ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดและความตั้งใจซื้อสบู่เห็ดหลินจือ กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนฟาร์มเห็ดกลางบ้าน
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาด, ความตั้งใจซื้อ, ลักษณะทางประชากรศาสตร์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาทัศนคติด้านส่วนประสมทางการตลาดและความตั้งใจ ซื้อสบู่เห็ดหลินจือ โดยเปรียบเทียบระหว่างแบบเดิมและแบบปรับปรุงใหม่ 2. เพื่อศึกษาทัศนคติด้านส่วนประสมการตลาดและความตั้งใจซื้อสบู่เห็ดหลินจือจำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์และความรู้ในคุณประโยชน์ของเห็ดหลินจือ 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติด้านส่วนประสมทางการตลาด และความตั้งใจซื้อสบู่เห็ดหลินจือ โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) และการสุ่มแบบก้อนหิมะ (Snowball sampling) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 279 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ Paired samples t-test, Independent Samples t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One - Way ANOVA และการทดสอบความสัมพันธ์ Pearson Correlation ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงมีอายุ 19 - 38 ปี (Gen Y) มีการศึกษาในระดับปริญญาตรีและมีรายได้ครอบครัวต่อเดือนอยู่ที่ 18,001 - 50,000 บาท ส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัทหรือประกอบธุรกิจส่วนตัว ส่วนใหญ่ไม่ทราบคุณประโยชน์ของสบู่เห็ดหลินจือ
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยความสวยงามของบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าแบบปรับปรุงใหม่ มีค่ามากกว่าแบบเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. ลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน ส่งผลให้มีทัศนคติด้านส่วนประสมทางการตลาดและความตั้งใจซื้อที่แตกต่างกัน กล่าวคือ เพศหญิงจะให้ความสนใจในคุณประโยชน์ของสบู่เห็ดหลินจือมากกว่าเพศชาย กลุ่ม Gen Y มีแนวโน้มที่จะซื้อสบู่เห็ดหลินจือทางเฟซบุ๊กมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ แต่รายได้ที่แตกต่างกันไม่ส่งผลให้มีทัศนคติที่แตกต่างกัน ในส่วนของการรู้จักคุณประโยชน์ของเห็ดหลินจือ พบว่า ผู้บริโภคที่รู้จักคุณประโยชน์ของสบู่เห็ดหลินจือ มีค่าเฉลี่ยทัศนคติด้านส่วนประสมทางการตลาดและความตั้งใจซื้อมากกว่าผู้บริโภคที่ไม่รู้จักคุณประโยชน์ของสบู่เห็ดหลินจือ ประการสุดท้ายทัศนคติด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจซื้อมากที่สุด คือ ช่องทางการจัดจำหน่ายทางเฟซบุ๊ก รองลงมาคือ การโฆษณาทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ และคุณประโยชน์ของสบู่เห็ด ตามลำดับ
References
กมลพร นครชัยกุล. (2560). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อสินค้าสมุนไพรแปรรูปของผู้บริโภคในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 6(12), 28-42. สืบค้นจาก http://bus.ubu.ac.th/keepfile/192108369 ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อสินค้า สมุนไพร-ผศ.กมลพร%20%20นครชัยกุล.pdf
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. นนทบุรี: ธรรมสาร.
จงรัก ชินเกล้ากำจร และ กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพรชนิดก้อนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงินการลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ, 1(1), 56-71.
ชุติมา วิทักษบุตร และ นภวรรณ คณานุรักษ์. (17, สิงหาคม, 2560). การแบ่งกลุ่มผู้ใช้สบู่ก้อนทำความสะอาดผิวกาย ที่ผลิตจากสมุนไพรโดยใช้ปัจจัยด้านการใช้ผลิตภัณฑ์ในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.
ปณิศา ลัญชานนท์. (2548). หลักการตลาด. นนทบุรี: ธรรมสาร.
ปณิศา มีจินดา. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. นนทบุรี: ธรรมสาร.
รัตนภิมล ศรีทองสุข. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเข้าร่วมการตลาดเชิงกิจกรรมของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย และเจเนอเรชั่นแซด ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 3(1), 6.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์, ปณิศา มีจินดา, จิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์ และ อรทัย เลิศวรรณวิทย์. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่. นนทบุรี: ธรรมสาร.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). ตลาดออร์แกนิคธุรกิจสร้างเงิน SME ไทย. สืบค้นจาก https://kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/ article/KSMEAnalysis/Documents/Thai-SME_Organic-Product.pdf
สัณหณัฐ เจนเจษฎา. (2559). พฤติกรรมการบริโภคและช่องทางการตลาดสำหรับ Generation ต่าง ๆ. สืบค้นจาก https://www.thaitradeusa.com/home/?p=21482
สุภัทรินทร์ รอดแป้น, วรวีร์ วีระปรศุ และ เกตุวดี สมบูรณ์ทวี. (20-21, กรกฎาคม, 2560). รูปแบบกลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง สมุนไพร ยี่ห้อ เดอลีฟ ทานาคา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 13: วิจัยและนวัตกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อำนาจ เต็งสุวรรณ และ ไกรชิต สุตะเมือง. (2556). การตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าที่ทำจากสมุนไพรของประชากรวัยเกษียณอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ, 3(4), 541-556.
โอเอ็มจี ไทยแลนด์. (2564). เห็ดหลินจือ สุดยอดสมุนไพรสรรพคุณมากมาย ที่สร้างปาฏิหาริย์จนคนทั้งโลกให้การยอมรับ. สืบค้นจาก https://omgthailand.net/reishi-king-of-herbs/
Alwitt, L.F. & Pitts, R.E. (1996). Predicting purchase intentions for an environmentally sensitive product. Journal of Consumer Psychology, 5(1), 49-64.
Armstrong, G. & Kotler, P. (2009). Marketing, an introduction (9th ed.). River, NJ: Pearson Prentice Hall.
Büyükdağ, N., Soysal, A. N., & Kitapci, O. (2020). The effect of specific discount pattern in terms of price promotions on perceived price attractiveness and purchase intention: An experimental research. Journal of Retailing and Consumer Services, 55, Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.jretconser.2020.102112
Cochran, W.G. (1963). Sampling Techniques (2nd ed.). New York: John Wiley and Sons.
Connolly, A. & Davidson, L. (1996). How does design affect decisions at point of sale. Journal of Brand Management, 4, 100-107. Retrieved from https://doi.org/10.1057/bm.1996.33
Etzel, M. J., Walker, B. J., & Stanton, W. J. (2007). Marketing (14th ed.). Boston: McGraw-Hill/ Irwin.
Juster, F. T. (1966). Consumer buying intentions and purchase probability: An experiment in survey design. Journal of the American Statistical Association, 61(315), 658-696.
Kalwani, M. U., & Silk, A. J. (1982). On the reliability and predictive validity of purchase intention measures. Marketing Science, 1(3),
-286. Retrieved from https://doi.org/10.1057/bm.1996.33
Lee, J., & Allaway, A. (2002) Effects of personal control on adoption of self-service technology innovations. Journal of Services Marketing, 16, 553-572.
Peña-García, N., Gil-Saura, I., Rodríguez-Orejuela, A., & Siqueira-Junior, J. R. (2020). Purchase intention and purchase behavior online: A cross-cultural approach. Heliyon, 6(6), 1-11. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.heliyon.2020.e04284
Pérez-Villarreal, H. H., Martínez-Ruiz, M. P., & Izquierdo-Yusta, A. (2019). Testing model of purchase intention for fast food in Mexico: How do consumers react to food values, positive anticipated emotions, attitude toward the brand, and attitude toward eating hamburgers. Foods, 8(9), 369. Retrieved from https://doi.org/10.3390/ foods8090369
Yahong li, Zhipeng Xu, Fuming Xu. Perceived control and purchase intention in online shopping: The mediating role of self-efficacy. Social Behavior and Personality: an international journal, 46(1), 99-105. Retrieved from https://doi.org/10.2224/sbp.6377
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 ดณุเดช ขุนพลช่วย, นฤมล เจริญยิ่ง, นนธวัช แก้วคำ, อรรณพ ประสงค์อมรชัย, อัจฉริยะ โฆษยากูล, ณัฐพล ช่องดารากุล, ปณิศา มีจินดา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว