การพัฒนาโมชันกราฟิก เรื่อง ไวยากรณ์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้รูปแบบห้องเรียนกลับด้านออนไลน์เพื่อพัฒนาความสามารถการเขียนและสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
คำสำคัญ:
โมชันกราฟิก, ไวยากรณ์, ห้องเรียนกลับด้าน, ความสามารถการเขียนและการสื่อสารบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนาโมชันกราฟิก เรื่อง ไวยากรณ์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้รูปแบบห้องเรียนกลับด้านออนไลน์ เพื่อพัฒนาความสามารถการเขียนและสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนหลังการรับชมสื่อโมชันกราฟิก สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 3) ศึกษาความสามารถการสื่อสารหลังเรียนด้วยโมชันกราฟิก เรื่อง ไวยากรณ์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้รูปแบบห้องเรียนกลับด้านออนไลน์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโมชันกราฟิกร่วมกับการจัดการเรียนรู้รูปแบบห้องเรียนกลับด้านออนไลน์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 25 คน เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลวัดอ่างทอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ สื่อโมชันกราฟิก แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและสื่อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อโมชันกราฟิก เรื่อง ไวยากรณ์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้รูปแบบห้องเรียนกลับด้านออนไลน์ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 81.12/92.40 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 พบว่า มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 92.40 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความสามารถการเขียนและสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า มีประสิทธิภาพ 81.12/92.40 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการพัฒนาโมชันกราฟิก เรื่อง ไวยากรณ์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้รูปแบบห้องเรียนกลับด้านออนไลน์ อยู่ในระดับดีมาก
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กัญญาณัฐ์ เตโชติอัศนีย์. (2562). ผลการจัดอันดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ โดยดัชนี EF English Proficiency Index ปี 2019. สืบค้นจาก https://thestandard.co/ef-english-proficiency-index-2019/
กุลชัย กุลตวนิช. (2560). Motion Graphic สื่อการเรียนรู้ยุค 4.0. สืบค้นจาก URL: https://www.kulachai.com.
จงรัก เทศนา. (2560). อินโฟกราฟกส. สืบค้นจาก http://www.krujongrak.com/infographics/ infographics_information.pdf
จิระวัฒน์ ตันสกุล. (2564). ผลการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom)
ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 40 จังหวัดปัตตานี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 32(1), 50-60
วรรณนิภา ธรรมโชติ. (2562). 3P: Basic Building Block กับการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ กระบวนการพยาบาลอย่างยั่งยืน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณะสุข. 29(3), 3-6.
วรางคณา เค้าอ้น. (2560) การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ศิริพล แสนบุญส่ง. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านโดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคอมพิวเตอร์สำหรับครูของนักศึกษาปริญญาตรี. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(1), 135-140.
สุไม บิลไบ. (2557). การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยใช้แอดดี้โมเดลและแนวคิดของกาเย่. สืบค้นจาก URL: https://drsumaibinbai.files.wordpress.com/2014/12/ addie_design_ sumai.pdf
Zamzami Zainuddin and Siti Hajar Halili. (2016). Flipped Classroom Research and Trends from Different Fields of Study. Curriculum and Instructional Technology, 17(3). 317-320.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต