ความเครียดและอาการความผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างจากการทำงานของพนักงานขนส่งทรัพย์สินมีค่าของธนาคารแห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • รุจิรดา มุงคุณ Mahidol University
  • อัมรินทร์ คงทวีเลิศ
  • พรพิมล กองทิพย์
  • สุธรรม นันทมงคลชัย

คำสำคัญ:

ความเครียด, อาการความผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง, พนักงานขนส่งทรัพย์สินมีค่าของธนาคาร

บทคัดย่อ

ความเครียดจากการทำงานส่วนใหญ่เกิดจากหลายปัจจัยที่พบในพนักงานขนส่งทรัพย์สินมีค่าของธนาคาร และอาการความผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างจากการทำงานพบว่ามีอัตราการเกิดขึ้นมากที่สุดและพบว่าเป็นแรงงานในระบบเป็นภาคเอกชน การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อต้องการศึกษาความเครียดและอาการความผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างจากการทำงานของพนักงานขนส่งทรัพย์สินมีค่าของธนาคารแห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือของพนักงานขนส่งทรัพย์สินมีค่าของธนาคารแห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือของประเทศไทย จำนวน 71 คน เก็บตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ (Inferential statistics) โดยใช้ Chi – square test ในการทดสอบสมมติฐานในการวิจัย ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS 18
ผลการวิจัยพบว่าพนักงานส่วนใหญ่อยู่ในตำแหน่งหัวหน้าชุดร้อยละ 38 มีอายุอยู่ระหว่าง 36-45 ปี ร้อยละ 42.3 ดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในระดับโรคอ้วนร้อยละ 35.2 มีการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ร้อยละ 45.1 และออกกำลังกาย นานๆครั้งไม่สม่ำเสมอ ร้อยละ 60.6 ลักษณะสภาพแวดล้อมการทำงานและลักษณะงานสภาพการทำงานที่มีความเสี่ยงต่ออันตราย อุบัติเหตุ และความไม่ปลอดภัย ร้อยละ 62.0 และลักษณะในการทํางานมีผลต่อการเจ็บปวดของกระดูก ข้อและกล้ามเนื้อ ร้อยละ 78.9 โดยรวมพนักงานมีความเครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติ ร้อยละ 50.7 บริเวณส่วนร่างกายที่เกิดอาการความผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างจากการทำงาน คือ หลังส่วนล่าง ร้อยละ 39.4 ความเครียดมีความสัมพันธ์กับอาการความผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างจากการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001)
ความเครียดเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอาการความผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง ดังนั้นจึงควรมีการวางแผนหาแนวทางในการจัดการเกี่ยวกับความเครียดและส่งเสริมนโยบายในการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับท่าทางการทำงานและลักษณะการทำงานที่เหมาะสม เพื่อให้พนักงานทำงานได้อย่างมีความสุขปราศจากความเครียดและทำงานได้อย่างปลอดภัย

References

Abledu JK, Offei EB, Abledu GK. (2014). Occupational and Personal Determinants of Musculoskeletal Disorders among Urban Taxi Drivers in Ghana. International Scholarly Research Notices; 1-4. Jun 12, 2021. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/ PMC4897274/.

Ahmad I., Balkhyour MA., Abokhashabah TM., Ismail IM., Rehan M. (2018). Occupational Musculoskeletal Disorders among Taxi Industry Workers in Jeddah, Saudi Arabia. Biosciences Biotechnology Research Asia. 2017. 14(2). 593-606.

Bangkok Bank. (2017). Annual Report 2017 Bangkok Bank Public Company Limited - Branch Directory. May 10, 2022. https://www.bangkokbank.com/-/media/Files/InvestorRelations/ Annual Report/2017/AR2017_24Th.ashx?la=th-TH&hash=AC86C8CD68C839F45D56E6C3E51760 D1B7E2421E.

Bank of Thailand. (2022). Digital trends shake the global financial system. Who adapted?. Feb 3, https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article_ 22Jan 2022-2.pdf.

Chan Pattama Polyong, Marissa Kongsombatsuk, Wannapa Sangsrijan, Khanitra Samanusron. (2016). Prevalence and factors affecting the work-related musculoskeletal disorders among hospital staff of a hospital in Rayong Province. Disease Control Journal. 43(3). 280 - 292.

