ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศที่มีผลต่อการสื่อสารของครู ระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก-อุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • อุษณีย์ มากประยูร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • จักภพ พานิช คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศที่มีผลต่อการสื่อสารของครูระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก-อุตรดิตถ์ ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 340 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ตัวแปร และสร้างสมการพยากรณ์ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงซ้อนเพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปร ผลการวิจัยด้านความรู้เกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศ พบว่า ประเด็นที่ครูมีความรู้มากที่สุด คือ เพศกำเนิด หมายถึง เพศที่ธรรมชาติให้มาแต่กำเนิด ถูกระบุไว้เมื่อแรกเกิด โดยใช้อวัยวะเพศเป็นตัวกำหนด ด้านทัศนคติเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศ พบว่า ประเด็นที่ครูมีทัศนคติมากที่สุด คือ ทั้งลูกชายและลูกสาวควรมีความเท่าเทียมในสิทธิ หน้าที่ โอกาสทางการศึกษา เศรษฐกิจ และสังคม ด้านการสื่อสารเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศ พบว่า ประเด็นที่ครูมีการสื่อสารมากที่สุด คือ การนำประเด็นเรื่องความเสมอภาคทางเพศมาสอดแทรกในการเรียนการสอนเพราะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการคุกคามทางเพศ การล่วงละเมิดทางเพศ การท้องไม่พร้อม และการกลั่นแกล้งกัน ส่วนผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความรู้และทัศนคติกับการสื่อสารเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศของครูมีความสัมพันธ์กัน โดยความรู้กับการสื่อสารของครูมีความสัมพันธ์กันในระดับสูงที่ระดับนัยสำคัญ .01 ส่วนทัศนคติกับการสื่อสารของครูมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำที่ระดับนัยสำคัญ .01 สำหรับการทดสอบการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติกับการสื่อสารของครูมีความสัมพันธ์กันในระดับสูงที่ระดับนัยสำคัญ .05 และค่า R-square = 0.746 และเมื่อนำสมการในการพยากรณ์การสื่อสารของครู พบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารของครูระดับมัธยมศึกษามากที่สุด คือ ความรู้เกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศ

References

กรกิต ชุ่มกรานต์ และคณะ. (2560). การสำรวจสถานะเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทประเทศไทย และทางเลือกมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ สังคม และกฎหมาย เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศ และเสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้แก่สตรีและเด็กหญิง (Gender Equality). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ขนิษฐา จิตชินะกุล. (2557). หลักการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

ขนิษฐา จิตแสง. (2563). การสื่อสารระหว่างบุคคล: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จริยา ลิมานันท์. (2550). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติบทบาทพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชนเขต 9. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาล เวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

จิตราภรณ์ วนัสพงศ์ และปิยะวรรณ แก้วศรี. (2563). รายงานการศึกษา การทบทวนความก้าวหน้า ของการบังคับใช้พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร : โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP).

ประกายรัตน์ ภัทรธิติ. (2560). “แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการวัยรุ่น” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาพัฒนาการวัยรุ่น หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี : สำนักพิมมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์, (2563). จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชญาพร ประคองใจ. (2558). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพ์ฉัตร รสสุธรรม. (2565). การส่งเสริมความเสมอภาค หญิงชายในมุมมองของคนรุ่นใหม่ในสังคมไทย. วารสาร มจร.การพัฒนาสังคม. 7(1), 220-231.

ชุณิภา เปิดโลกนิมิต, เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง และบุญทัน ดอกไธสง. (2565). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการขับเคลื่อนนโยบายด้านความเท่าเทียมทางเพศของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. วารสาร มจร.สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 11(4), 28-39.

ชีรา ทองกระจาย. (2562). “ความเท่าเทียมกันทางเพศสภาพ” ใน เอกสารการสอนชุดวิชา การพัฒนามนุษย์ในบริบทโลก. สืบค้นจาก URL: https://www.stou.ac.th/ Schoolnew/polsci/UploadedFile/82427-8.pdf

วัชรี หิรัญพันธุ์ และจิราพร ประสารการ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารเพื่อแสดงความเท่าเทียมของพลังพลเมืองดิจิทัลกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์. 15(1), 161-187.

วัลลภ ลำพาย. (2551). เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข. (2559). การวิจัยเพื่อทบทวนการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษา (Sexuality Education) ในสถานศึกษาไทย. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39. (2563). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาปีการศึกษา 2563. สืบค้นจาก URL: https://www.sec-plkutt.go.th/plan63/ict39_2563.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แนวทางการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาการเรียนรู้แบบ Electronic Learning เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูสอนเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้นจาก URL: http://nites.dataonweb.info/admin/upload/cnt_1578385028.pdf

สิตานันท์ ศรีใจวงศ์ และคณะ. (2562). เพศวิถีศึกษาและทัศนคติสองมาตรฐานทางเพศของครูต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 11(2), 91-102.

องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน ประจำประเทศไทย. (2563). ความเท่าเทียมทางเพศ. สืบค้นจาก URL: https://www.thai-german-cooperation.info/th/gender-equality/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-18