นโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตและความเครียดนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ
คำสำคัญ:
นโยบายด้านสุขภาพจิต, ความเครียด, นักเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายการส่งเสริมสุขภาพจิต ระดับความเครียดและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ ปีการศึกษา 2562 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน ได้รับการคัดเลือกโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-Square และ Fisher’s Exact test.
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 65 มีอายุระหว่าง 16-17 ปี ร้อยละ 63.5 และศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 6 ร้อยละ 34 มีแผนการเรียนด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ร้อยละ 66.5 ผลการเรียนโดยรวมอยู่ในระดับดี ร้อยละ 86 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ได้รับ 1,500-5,000 ร้อยละ 94.5 มีโรคประจำตัวร้อยละ 14 สำหรับปัจจัยด้านความเครียดภายในตัวบุคคลเกิดจากการเรียนและตนเองอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 71.5 และ 55.5 ปัจจัยภายนอกตัวบุคคลเกิดจากเรื่องเงิน เพื่อน คอบครัว ครูและโรงเรียน ชุมชนและสิ่งแวดล้อม เหตุการณ์หรือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ในระดับต่ำร้อยละ 63, 61.5, 58.5, 63, 68.5, 57.5 ตามลำดับ และปัจจัยที่เกิดจากสังคม อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 55 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ระดับชั้น ปัจจัยด้านความเครียดจากตนเอง สังคม เพื่อน ครอบครัว ครูและโรงเรียน ชุมชนและสิ่งแวดล้อม เหตุการณ์หรือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ .0001 ตามลำดับ
สรุป กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความเครียดสูง ตามระดับชั้นที่ศึกษา ความเครียดดังกล่าวเกิดจากปัจจัยภายในและภายนอก สถาบันการศึกษาจึงควรนำนโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพจิตดีและมีความสุข
References
กานดา ศรีตระกูล,พิษณุรักษ์ กันทวี.(2560).ผลของโปรแกรมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพต่อระดับทัศนคติในสตรี ที่เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย.เชียงรายเวชสาร.ปีที่ 9 ฉบับที่1:(123-132)
จันทนี แต้ไพสิฐพงษ์และคณะ(2556). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อระดับความรู้และทัศนคติในสตรีที่มีผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกปกติ.กรุงเทพมหานคร :วารสารสภาการพยาบาล, 28(2).
จิตรบรรจง เชียงทอง.(2557).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปี ตำบลตระคร้ำเอน อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี.จังหวัดกาญจนบุรี.
เบญจวรรณ ไชยา.(2557). ผลของรูปแบบการให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกตามแบบแผน ความเชื่อด้านสุขภาพ ของสตรีในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่กา.วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.
ยุภาพร ศรีจันทร์.(2548).ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีตำบลป่าสัก กิ่งอำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,เชียงใหม่.
วาสนา พูลผล,วีณา เที่ยงธรรม. (2557) โปรแกรมส่งเสริมการป้องกันมะเร็งปากมดลูกระดับปฐมภูมิในคู่สามีภรรยาในชุมชน. มหาวิทยาลัยมหิดล: ม.ป.ท.
วราภรณ์ ศิริธรรมานุกุล.(2560).เหตผุลการมารับบริการ และความเชื่อด้านสุขภาพภาพในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกของสตรีที่มารับบริการในโครงการป้องกันและเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูกโรงพยาบาลจุฬาภรณ์.วารสารสภากาชาดไทย ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560.(126-144)
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.(2561).การพัฒนา ภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท.สุขภาพคนไทย 10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ:(65-67), available from https://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/ThaiHealth2018/thai2018_19.pdf
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา. (2556). สรุปผลการดำเนินงานสาธารณสุขพะเยา, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา.
อาภาพร เผ่าวัฒนา และคณะ.(2554).การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน: การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. ผลงานพัฒนาเครือข่ายพยาบาลศาสตร์เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (พย.สสส.) ระยะที่ 2, 2554: 34.
อุไรวรรณ สัมมุตถี,สมเดช พินิจสุนทร (2558).ความตั้งใจไปรับบริการตรวจตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลกูของสตรี อายุ 30-60 ปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู.วารสารสุขภาพชุมชน. มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2558.(529-546)
Becker, M.H., Drachman, R.H. and Kirscht, J.P. (1974). A New Approach to Explaining Sick-Role Behavior in Low-income Populations. American Journal of Public Health. 64 (3), 206.
O’Donnell, M. P. (Ed.). (2002). Health promotion in the workplace (3rd ed.). Albany, NY:Delmar.
Rosenstock. (1974). Historical Origins of the Health Belief Model. Health Education Monographs. 2: 329-335.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
- บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงเสมอ