คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตการทำงาน/ พยาบาลวิชาชีพ/ ลักษณะงาน/ บรรยากาศองค์การบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดระดับคุณภาพชีวิตการทำงาน อธิบายปัจจัยส่วนบุคคล ลักษณะงาน บรรยากาศองค์การ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ลักษณะงานและบรรยากาศองค์การ กับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาจำนวน 109 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตการทำงาน ลักษณะงาน และบรรยากาศองค์การของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับสูง ( x̄ = 3.86, 4.30 และ 4.12 ตามลำดับ) จำนวนชั่วโมงในการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตการทำงานฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 0.259) ลักษณะงานมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง และบรรยากาศองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 0.538 และ 0.797 ตามลำดับ)
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ผู้บริหารควรมีการวิเคราะห์กระบวนการทำงานของพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการ จากนั้นนำไปวางแผนปรับปรุงระบบงาน เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพให้น้อยลง หน่วยงานควรเปิดโอกาสให้พยาบาลปฏิบัติงานโดยใช้ทักษะ ความสามารถทางวิชาชีพอย่างอิสระตามความเหมาะสมของงาน ผู้บริหารควรแจ้งเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างชัดเจนให้แก่พยาบาลวิชาชีพเพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำงาน อันจะส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี
References
จินตนา นาคพิน. (2552). คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐณิชา ปิยปัญญา. (2560). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร Southeast Bangkok Journal 3(2): 77-90.
บุญยืน สุขแสงทอง. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลลูกจ้างชั่วคราวโรงพยาบาล สังกัดกองทัพบก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 6(1): 133-139.
ประภารัตน์ พรมเอี้ยง. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลนครปฐม วารสารวิชาการสาธารณสุข 24(4): 770-778.
ประสพ อินสุวรรณ. (2557). บรรยากาศองค์การกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 20(1): 55-66.
ประสพชัย พสุนนท์. (2557). การกำหนดขนาดตัวอย่างตามแนวทาง Krejcie and Morgan (1970) ในการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์ประยุกต์: 112-125
มาสริน ศุกลปักษ์, จริยาพร เจริญโล่ทองดี และ ดารณี มิตรสุภาพ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะงานและบรรยากาศองค์กรต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 5(1): 32-39.
ศริยา ยังศิริ. (2562). ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลสังกัด กระทรวงกลาโหม. วารสารแพทย์นาวี 46(2): 396-415.
ศศิพิมพ์ คำกรฤาชา. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 8 (2): 192-201.
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต, เฉลิมพล แจ่มจันทร์, กาญจนา ตั้งชลทิพย์ และ จรัมพร โห้ลำยอง. (2556) คุณภาพชีวิตการทำงานและความสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1: โรงพิมพ์ธรรมดาเพรส จำกัด.
ศิรินา เมืองแสน. (2555). คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพคณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกบริหารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุนิภา ชินวุฒิ, กฤษณา อุรุศรีพงศ์ และ จุฑามาศ วงจันทร์. (2563). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาล: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 30 (3): 90-103.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
- บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงเสมอ