ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้บริการกายภาพบำบัดของผู้รับบริการในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • รัตนกานต์ ดีทอง
  • ยุวนุช สัตยสมบูรณ์
  • สุธี อยู่สถาพร
  • ศรัณญา เบญจกุล

คำสำคัญ:

การใช้บริการ, กายภาพบำบัด, การเข้าถึงบริการสุขภาพ, โรงพยาบาลชุมชน

บทคัดย่อ

บริการกายภาพบำบัดมีความสำคัญต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน จึงมีความจำเป็นในการพัฒนาระบบงานกายภาพบำบัดให้มีประสิทธิภาพ มาตรฐาน และตอบสนองได้ตรงความต้องการของผู้ใช้บริการ  การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง คุณลักษณะส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพ และการเข้าถึงบริการกายภาพบำบัด กับการใช้บริการกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลบางสะพานน้อย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับบริการกายภาพบำบัด จากการสุ่มตัวอย่างจำนวน 135 คน  เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่าง 14 ธันวาคม 2563 ถึง 31 มกราคม 2564  อธิบายตัวแปรโดยสถิติพรรณนา  และหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้สถิติไคสแควร์

                    ผลการวิจัยพบว่า ผู้รับบริการกายภาพบำบัด เป็นเพศหญิง ร้อยละ 71.9 อายุเฉลี่ย 50.1 ปี (±13.6 ปี) มีสุขภาพในระดับปานกลาง ร้อยละ 54.1 การเข้าถึงบริการกายภาพบำบัดโดยรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 81.5 การใช้บริการกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาลชุมชน พบว่า เมื่อลงทะเบียนใช้บริการกายภาพบำบัดผู้ป่วยได้ใช้บริการกายภาพบำบัดในวันที่ลงทะเบียน ทุกครั้ง ร้อยละ 79.3  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการกายภาพบำบัดในวันที่ลงทะเบียน ของผู้รับบริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย คุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ ระดับการศึกษา (p-value = 0.040) รายได้ครอบครัว (p-value = 0.011) ปัจจัยที่เกี่ยวกับสุขภาพ ได้แก่ มีปัญหาสุขภาพที่ทำกายภาพบำบัดต่อเนื่องในปัจจุบัน (p-value = 0.010) ส่วนการเข้าถึงบริการโดยรวมและรายด้านไม่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการกายภาพบำบัดของผู้รับบริการ ดังนั้นการพัฒนาบริการควรพิจารณาหาช่องทางให้บริการปรึกษากายภาพบำบัดเชิงรุกแก่ผู้รับบริการที่ไม่สะดวกเวลาราชการ

References

กรมอนามัย. (2562). แผนปฏิบัติราชการระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563-2565). กรุงเทพฯ. กรมอนามัย.

คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12. (2559). (ร่าง) แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ. กระทรวงสาธารณสุข.

คณะทำงานจัดทำชุดความรู้กายภาพบำบัดชุมชน. (2555). คู่มือการปฏิบัติงานนักกายภาพบำบัดชุมชน. กรุงเทพฯ. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย, และสภากายภาพบำบัด.

คณะอนุกรรมการฝ่ายมาตรฐานวิชาชีพ คณะกรรมการสภากายภาพบำบัด. (2549). มาตรฐานกายภาพบำบัด พ.ศ.2549. กรุงเทพฯ. สภากายภาพบำบัด.

น้อมจิตต์ นวลเนตร์.(2552).นักกายภาพบำบัดกับงานบริการสุขภาพปฐมภูมิ Physical therapists and primary health care services. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว.1.1: 43-46.

น้อมจิตต์ นวลเนตร์. (2553). ศาสตร์น่ารู้สำหรับงานกายภาพบำบัดชุมชน. ขอนแก่น. คลังนานาวิทยา.

พระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. 2547. 22 ตุลาคม 2547. ราชกิจจานุเบกษา. 65 ก. 52-69.

วัฒนา สุนทรธัย, วนิดา คูชัยสิทธิ์. (2558). ความเชื่อมั่นของแบบวัดที่มีเป้าหมายของการวัดที่แตกต่างกัน กรณีศึกษา:แบบประเมินผลการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. BU ACADEMIC REVIEW. 14. 1. 13 – 25.

ศิริพร งามขำ, นวรัตน์ สุวรรณผ่อง, มธุรส ทิพยมงคลกุล, จารุวรรณ หมั่นมี. (2561). การเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วารสารเกื้อการุณย์. 25. 2. 91-104.

อมรพันธ์ อัจจิมาพร, วารี วิดจายา. (2559). สมรรถภาพร่างกายแบะปริมาณคอร์ติซอลในคนงานที่ได้รับการบาดเจ็บจากการทำงาน ภายหลังการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายเป็นเวลา 6 เดือน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา. 16. 2. 89-98.

อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์, ชญาภา วันทุม. (2560). การทดสอบความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือวิจัย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 11. 2. 105 – 111.

Andersen, R. M., McCutcheon, A., Aday A. A., Chiu et al. (1995). Revisiting the behavioral model and access to medical care: Does it matter?. Journal of Health and Social behavior. 36. 1. 1-10.

Bach Xuan Tran, Long Hoang Nguyen, Vuoung Minh Nong, Cuong Tat Nguyen. (2016). Health status and health service utilization in remote and mountainous areas in Vietnam. Health and Quality of Life Outcomes. 14(85). cited 2020 May 21. Available from https:// hqlo.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12955-016-0485-8#citeas

Barreiro PL, Albandoz JP. (2001). Management mathematics for European schools. Population and sample: sampling technique. Seville. The University of Seville.

Chids JD, Fritz JM, Wu SS, Flynn TW, Wainner RS, Robertson EK et al. (2015). Implications of early and guideline adherent physical therapy for low back pain on utilization and costs. BMC Health Services Research. 15(150). cited 2020 August 15. Available from https:// bmchealthservres. biomedcentral. com/articles/10.1186/s12913-015-0830-3.20 18/4/1589_1.pdf

Daniel W. W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9thed). New York. John Wiley & Sons.

Fraser JJ, Glaviano NR, Hertel J. (2017). Utilization of physical therapy intervention among patients with platar fasciitis in the united states. Journal of Orthopaedic & Sports Physical Therapy. 47. 2. 49-56.

Han-Kyoul Kim, Munjae Lee. (2016). Factors associated with health services utilization between the years 2010 and 2012 in Korea: using Andersen’s Behavioral model. Osong Public Health Res Perspect. 7. 1. 18-25.

Penchansky R. and Thomas J.W. (1981). The concept of Access Definition and Relationship to Consumer Satisfaction. Medical. 19. 2. 127-140.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-06

How to Cite

ดีทอง ร. ., สัตยสมบูรณ์ ย. ., อยู่สถาพร . ส. ., & เบญจกุล ศ. . (2022). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้บริการกายภาพบำบัดของผู้รับบริการในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข, 8(2). สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/journal_law/article/view/259073