การออกแบบการเรียนรู้แบบไฮบริดในชุดวิชาสถิติและการวิจัยใน การจัดการสุขภาพ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19
คำสำคัญ:
การเรียนแบบไฮบริด, การออกแบบการเรียนรู้, ชุดวิชาสถิติและการวิจัยในการจัดการสุขภาพ, โควิด-19บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบการเรียนการสอนแบบไฮบริดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาชุดวิชาสถิตและการวิจัยในการจัดการสุขภาพ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะคือ ระยะที่ 1
ขั้นการวางแผน ระยะที่ 2 ขั้นปฏิบัติการ ระยะที่ 3 ขั้นสังเกตและระยะที่ 4 ขั้นการสะท้อนผล ศึกษาปัจจัยความสำเร็จ ทำการศึกษาในนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนชุดวิชาสถิติและการวิจัยในการจัดการสุขภาพทุกคน จำนวน 61 คนและอาจารย์ผู้สอนจำนวน 4 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบอิสระ
ผลการวิจัย พบว่า ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 นักศึกษาและอาจารย์มีความต้องการเรียนในชั้นเรียนร่วมกับออนไลน์ (แบบไฮบริด) และปัญหาที่พบหากมีการจัดการเรียนการสอนแบบไฮบริดคือความยากลำบากในการใช้เทคโนโลยี โดยมีข้อเสนอแนะคือควรมีการเตรียมความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีทั้งในส่วนของอาจารย์และนักศึกษาและเพิ่มช่องทางการติดต่อ ทั้งนี้เมื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบไฮบริด พบว่า กลุ่มที่เรียนแบบไฮบริดมีคะแนนสูงกว่ากลุ่มที่เรียนแบบเผชิญหน้าเพียงอย่างเดียว ทั้งในส่วนของคะแนนสอบและคะแนนเก็บ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อการจัดการเรียนการสอนแบบไฮบริด พบว่า นักศึกษาและอาจารย์มีความพึงพอใจต่อการเรียนแบบไฮบริด ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยปัจจัยความสำเร็จในการเรียนแบบไฮบริด คือ การออกแบบกิจกรรมที่เปิดให้นักศึกษามีส่วนร่วมหรือมีข้อตกลงร่วมกันที่ชัดเจนระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา การเตรียมตัวทั้งของผู้เรียนและผู้สอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการใช้โปรแกรมที่ใช้สอนออนไลน์ และ การอำนวยความสะดวกของเจ้าหน้าที่และการติดต่อที่สะดวกรวดเร็ว และ สามารถทบทวนความรู้โดยศึกษาจากระบบออนไลน์ย้อนหลังได้
References
ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) (ฉบับที่ 3): การปฏิบัติการของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19. (2563). อนุสารอุดมศึกษา. 46(502). 4.
ชัยวัฒน์ สุภัควรกุล, สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ และนิคม ชมภูหลง. (2560). การพัฒนาระบบการเรียนการสอนแบบไฮบริด สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 23(1). 66-77.
พิจิตรา ธงพานิช. (2560). วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2557). รายงานการวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาอิเลร์นนิ่งสำหรับสถาบันการศึกษาไทย การนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่ใช้ ubiquitous – learning เป็นเครื่องมือการเรียนรู้. สืบค้นจาก http://www4.educ.su.ac.th/images/research/57/04.pdf
การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 13(1). 77-94.
พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2521. (2521, 21 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 95 ตอนที่ 99 ก. หน้า 1-15.
ศิวาพัชญ์ บำรุงเศรษฐพงษ์ , ภูริสร์ ฐานปัญญา และ เกรียงไกร สัจจะหฤทัย. (2563). การเรียนการสอนแบบไฮบริด (Hybrid Learning) กับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 12(3), 212-224.
สมใจ จันทร์เต็ม. (2553). Hybrid Learning กับนวัตกรรมการเรียนการสอนวิชาบัญชีในศตวรรษที่ 21: กรณีศึกษาของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 30(1), 134-150.
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. (2563) แผนกิจกรรมการศึกษาชุดวิชา 50703 สถิติและการวิจัยในการจัดการสุขภาพ. (อัดสำเนา).
สำนักบัณฑิตศึกษา ฝ่ายส่งเสริมมาตรฐานบัณฑิตศึกษา. (2564). คู่มือนักศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สืบค้นจาก https://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy/Masters/CD/
คู่มือนักศึกษา%20ป.โท%20ปี%202564.pdf
อารี ชีวเกษมสุข. (2564).การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน ในยุคความปกติใหม่. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 37(1). 25-37.
Hariadi, B., Sunarto, D., Sudarmaningtyas, P., & Jatmiko, B. (2019). Hybrid Learning by Using Brilian Applications as One of the Learning Alternatives to Improve Learning Outcomes in College. International. Journal of Emerging Technologies in Learning. 14(10). https://doi.org/10.3991/ijet.v14i10.10150.
Caulfield, J. (2011). How to Design and Teach a Hybrid Course. Sterling, VA: Stylus.
Huba, M .E., & Freed. J. E. (2000). Learner-Centered Assessment on College Campuses. Boston: Allyn & Bacon.
Snow, K. (2016). Opting In or Opting Out: The Role of Hybrid Learning Course Design on Student Persistence Decisions in an Indigenous Pre-Nursing Transitions Program. International Journal of E-Learning & Distance Education, 32(1), 1–14. Retrieved from https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=eue&AN=117079586&site=eds-live.
Linder, K.E. (2017). Fundamentals of Hybrid Teaching and Learning. Teaching and Learning. 2017, 11-18. https://doi.org/10.1002/tl.20222
Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner. 3rd ed. Victoria, Australia: Deakin University
Koehler, M.J., & Mishra, P. (2008). Introducing TPCK. In Handbook of Technological Pedagogical Content Knowledge (TPCK) for Educators. New York: Routledge.
Cremers, P.H.M., Wals, A.E.J., Wesselink, R & Mulder, M. (2016). Design Principles for Hybrid Learning Configurations at the Interface between School and Workplace. Learning Environ Res.19
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
- บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงเสมอ