ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูงภายใต้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี*

ผู้แต่ง

  • วานิช สุขสถาน

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ/ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง/ นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนผู้มีสิทธิการรักษาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อาศัยอยู่ในอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี อายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 302 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

            ผลการศึกษาพบว่า พบว่า มีทั้งหมด 6 ปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ได้แก่ ระดับการศึกษา (p-value<0.001)    อายุ (r= -0.214, p-value<0.001) การรับรู้สมรรถนะของตนเองในการสร้างเสริมสุขภาพ (r= 0.267, p-value<0.001) การรับรู้ประโยชน์สร้างเสริมสุขภาพ (r= 0.664, p-value<0.001) การรับรู้อุปสรรคของการสร้างเสริมสุขภาพ (r= -0.360, p-value <0.001) และแรงสนับสนุนทางสังคม (r= 0.537, p-value<0.001)  

            ผลการศึกษานี้มีข้อเสนอแนะให้นักวิชาการสาธารณสุข พยาบาล หรือหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ ควรมีการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพให้มีสุขภาพดี เพื่อนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงให้ดียิ่งขึ้นต่อไป 

References

กิตติพัฒน์ สางห้วยไพร. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล สังกัดกองทัพเรือ (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต) สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปภัมถ์.
กลุ่มงานยุทธศาสตร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด. (2558) รายงานสาเหตุการเจ็บป่วยรายโรคผู้ป่วยนอกอุบลราชธานี. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2561]. เข้าถึงได้จาก จาก http://www.phoubon.in.th/data/data59/healthstatus_59.pdf.
ศูนย์โรคหัวใจโรงพยาบาลราชวิถี. (2555). โรคความดันโลหิตสูง.วารสารวิชาการโรงพยาบาลราชวิถี.1-3
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2558). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2555 ฉบับปรับปรุง 2558.
สุกัญญา บุญวรสถิต, พรนภา หอมสินธุ์, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของข้าราชการสังกัดกรมราชทัณฑ์ในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา.11(1):52-62.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. (2553). แนวโน้มโรคไม่ติดต่อ. วารสารกระทรวง
สาธารณสุข.
อภิชัย คุณีพงษ์. (2560).ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพที่มีต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดปทุมธานี.วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์;13(3).
A. Kamran, L. Azadbakht, G. Sharifirad, B. Mahaki, S. Mohebi. (2015).The relationship between
blood pressure and the structures of Pender's health promotion model in rural
hypertensive patients. J Educ Health Promot, pp. 1-8.
Cinzia Giulia, Roberta Papab, Eugenio Mocchegianic, Fiorella Marcellinib. (2012). Predictors of
participation in physical activity for community-dwelling older adult italians, vol. 54,
Elsevier Archives of Gerontology and Geriatrics.pp. 50-54.
Green LW, Kreuter MW. (1991). Health promotion planning: An education and environmental approach. 3th ed. Mayfield Publishing Company.
Kutzin, J. (2000). Towards universal health care coverage: A Goal-oriented Framework for Policy Analysis. Washington, DC:The World Bank. [Internet] accessed May 12,
2018.Available at:http://siteresources.worldbank.org/HEALTHNUTRITIONAND POPULATION/Resources/281627-1095698140167/Kutzin-TowardUniversal-whole.pdf.
Li, W.-W., Wallhagen, M.I., Froelicher, E.S. (2010). Factors predicting blood pressure control in
older adult Chinese immigrants to the United States of America. J Adv Nurs, 66 (10),
pp. 2202-2212.
Ministry of Public Health, Audit and Evaluation Committee. (2014). A summary of the
operating results of indicators of the Ministry of Public Health, Ubonratchathani province. Ubonratchathani Provincial Public Health Office.
N.J. Pender, C.L. Murdaugh, M.A. Parsons. (2011). Health promotion in nursing practice Pearson Education,Inc., New Jersey.
Sustainable Development Solutions Network (SDSN). (2015). Indicators and a monitoring
framework for the Sustainable Development Goals: Launching a data revolution.A report to the Secretary-General of the United Nations.
Thanavaro, J.L., Thanavaro, S., Delicath, T. (2010). Health promotion behaviors in women with chest pain Elsevier Heart Lung, 39 (5), pp. 394-403.
Umakorn Jaiyungyuen, Nantawon Suwonnaroop, Panudda Priyatruk, Kanokporn Moopayak. (2012). Factors influencing health-promoting behaviors of older people with hypertension Mae Fah Luang University International Conference.(1):1–9.
Vike Pebri Gienaa, Sunanta Thongpatb, Pornruedee Nitirat. (2018). Predictors of health-promoting behaviour among older adults with hypertension in Indonesia.International Journal of Nursing Sciences.5(2).pp.201-205.
World Health Organization. (2018). World Health Assembly: Resolution and Decisions WHA58.33 Sustainable health financing, universal Coverage and social health insurance. [Internet] accessed May 10, 2018.Available http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/20383/1/WHA58_33-en.pdf?ua=1
Y.H. Shin, S. Yun, N.J. Pender, H. Jang. (2005๗. Test of the health promotion model as a causal model of commitment to a plan for exercise among Korean adults with chronic disease Res Nurs Health, pp. 117-125.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-20

How to Cite

สุขสถาน ว. (2018). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูงภายใต้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี*. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข, 4(3), 431–441. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/journal_law/article/view/161463