Department of Mental Health, Ministry of Public Health. (2016). Annual Report of the Department of Mental Health, Fiscal Year 2016. Bangkok: Bangkok Block Ltd.

Department of Mental Health, Ministry of Public Health. (2017). Annual Report of the Department of Mental Health, Fiscal Year 2017. Bangkok: Bangkok Block Ltd.

Department of Mental Health, Ministry of Public Health. (2018). Annual Report of the Department of Mental Health, Fiscal Year 2018. Bangkok: Bangkok Block Ltd.

Department of Mental Health, Ministry of Public Health. (2019). Annual Report of the Department of Mental Health, Fiscal Year 2019. Bangkok: Bangkok Block Ltd.

Department of Mental Health, Ministry of Public Health. (2020). Annual Report of the Department of Mental Health, Fiscal Year 2020. Bangkok: Bangkok Block Ltd.

Dwiseli F., Rahim MR., Awaluddin. (2019). Factors Associated with Musculoskeletal Disorders (MSDs)Complaint on the Workers of Cargo Unit at PT. Angkasa Pura Logistics, Makassar. Indian Journal of Public Health Research & Development. 2017. 10(7). 1040-1044.

El-Metwally A., Javed S., Razzak HA., Aldossari KK., Aldiab A., Al-Ghamdi SH., Househ M., Shubair MM., Al-Zahrani JM. (2018). The factor structure of the general health questionnaire (GHQ12) in Saudi Arabia. BMC Health Services Research. 18. 595.

Krungthai Bank Plc. (2011). Provision of foreign currency transportation services by plane or car. Feb 3, 2022. https://www.ktbgs.co.th/services/cash-logistic/over-the-air/.

Innovation and Research Division (CU). (2022). Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Prevention research plan Disease Control and Health Threats 2019-2021. 1st edition. Bangkok

Ramos S., Seraphina F., Sousa-Uva A. (2017). Perceived occupational hazards among cash-in-transit guards in Portugal. Rev Bras Med Trab. 16(3). 327–335.

Nuttaporn Praditpod, Santhanee Khruakhorn, Kanjana Kuanpung, Narut Panyasak, Suchart Thong-art. (2016). Prevalence and risk factors of work-related musculoskeletal disorders among fruit transport workers in Pathum Thani province. Thammasat Medical Journal. 17(1). 60 – 69.

The work group determines the rate of contributions to the Compensation Fund. (2021). Social Security Office Ministry of Labor Situation of Occupational Hazard or Sickness Due to Work https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/5ebe42693bf27ca624d2a14a89f99223.pdf.

Nopparat Chupeerach. (2017). Prevalence and related factors of musculoskeletal disorder in health care personnel, Thammasat University Hospital. Master of Health Promotion Management Faculty of Public Health Thammasat University.

Min Gi K., Kyoo-Sang K., Jae-Hong R. and Seung-Won Y. (2012). Relationship between Occupational Stress and Work-related Musculoskeletal Disorders in Korean Male Firefighters. Annals of Occupational and Environmental Medicine 25 (9)

Roongpet Sangchan. (2016). Work-related musculoskeletal disorders among employees at nutrition unit, Pranangklao hospital. J Med Tech Phy Ther. 28(3). 322 - 328.

Wanlop Rathachatranon. (2018). Determining an Appropriate Sample Size for Social Science Research: The Myth of using Taro Yamaneand Krejcie & Morgan Method. Journal of Interdisciplinary Research. 8(1). 11 – 28.

Wipa Chuppawa, Piraya Aungudornpukdee. (2017). Prevalence and Factors affecting Musculoskeletal Disorders among Cleaners. Naresuan University Journal. 25(1). 23-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-02

How to Cite

มุงคุณ ร. . . ., คงทวีเลิศ . อ., กองทิพย์ พ. . ., & นันทมงคลชัย . ส. . (2023). ความเครียดและอาการความผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างจากการทำงานของพนักงานขนส่งทรัพย์สินมีค่าของธนาคารแห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข, 9(2), 221–239. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/journal_law/article/view/263820