ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น จังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, วัยรุ่นบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น จังหวัดเพชรบุรี โดยประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแนวคิดพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผ่านการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 72 คน ประกอบด้วย กลุ่มทดลองเป็นนักเรียนจากโรงเรียนคงราม จำนวน 36 คน ได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น จำนวน 3 ครั้ง และกลุ่มเปรียบเทียบเป็นนักเรียนจากโรงเรียนวัดจันทราวาส (ศุขประสาษฎร์) จำนวน 36 คน ได้รับการเรียนการสอนตามปกติ และภายหลังสิ้นสุดการทดลองแล้วผู้วิจัยจะเข้าไปจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จำนวน 1 ครั้ง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเองระหว่าง เดือนกุมภาพันธ์ ถึง มีนาคม พ.ศ.2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square test, Paired t-test, Independent t-test, Wilcoxon signed-rank test และ Mann-Whitney U test
ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนด้านความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เจตคติเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การรับรู้ความรุนแรงของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และพฤติกรรมป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนในโรงเรียนหรือจัดอบรมเพื่อพัฒนาทักษะพฤติกรรมต่อการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นต่อไป
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2557). สถาณการณ์ผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทย พ.ศ. 2557. (อินเตอร์เน็ต). (เข้าถึงเมื่อ 15 เมษายน 2564). เข้าถึงได้จากhttp://www.boe.moph.go.th/files/report/20141128_61345755.pdf
กุลภัสสรณ์ ศิริมนัสสกุล. (2560). รายงานการศึกษาสถานการณ์โรคติเต่อทางเพศสัมพันธ์. (อินเตอร์เน็ต). (เข้าถึงเมื่อ 15 เมษายน 2564). เข้าถึงได้จาก plan.ddc.moph.go.th/km2016/documents/sti.pdf
เขตบริการสุขภาพที่ 5 กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แผนยุทธศาสตร์สุขภาพ เขตบริการสุขภาพที่
ปีงบประมาณ 2558 (ฉบับแจกที่ประชุม วันที่ 23 กันยายน 2557 ณ โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี).
เขตบริการสุขภาพที่ 5. (2561). แบบรายงานการตรวจราชการระดับจังหวัด ปีงบประมาณ 2561.
จิระวัฒน์ อุปริรัตน์, ศันสนีย์ สมิตะเกษตริน และอัมพร ศรีสำรวล. (2555). การพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพ กรมควบคุมโรค ปี 2555 เรื่องแน้วโน้มการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มเยาวชน. (อินเตอร์เน็ต). (เข้าถึงเมื่อ 15 เมษายน 2564). เข้าถึงได้จาก http://www.interfetpthailand. net/forecast/files/report_2012/report_2012_11_no21.pdf
จิรภัทร หลงกุล. (2555). การใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 5(2); 29-38.
เจตนิพิฐ สมมาตย์ และพิมพ์ศิริ อุยวัฒนกุล. (2559). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อสุขภาพในการป้องกันโรคเอดส์ ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดขอนแก่น. วารสารราชพฤกษ์. 14(2); 17-25.
ชัยนันท์ เหมือนเพ็ชร, นิภา มหารัชพงศ์ และกุหลาบ รัตนสัจธรรม. (2554). ตัวแปรทำนายพฤติกรรมทางเพศในบริบทความแตกต่างของรูปแบบวิธีการวัดในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของรัฐบาล อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 6(2); 80-89.
พรพิมล บัวสมบูรณ์. (2550). ปัจจัยทำนายการดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนอาชีวศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์,
คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรฤดี นิธิรัตน์. (2553). ความจริงเบื้องหลังการใช้ถุงยางอนามัย: เหตุผลหลักที่ทำให้วัยรุ่นไทยไม่ใช้ถุงยางอนามัย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี. 22(1); 60-71.
ภาสิต ศิริเทศ, ประกายรัตน์ ทุนิจ, วรัฏฐา เหมทอง และกาญจนา บุศราทิจ. (2563). ความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และเจคติการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข. 6 (ฉบับเพิ่มเติม); 53-70.
วารุณี สอนอินทร์. (2558). บทบาทของพยาบาลอนามัยในโรงเรียนในการส่งเสริมการเห็นคุณค่าใน
ตนเองเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นหญิงตอนต้น. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 27(1);60-69.
วราภรณ์ บุญเชียง, วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์, วารุณี ฟองแก้ว และพิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น. (2556). ความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และเจตคติต่อพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นตอนต้น. วารสารสภาการพยาบาล. 28(1); 124-137.
ศิริวรรณ จันทร์สระดู. (2544). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ทางเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชั้น ปวช. 3 สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตนนทบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์ มหาบัณฑิต,สาขาวิชาสุขศึกษา, คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สมบัติ รัตนะนาม, ชำเรือง สุวรรณ, พรฤดี นิธิรัตน์ และเพ็ญนภา พิสัยพันธุ์. (2558). ผลของโปรกรมส่งเสริมการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยต่อความรู้และความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันตนเองจากการเป็นโรคติดต่อทางเพสสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่นหญิง. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 32(4); 305.322.
สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย. (2558). ความรู้สำหรับประชาชน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. (อินเตอร์เน็ต). (เข้าถึงเมื่อ 15 เมษายน 2564). เข้าถึงได้จากhttps://www.pidst.or.th/A732.html
สุวรรณทิพย์ ชูทัพ. (2554). ผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อความตั้งใจในการใช้ถุงยางอนามัยของ นักเรียนอาชีวศึกษาเพศชาย. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานโรคเอดส์วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. (2560). รายงานผลการดำเนินงานสำนักโรคเอดส์วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ปีพ.ศ. 2560. อินเตอร์เน็ต). (เข้าถึงเมื่อ 15 เมษายน 2564). เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1038320200818060101.pdf
อารยา อดุลตระกูล, ชมนาด พจนามาตร์ และกนกทิพย์ สว่างใจธรรม. (2558). ผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานต่อความรู้เรื่องเพศศึกษา และความคิดเห็นต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. พยาบาลสาร. 42 (ฉบับพิเศษ); 46-56.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
- บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงเสมอ