ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของนิสิต มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของนิสิตสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 321 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Chi-square
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 85.7) มีอายุต่ำกว่า 22 ปี (ร้อยละ 68.8) เกรดเฉลี่ยสะสมอยู่ระหว่าง 2.01-3.00 (ร้อยละ70.1) ศึกษาอยู่ในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ อนามัยชุมชน (ร้อยละ 46.7) รายได้ต่อเดือนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 6,000 บาท (ร้อยละ 54.5) ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 58.6) มีทัศนคติในการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 74.5) ได้รับอิทธิพลจากสื่อสารมวลชนในระดับปานกลาง (ร้อยละ 53.6) และมีพฤติกรรมการบริโภคอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 72.6)
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร พบว่า รายได้ และอิทธิพลจากสื่อสารมวลชนต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.047, 0.008 ตามลำดับ) ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนเพื่อให้ความรู้ และส่งเสริมให้มีทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารให้เหมาะสม หรือจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งจะนำไปสู่พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ถูกต้อง
References
ธัญลักษณ์ นามจักรและปิยธิดา ปลอดทอง.(2557). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหาร. วารสารนักบริหาร, 34 (1) มกราคม-มิถุนายน 2557; 51-59
บรรจง พลไชย. (2559).การศึกษาทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑืเสริมอาหารของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารอาหารและยา. ฉบับเดือนมกราคม-เมษายน 2559. (51-57)
ปิยรัตน์ จิตรภักดี และคณะ.(2557).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 44(3) : 250-259
รุ่งนภา สิงห์สถิตย์. (2559). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, จังหวัดราชบุรี.
รังสรรค์ เตี่ยวสกุล. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของประชาชนวัยทำงาน ในพื้นที่อำเภอกะปง จังหวัดพังงา. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต บัณฑิตวิทยาลัย, จังหวัดภูเก็ต.
เสกสรร วีระสุข และวรางคณา อดิศรประเสริฐ. (2557). พฤติกรรมผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภท วิตามินในกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, จังหวัดกรุงเทพมหานคร. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/4641
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค.(2562).สิทธิของผู้บริโภค. Retrieved from https://www.ocpb.go.th/news_view.php?nid=9764
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ. 2560. Retrieved from https://www.nso.go.th/sites/2014/
Daniel WW. ( 2010) . Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences. 5thed. NewYork: John Wiley & Son
Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. (2560). ผลสำรวจพบคนไทย 70% เชื่อผิด คิดว่าอาหารเสริมเป็นสิ่งจำเป็นต้องกินประจำ.สำนักข่าวH focus เจาะลึกระบบสุขภาพ. Retrieved from https://www.hfocus.org/content/2017/02/13475
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
- บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงเสมอ