การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม

ผู้แต่ง

  • อิทธิเดช น้อยไม้ -
  • ณัฐวรรณ เฉลิมสุข

คำสำคัญ:

ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ, สังคมศึกษา , การจัดการเรียนรู้เชิงรุก , เทคนิคการใช้คำถาม, การจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนภายหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม เมื่อเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิต“พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 33 คน
ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้  2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้  3) แบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

  ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) ผลการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก อยู่ในระดับมาก

Author Biographies

อิทธิเดช น้อยไม้, -

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา

 

ณัฐวรรณ เฉลิมสุข

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). ปั้นสมองของชาติ: ยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

เกียรติพร สินพิบูลย์. (2560). การพัฒนาความสามารถการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้วยการใช้คำถามเป็นฐานร่วมกับมัลติมีเดียสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2567). Active Learning: มโนทัศน์ วิธีการ และเทคนิค. พิษณุโลก: โรงพิมพ์รัตนสุวรรณการพิมพ์.

ดนุชา สลีวงศ์, ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ และสุพัตรา คูหากาญจน์. (2558). การพัฒนาการคิดวิจารณญาณด้วย การเรียนแบบกรณีศึกษาบนเว็บที่ใช้เทคนิคการตั้งคำถามและการคิดสะท้อน. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 9(3), 197-208.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2561). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2565). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

สุกัญญา ตันสุวรรณ, ศุภลักษณ์ สัตย์เพริศพราย, กรัณย์พล วิวรรธมงคล และญดาภัค กิจทวี. (2566). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามเป็นฐานและการโค้ช เพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 10(1), 19-29.

สุธน วงศ์แดง. (2564). การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โดยใช้คำถามทรงพลัง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 16(2), 187-197.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

วรุตม์ อินทฤทธิ์ และวลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2559). ผลของการเรียนการสอนสังคมศึกษาโดยใช้วิธีกรณีศึกษาที่มีต่อมโนทัศน์ประชาธิปไตยและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา (OJED) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 11(1), 187-200.

วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2555). ครูสังคมศึกษากับการพัฒนาทักษะแก่นักเรียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

Cambridge Assessment International Education. (2022). Getting Started with Active Learning. Retrieved from https://www. cambridge-community.org.uk/professional-development/gswal/index.htm.

Donovan, M.S. & Bransford, J.D. (2005). How students learn science in the classroom. Washington DC: National Academy Press.

Ennis, R. H. (2013). The nature of critical thinking: An outline of critical thinking dispositions and abilities. Retrieved from https://www.critical thinking.net

Esteban, A. A. (2022). Case study teaching in social studies: Student satisfaction survey. International Journal of Social Studies Education, 7(2), 28-39.

McKinney, K. & Heyl, B. (2008). Sociology Through Active Learning. 2nd ed. Thousand Oaks, CA: SAGE/Pine Forge Press.

Mahdi, Q.R., Nassar, I.A. & Almuslamani, H.A.I. (2020). The Role of Using Case Studies Method in Improving Students' Critical Thinking Skills in Higher Education. International Journal of Higher Education. 9(2) p297-308. Retrieved from https://eric.ed.gov/?id=EJ1248562.

Syaikhudin, Ahmad. (2016). Fostering Student Critical Thinking Skills in Elementary Social Studies Using Socrates Question Method (SQM). The 1st International Conference on Child-Friendly Education (ICCE). Retrieved from https://publikasiilmiah.ums.ac.id/xmlui/handle/11617/7239.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-04