใจบาน

คำสำคัญ:

สมรรถนะการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์, การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ , ประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้สร้างคำอธิบายที่สมเหตุสมผลของนักเรียนก่อนการใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) 2)  เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบ
สืบเสาะหาความรู้ (5Es)ในการพัฒนาสมรรถนะการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้สร้างคำอธิบายที่สมเหตุสมผลของนักเรียน 3) เพื่อประเมินสมรรถนะการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้สร้างคำอธิบายที่สมเหตุสมผลของนักเรียนหลังการใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลนางแล (บ้านทุ่ง)  ปีการศึกษา 2566 จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้(5Es) ในการพัฒนาสมรรถนะการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้สร้างคำอธิบายที่สมเหตุสมผล 2) แบบทดสอบวัดสมรรถนะ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบ T-test ผลการวิจัยพบว่า

                   1) ระดับสมรรถนะการนำความรู้นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้สร้างคำอธิบายที่สมเหตุสมผลนักเรียนมีระดับสมรรถนะปานกลางร้อยละ 56 และระดับมากร้อยละ 24 ในระดับน้อย ที่ร้อยละ 20

                   2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) มีคะแนนเฉลี่ย จากการประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้โดยการสังเกตจากครูผู้สอน และการทดสอบย่อย ระหว่างเรียนเท่ากับ 46.52 จากคะแนนเต็ม 60 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 77.53 แสดงว่าประสิทธิภาพด้านกระบวนการ (E1) เท่ากับ 77.53 ประสิทธิภาพด้านผลลัพธ์ (E2 ) เท่ากับ 76.00 ดังนั้น ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) (E1/E2) เท่ากับ 77.53/76.00  โดยภาพรวมดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 77.53

                3) ระดับสมรรถนะการนำความรู้นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้สร้างคำอธิบายที่สมเหตุสมผลนักเรียนหลังการใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ของนักเรียนมีระดับสมรรถนะระดับมากคิดเป็นร้อยละ 52 และระดับมากที่สุดเท่ากับระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ24 ตามลำดับ โดยมีค่าเฉลี่ยสมรรถนะการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้สร้างคำอธิบายที่สมเหตุสมผลนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลนางแล (บ้านทุ่ง) หลังการใช้เทคนิคการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สูงกว่าก่อนการใช้ โดยก่อนใช้เทคนิคการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 16.92 คิดเป็นร้อยละ 56.4 และหลังการใช้เทคนิคการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 20.76 คิดเป็นร้อยละ 69.2

Author Biographies

แสงระวี ณ ลำพูน, -education

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก)

สุพัตรา ไชยมงคล

นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (2566)

สมชาย ใจบาน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก)

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2562). เกิดอะไรขึ้นกับการศึกษาไทยเมื่อผลสอบ ‘PISA’ เด็กไทยไม่ถึงค่าเฉลี่ย. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/857279.

จริญญา เดือนแจ้งรัมย์, กรวลัย พันธุ์แพ และมิ่งขวัญ ภาคสัญไชย. (2564). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะผ่านบนเว็บเควสท์ เรื่อง แบบจำลองอะตอม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต.

(1), 49.

ธมลวรรณ ธีระบัญชร. (2566). การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการสอนร่วมสมัย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 6(1), 182.

ธีรยุทธ แก้วดำรงชัย และอัมพร วัจนะ. (2565). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบ

สืบเสาะหาความรู้ (5E) ด้วยบทเรียนออนไลน์ บน Google Sites ร่วมกับเกมวัน เดอ โก เรื่องระบบนิเวศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(5), 10.

บังอร เสรีรัตน์. (2565). ครูกับการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 14(1), 1-10.

พีรพัฒน์ สังวร, สุภาณี เส็งศรี, ธนารัตน์ หาญชเล และวราพร อันตวงศ์. (2566). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบ สืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Jigsaw เรื่อง Internet of Things (IoT) และSmart City สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 6(1), 193.

ยุวพร ดวงศรีและบุญสม ทับสาย. (2561). การเรียนรู้แบบสืบเสาะ: กระบวนการเรียนรู้เพื่อปฏิรูปชั้นเรียน. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย. 9(2), 371.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). ผลการประเมิน PISA 2009 การอ่านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). กิจกรรม GLOBE ภายใต้สถานการณ์โควิด-19. นิตยสาร สสวท. 48(224).42.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2566). กรอบการประเมินด้านวิทยาศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2566. เข้าถึงได้จาก

https://pisathailand.ipst.ac.th/about-pisa/science_competency_framewark/.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อสมรรถนะสำคัญในการแก้ปัญหาของนักเรียน ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำ นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 14(1), 283-284.

อรพรรณ สุชาติกุลวิทย์, (2020). มนุษย์ในทรรศนะของจอห์น ดิวอี้. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2566. เข้าถึงได้จาก https://wisemention.com

Bloom, B.S. (1956). A Taxonomy of Educational Objectives: Handbook I The Cognitive Domain. Longman Green Co.

Bloom, B.S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. McGraw–Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-02