การรับรู้คุณภาพและความพึงพอใจต่อการให้บริการตรวจสุขภาพประจำปี โดยศูนย์การแพทย์และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ

ผู้แต่ง

  • Chinnakorn Yuenyao
  • Ketsiree Kaewdang
  • Charinrat Nonsri
  • Nittaya Sanomcham
  • Pornthippawan Tayja
  • Mintra berkban
  • Rungboonsri Klinklom
  • Narong Chaitiang
  • Arathai Kadkhaow

คำสำคัญ:

การรับรู้, ความพึงพอใจ, การให้บริการตรวจสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการรับรู้คุณภาพและความพึงพอใจต่อการให้บริการตรวจสุขภาพประจำปีโดยศูนย์การแพทย์และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่างคำนวณจากสูตรของแดเนียล ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสถิติไคสแควร์และฟิชเชอร์แอกซ์แซค
จากการศึกษาพบว่า บุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 147 คน ร้อยละ 58.8
ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 31-40 ปี จำนวน 120 คน พฤติกรรมก่อนการรับบริการตรวจสุขภาพอยู่ในระดับมากร้อยละ 40.0 การรับรู้เกี่ยวกับการตรวจสุขภาพอยู่ในระดับมากร้อยละ 27.8
และความพึงพอใจการเข้ารับบริการตรวจสุขภาพอยู่ในระดับมากร้อยละ 55.7 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า เพศ และพฤติกรรมก่อนการเข้ารับบริการตรวจสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับ
ความพึงพอใจต่อการให้บริการตรวจสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 บุคลากรประจำคณะ รายได้และการรับรู้เกี่ยวกับการตรวจสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อการให้บริการตรวจสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วน อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และจำนวนครั้งของการเข้ารับการบริการไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อการให้บริการตรวจสุขภาพ
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อการให้บริการตรวจสุขภาพประจำปี ได้แก่ เพศ บุคลากรประจำคณะ รายได้ พฤติกรรมก่อนเข้ารับบริการตรวจสุขภาพ และการรับรู้เกี่ยวกับการตรวจสุขภาพ ดังนั้น ผู้รับผิดชอบด้านการให้บริการตรวจสุขภาพประจำปี ควรคำนึงถึงประสิทธิภาพของการบริการเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ระบบบริการตรวจสุขภาพ

References

นิพนธ์ ฐานะพันธุ์. (2560). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของภาครัฐ :กรณีศึกษาการให้บริการของโรงพยาบาลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(1), 201-214.

ปุณยภา พวงทับทิม. (2560). คุณภาพบริการและความพึงพอใจผู้มาใช้บริการในโรงพยาบาล AAA อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโลก วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี. เข้าถึงจาก https://digital_collect.lib. buu.ac.th/dcms/files/57710245.pdf.

รัตนสิทธิ์ ทิพยวงศ, ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย และธนเสฎฐ์ กุลจิรมากันต์. (2562). กลไกการชดเชยความเสียหายจากบริการสุขภาพ. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข 5(2), 221-235.

วานิช สุขสถาน. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงภายใต้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข 4(3), 431-441.

ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2558). ศูนย์ตรวจสุขภาพ (Checkup Center). {เข้าถึงเมื่อ 24 กรกฎาคม 2562]. เข้าถึงจาก: https://med.mahidol.ac.th/sdmc/th/service/wellness_center.

อุไรวรรณ เทียนทอง. (2547). กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง และส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. 2547. {เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2562]. เข้าถึงจาก

https://www.mol.go.th/sites/default/files/laws/th/00151640.pdf.

อัครพันธ์ สุรวิลาศ. 2560. ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี. {เข้าถึงเมื่อ 24 กรกฎาคม 2562]

เข้าถึงจาก: https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/the-importance-of-annual-health-check-ups?fbclid=IwAR0sTHJ7XZsTQHNuqgfi1CykWfER7TicB9I_y39tYNCI8mTsTbhps1-tqWI.

Daniel WW. ( 2010) . Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences. 5thed. New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-19

How to Cite

Yuenyao, C. ., Kaewdang, K., Nonsri, C. ., Sanomcham, N. ., Tayja, P. ., berkban, M. ., Klinklom, R., Chaitiang, N. ., & Kadkhaow, A. . (2020). การรับรู้คุณภาพและความพึงพอใจต่อการให้บริการตรวจสุขภาพประจำปี โดยศูนย์การแพทย์และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข, 6(2), 293–306. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/journal_law/article/view/219345

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