เรื่องเล่าและการเล่าเรื่องเพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ชุมชนท่องเที่ยวบ้านเชียง
คำสำคัญ:
เรื่องเล่า, การเล่าเรื่อง, อัตลักษณ์ชุมชน, บ้านเชียงบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องราวที่ใช้ประโยชน์ในการสื่อสารด้านการท่องเที่ยวของชุมชนท่องเที่ยวบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี และศึกษาการเล่าเรื่อง โดยใช้เรื่องราวที่เกิดขึ้นในชุมชนมาเผยแพร่ผ่านสื่อรูปแบบต่างๆ เพื่อใช้ในการสื่อสารให้นักท่องเที่ยวเกิดความสนใจที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มุ่งศึกษาวิจัยเฉพาะเรื่องราวและการเล่าเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการส่งเสริมหรือการสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เท่านั้น โดยใช้วิธีการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก(In-Depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลหลัก 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรก กลุ่มผู้ที่อยู่ในชุมชนบ้านเชียง ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้อาวุโสของชุมชน นักเล่าเรื่องชุมชน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการท่องเที่ยวชุมชน และกลุ่มที่สอง กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ผลการวิจัยพบว่า เรื่องราว ที่ใช้ประโยชน์ในการสื่อสารด้านการท่องเที่ยวของชุมชนท่องเที่ยวบ้านเชียง ประกอบไปด้วย 7 ประเภทเรื่อง ได้แก่ 1) ข้อมูลชุมชน 2) วัดและโบราณสถาน 3) บุคคลสำคัญของชุมชน 4) ประเพณีสำคัญ 5) อาหารพื้นถิ่น 6) ผลิตภัณฑ์ของชุมชน และ 7) แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ โดยมีวิธีการเล่าเรื่องเพื่อสื่อสารเรื่องราวที่เกิดขึ้นตามองค์ประกอบของการเล่าเรื่อง ได้แก่ โครงเรื่อง แก่นเรื่อง ความขัดแย้ง ตัวละคร ฉาก มุมมอง และสัญลักษณ์พิเศษ
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2542). การวิเคราะห์สื่อ แนวคิดและเทคนิค. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : เอดิสัน เพรส โพรดักส์.
ชาย โพธิสิตา. (2559). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้ง
ภัทรภร ธัญญเสรี. (2553). ความเป็นจีนในการเล่าเรื่องของภาพยนตร์จีนแผ่นดินใหญ่ที่ฉายต่างประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2534-2551. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารมวลชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
GU XINXI. (2561). ศึกษาการเล่าเรื่องและวัฒนธรรมในภาพยนตร์นอกกระแสไทยและจีน กรณีศึกษาเรื่อง Mary is Happy และ Ne Zha. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Jon Thomas. (2011). The Art of Storytelling in Presentations – Connecting. Available from URL: https://www.socialmediatoday.com/content/art-storytelling-presentations-connecting
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต