การพัฒนาทักษะกระบวนการทำงานและความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชัน TikTok วิชาอาหารไทยท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
คำสำคัญ:
ทักษะกระบวนการทำงาน, ความคิดสร้างสรรค์, การใช้โครงงานเป็นฐาน, วิชาอาหารไทยท้องถิ่น, แอปพลิเคชัน TikTokบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทำงานของนักเรียน ก่อนและหลัง
การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชัน TikTok 2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทำงานของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชัน TikTok กับเกณฑ์ระดับคะแนนของโรงเรียนร้อยละ 75 3) ศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชัน TikTok และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสงวนหญิง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่เลือกเรียนรายวิชาอาหารไทยท้องถิ่น จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาอาหารไทยท้องถิ่น จำนวน 6 แผน 2) แบบประเมินทักษะกระบวนการทำงาน จำนวน 10 ข้อ 3) แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 8 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t–test for dependent samples ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีทักษะกระบวนการทำงานหลังการจัดการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนร้อยละ 100 มีทักษะกระบวนการทำงานหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 75 3) นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์หลังการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับดี และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชัน TikTok ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กัลยา โสภณพนิช. (2564). วิธีที่ TikTok ใช้สนับสนุนชุมชนของเราให้ผ่านสถานการณ์ COVID-19. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.starfishlabz.com/blog/760-การใช้เทคโนโลยี-เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน.
จรัสพร บัวเรือง. (2562). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยการเรียนรู้แบบนำตนเอง วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพ ฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
นงลักษณ์ เขียวมณี. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีและความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
นภสร ยลสุริยัน. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับแนวคิดแบบ STEM EDUCATIONเพื่อส่ งเสริมความเป็นนวัตกรและผลงานสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2557). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : สุริยาสาส์น.
ปัณณธร เล่งเจริญ. (2563). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเขียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. นครศรีธรรมราช : โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก สังกัดเทศบาลนครศรีธรรมราช.
ปาจรีย์ หละตำ. (2563). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการถนอมอาหาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 31(3), 172-189.
พะเยาว์ ตองแก้ว. (2566). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะความคิดสร้างสรรค์ ในรายวิชางานช่าง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิจัยเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้. 6(2), 32-46.
พิศมัย บ้านใหม่. (2554). การพัฒนาทักษะกระบวนการทำงานโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการ 9 ขั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ภรภัทร ธัญญเจริญ. (2564). พฤติกรรมการเปิดรับ ทัศนคติ และการตัดสินใจใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
โรงเรียนสงวนหญิง. (2566). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสงวนหญิง ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ปีการศึกษา 2566. สุพรรณบุรี : โรงเรียนสงวนหญิง.
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพ ฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุรินทร์ ตันสกุล. (2561). รายงานการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบโครงงาน เรื่องเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. สงขลา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2.
อานนท์ พิลาภ. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติงานอาชีพ โดยใช้รูปแบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Zhun Yee Chew. (2024). ต้องอ่าน 10 อันดับเทรนด์การศึกษาปี 2024 และข้อมูลเชิงลึกที่นำไปใช้ได้จริงสำหรับครู. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2567. เข้าถึงได้จาก https://www.marketingoops.com/ exclusive/insider- exclusive/tik-tok/.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.