พัฒนาการด้านกลยุทธ์การสร้างสรรค์ภาพยนตร์โฆษณา ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2551-2560
คำสำคัญ:
ภาพยนตร์โฆษณา, กลยุทธ์การสร้างสรรค์โฆษณา, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาพัฒนาการของกลยุทธ์ รูปแบบ และเนื้อหาในการสื่อสารเพื่อการโฆษณาของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2551-2560 2) ศึกษาเปรียบเทียบภาพยนตร์โฆษณาของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่นำเสนอในประเทศและต่างประเทศโดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาเนื้อหาจากชิ้นงานภาพยนตร์โฆษณาของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2551-2560 จำนวน 36 ชิ้น มีกรอบแนวคิดหลักในการวิเคราะห์ คือ แนวคิดเรื่องการท่องเที่ยว การโฆษณาและกลยุทธ์การสร้างสรรค์งานโฆษณา และการผลิตภาพยนตร์โฆษณา
ผลการศึกษาพบว่า พัฒนาการของกลยุทธ์ในการสื่อสารเพื่อการโฆษณาและเนื้อหาที่ใช้ในการสื่อสารของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ไทยอนุรักษ์นิยมม 2) ไทยสงบ 3) ไทยเก๋ไก๋ โดยแต่ละระยะมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในภาพรวม ททท. วางบุคลิกภาพตราสินค้าหลัก (Main Brand Personality) ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยไว้ 2 รูปแบบ คือ ความจริงใจ (Sincerity) ผสมกับความตื่นเต้น (Excitement) สำหรับกลุ่มเป้าหมายทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยมีการใช้บุคลิกภาพตราสินค้ารูปแบบความสามารถ (Competence) เข้ามาช่วยในแคมเปญของตลาดในประเทศ ด้วยการนำเสนอผ่านภาพตัวแทนสินค้า (Presenter) ที่มีความน่าเชื่อถือ รวมถึงมีการวางบุคลิกภาพตราสินค้ารูปแบบความซับซ้อน (Sophistication) ในตลาดต่างประเทศบางแคมเปญ เน้นวัตถุประสงค์การสื่อสารในลำดับขั้นการเปลี่ยนแปลงระดับอารมณ์ ความรู้สึก และทัศนคติ (Affective) ที่มีต่อการท่องเที่ยวประเทศไทย โดยมุ่งประเด็นไปที่การเสนอขายจุดเด่น (USP) และการสร้างภาพลักษณ์ (Image)
จุดดึงดูดใจ (Appeals) ที่ใช้ในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายทั้งสองตลาดมีจุดร่วมที่สำคัญคือการเล่าถึงความสุข (Happiness & Joy) และความตื่นเต้น (Excites) เป็นหลัก สำหรับตลาดในประเทศ มุ่งเน้นการใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง (Star) มาจูงใจกลุ่มเป้าหมาย คู่กับกระตุ้นจิตสำนึกสาธารณะ (Social Moral & Environment) ในขณะที่ตลาดต่างประเทศจะมุ่งในด้านรูปลักษณะ (Feature) คู่กันกับคุณภาพ (Quality)
กลวิธีในการนำเสนอ (Execution Styles) ที่พบมากที่สุดในการสื่อสารของตลาดในประเทศ ได้แก่ การใช้รูปแบบการดำเนินชีวิต (Lifestyle) รองลงมาคือ การใช้ตัวแทนสินค้า (Presenter) และการขายตรง (Straight Sell / Factual Message) ส่วนตลาดต่างประเทศพบการใช้รูปแบบการดำเนินชีวิต (Lifestyle) มีความถี่สูงสุดเช่นเดียวกันกับตลาดในประเทศ และใช้การสาธิต (Demonstration) กับเทคนิคการเล่าเรื่อง (Storytelling) เป็นลำดับรองลงมา
ลักษณะภาพที่ถ่ายทอดผ่านภาพยนตร์โฆษณาของ ททท. มีความหลากหลายทั้งในด้านของเทคนิคการถ่ายทำและเรื่องราวที่ปรากฏเพื่อให้เห็นถึงความรุ่มรวยทั้งในด้านของทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมที่หยั่งรากมายาวนาน ภาพที่ปรากฏให้เห็นบ่อยครั้งของทั้งสองกลุ่มเป้าหมายคือภาพของท้องทะเลที่สวยงาม ซึ่งถือเป็นจุดหมายหลักของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ กลวิธีการเล่าเรื่องผันแปรไปตามบริบทของสังคมและกระแสการท่องเที่ยวโลก
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถิตินักท่องเที่ยว. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 7 มกราคม 2563. เข้าถึงได้จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. ชง ยิ่งลักษณ์เป็นพรีเซ็นเตอร์กระตุ้นท่องเที่ยว. (2555). สืบค้นข้อมูลเมื่อ 24 สิงหาคม 2564. เข้าถึงได้จาก https://travel.kapook.com/view38696.html
กาญจนา แก้วเทพ. (2557). การสื่อสาร-การท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
กัลยากร วรกุลลัฎฐานีย์ และพรทิพย์ สัมปัตตะวนิช. (2551). การโฆษณาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
คดีเกาะเต่า: 4 ประเด็นน่าสนใจคดีอาชญากรรมนักท่องเที่ยวต่างชาติ. (2561). สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-45327318?fbclid=IwAR1LNHDDeVygfTXpJHiDhmTCcN 80xbnl2jy0r4kUWaILUT 8r6vQpqeaOAD8
ทิพวรรณ วิระสิงห์. (2532). การใช้ภาษาในการโฆษณา. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.
บุปผา ลาภะวัฒนาพันธ์. (2544). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยภายหลังเกิดวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา 11 กันยายน พ.ศ. 2544. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช. (2546). แรงจูงใจกับการโฆษณา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2548ก). เอกสารการสอนชุดวิชา การสร้างสรรค์และการผลิตภาพยนตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2548ข). เอกสารการสอนชุดวิชา ทฤษฎีและการวิจารณ์ภาพยนตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เลิศพร ภาระสกุล. (2559). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2561. เข้าถึงได้จาก https://ittdashboard.nso.go.th/preview.php?id_project=85
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2563. เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=develop_issue
องอาจ ปทะวานิช. (2555). การโฆษณา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แสงดาว.
Aaker, J. L. (1997). Dimensions of brand personality. Journal of Marketing Research, 34(3), 347-356.
Fletcher, J., Fyall, A., Gilbert, D. & Wanhill, S. (2013). Tourism principles and practices (5th ed). Harlow, England: Pearson.
Belch, G. E. & Belch, M.A.. (2009). Advertising and promotion: an integrated marketing communications perspective. New York: McGraw-Hill/Irwin.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.