ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือด ของบุคลากรและนิสิตในมหาวิทยาลัยพะเยา
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการป้องกัน / โรคไข้เลือดออก / บุคลากรมหาวิทยาลัยพะเยาบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือด เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และศึกษามาตรการการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของบุคลากรและนิสิตในมหาวิทยาลัยพะเยาจำนวน 380 คน มีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน ค่าสถิติไคสแควร์และฟิชเชอร์ เอ็กซ์แซ็ค
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.5 อายุน้อยกว่า 20 ปี ความรู้ระดับสูง ร้อยละ 53.7 การรับรู้ระดับปานกลาง ร้อยละ 71.6 ทัศนคติระดับปานกลาง ร้อยละ 56.3 หลักการป้องกันระดับสูง ร้อยละ 68.2 พฤติกรรมการป้องกันระดับปานกลาง ร้อยละ 69.5 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า มาตรการป้องกันมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ส่วนเพศ การรับรู้ ทัศนคติ และหลักการป้องกันมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การวิจัยนี้เสนอให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัยพะเยาควรเข้าควบคุมดูแลให้มีมาตรการป้องกันโรคไข้เลือดออกไม่ให้เกิดการระบาดภายในมหาวิทยาลัยพะเยา และหน่วยงานด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่มีเขตรับผิดชอบในพื้นที่มหาวิทยาลัยพะเยาควรเข้ามาให้ความรู้แก่บุคลากรและนิสิตในมหาวิทยาลัยพะเยา
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2562). สถานการณ์ไข้เลือดออก.ข้อสั่งการยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2562. Retrieved from https://drive.google.com/ file/d/1MCrkojbZLxZXpXd9SOyvIflaQXwUXSf0/view
กรมควบคุมโรค. (2562). รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือด ปี 2562.Retrieved from https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor/6f4922f45568161a8cdf4ad2299f6d23/fil es/Dangue/Prophecy/2562.pdf
กรมควบคุมโรค. (2562). สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ประจำสัปดาห์ที่ 34 ปี 2562 Retrieved fromhttps://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor/6f4922f45568161a8cdf4ad2299f6d23/files/Dangue/Situation/2562/DHF%2034.pdf
ชนิดา มัททวางกูร. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสายสี่ จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 18(34), 34-48.
ชลิต เกตุแสง. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมพาหะนำโรคไข้เลือดออกของประชาชน อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 2(1), 24-36.
ทีมตระหนักรู้สถานการณ์ (SAT) สสจ.พะเยา. (2562). สรุปสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพสำคัญ จ.พะเยา ประจำเดือนมิถุนายน 2562. Retrieved from https://www.pyomoph.go.th/sub_group.php?id_group=6
ประเทือง ฉ่ำน้อย. (2559). การศึกษาระดับความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข กรณีศึกษาอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร วารสารควบคุมโรค, 42(2), 138-150.
ประสพชัย พสุนนท์. (2557). การกำหนดขนาดตัวอย่างตามแนวทาง Krejcie and Morgan(1970) ในการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์, 7(2), 112-120.
ปรีดาศักดิ์ หนูแก้ว และคณะ. (2554). พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลชัยพร อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น, 18(2), 47-55.
ภูวนารถ ลิ้มประเสริฐ. (2556 ). การพัฒนาแนวทางป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอแม่ใจ. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 14(3), 25-31.
รัชฎากรณ์ มีคุณ และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนบ้านอีเบ้า ตำบลขอนยูง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา, 2(2), 26-34.
สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค. (2561). แนวทางการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตเมืองUrban Dengue Unit Guideline. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือวิชาการโรคติดต่อเชื้อเดงกีและโรคไข้เลือดออกเดงกี ด้านการแพทย์และสาธารณสุข (Vol. 1). สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์: สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค.
อรวรรณ ศรีโสมพันธ์. (2558). ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การวิจัยเชิงปริมาณ. Retrieved from file:///D:/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%20060962/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%20%E0%B8%95%E0%B8%A2.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
- บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงเสมอ