การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัด ความสามารถการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครู
คำสำคัญ:
ความสามารถการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์, การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, นักศึกษาวิชาชีพครู, เครื่องมือวัดบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเครื่องมือวัดความสามารถการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครู และ2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดความสามารถการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครู ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักศึกษาวิชาชีพครู จำนวน 404 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามความสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือสำคัญใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ เครื่องมือวัดความสามารถการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การประมาณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า เครื่องมือวัดความสามารถการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครูที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 2 ตอน คือตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบประเมิน เป็นแบบตรวจรายการ (Check List) และตอนที่ 2 แบบประเมินความสามารถการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครู เป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scales) 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ จำแนกตามองค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ คือ 1) ความสามารถในการทำความเข้าใจสภาพการณ์ 2) ความสามารถในการระบุปัญหา 3) ความสามารถในการแสวงหารวบรวมแนวทางการแก้ปัญหา 4) ความสามารถในการคัดเลือกหรือสร้างวิธีการ 5) ความสามารถในการออกแบบแผนการดำเนินงาน 6) ความสามารถในการตรวจสอบแผน มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.73 – 1.00 มีค่าความเที่ยงของแต่ละองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .850-.915 ผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่า โมเดลความสามารถการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครูมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า = 676.120, df=387, p-value= .000, RMSEA= .043, TLI=0.959, CFI=.963, SRMR=.034
References
กุลธิดา อ่อนมี, จตุพล ยงศร และจักรกฤษณ์ โปณะทอง. (2563). การศึกษาทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สําหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคกลางตอนบน. วารสารสันติศึกษา ปริทรรศน์ มจร, 8(3), 981-994.
นลินทิพย์ คชพงษ์ (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. (ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต) . กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พรรณิสรา จั่นแย้ม. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมด้วยกลยุทธ์เกมมิฟิเคชั่นและผังความคิดกราฟิกแบบร่วมมือออนไลน์ในการเรียนโดยใช้โครงงานี้เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างความสามารถการแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์เชิงธุรกิจและจริยธรรมของนักศึกษาปริญญาตรีสาขาบริหารธุรกิจ. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระมหาตุ๋ย ขนฺติธมฺโม (คำหน่อ) และพระสมุห์พุฒิพงษ์ พุทฺธิวํโส (กล่ำทวี). (2564). บทบาทครูในศตวรรษที่21 “ครูผู้สร้างคน”. วารสารภาวนาสารปริทัศน์. 1(3), 13-26.
มณีรัศมิ์ พัฒนสมบัติสุข. (2564). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยทางการพยาบาลและสังคมศาสตร์. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 8(2), 329-243.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2559) การพัฒนาแบบสอบถามและแบบวัดทางจิตวิทยา. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 3(1), 35-48.
เสมอการญจน์ โสภณหิรัญรักษ์. (2557). ปัจจัยในการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานและ กระบวนการเรียนรู้แก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อความสามารถการแก้ปัญหาเชิง สร้างสรรค์ของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bollen, K. A. (1989). Structural equations with latent variables. New Jersey: Wiley.
Echos, S. (2021). Design Thinking: A Core Skill for A Post VUCA World. Retrieved 15 January 2023 from https://schoolofdesignthinking.echos.cc/blog/2021/01/ design- thinking-a-core-skill-for-a-post-vuca-world/
Fan, X., & Sivo, S. (2005). Sensitivity of fit indexes to misspecified structural or measurement model components: Rationale of two-index strategy revisited. Structural Equation Modeling, 12(3), 343-367.
Lewin, J. E., & Reed, C. A. (1998). Creative problem solving in occupational therapy. Philadelphia: Lippincott-Raven Publishers.
Osborn, A. F. (1957). Applied the imagination: principles and procedures of creative thinking. New York: Scribner.
Torrance, E. P. (1965). Rewarding Creative Behavior. Englewood Cliff. New Jersy: Prentice Hall.
Treffinger, D. J. (1995). Creative Problem Solving: Overview of Educational Implications. Educational Psychology Review. 7, 301-312.
Waltz, C. F., Strickland, O. L., & Lenz, E. R. (2010). Measurement in Nursing and Health Research (4thed.). New York: Springer.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารครุศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.