การศึกษาเชิงประจักษ์การรับรู้ความสามารถแห่งตนและเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงานโลจิสติกส์
คำสำคัญ:
การรับรู้ความสามารถแห่งตน , เทคโนโลยี, ผลการปฏิบัติงาน , หน่วยงานโลจิสติกส์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ความสามารถแห่งตนมีอิทธิพลทางตรงต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงานโลจิสติกส์ โดยปัจจัยเทคโนโลยีเป็นปัจจัยคั่นกลางระหว่างการรับรู้ความสามารถแห่งตนกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงานโลจิสติกส์ และการรับรู้ความสามารถ แห่งตน มีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงานโลจิสติกส์ โดยส่งผ่านปัจจัยเทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานหน่วยงานโลจิสติกส์ บริษัท ทีเอ็มที สตีล จำกัด (มหาชน) อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 218 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสอบถาม โดยการประยุกต์จากนักวิชาการที่ทำการศึกษาก่อนหน้า ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่น (ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.98) การวิเคราะห์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป PROCESS macro 3.1 รูปแบบที่ 4 ของ Hayes
ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้ความสามารถแห่งตนมีอิทธิพลทางตรงต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงานโลจิสติกส์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีอิทธิพลทางอ้อมโดยส่งผ่านการที่องค์การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ควบคู่กับการปฏิบัติงาน ขณะเดียวกันปัจจัยเทคโนโลยีทำหน้าที่เป็นปัจจัยคั่นกลางระหว่างการรับรู้ความสามารถแห่งตนกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงานโลจิสติกส์ในลักษณะบางส่วนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าอิทธิพลทางอ้อมหรือตัวแปรคั่นกลางทำหน้าที่ช่วยเสริมแรงการรับรู้ความสามารถแห่งตนต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงาน โลจิสติกส์ มากกว่าอิทธิพลทางตรงของการรับรู้ความสามารถแห่งตนต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน หน่วยงานโลจิสติกส์
References
กฤษดา เชียรวัฒนสุข และ ปริญญ์ ศุกรีเขตร. (2564). ความสัมพันธ์ของการรับรู้ความสามารถของตนเองและแรงจูงใจในการทำงานกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 96-110.
กล้าหาญ ณ น่าน. (2563). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ทริปเปิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
จิตรสินี ทองจำนงค์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของพนักงานกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน. (2560). อิทธิพลของความมีอิสระในการทำงานกับบุคลิกภาพด้านเปิดรับประสบการณ์และบุคลิกภาพด้านสำนึกในหน้าที่และการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีต่อประสิทธิผลการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยในจังหวัดชุมพร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 7(1),
-123.
ณัฐพล ประคุณศึกษาพันธ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานรัฐบาล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
แพรวิไล จันทร์บุญ. (2563). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการ กรณีศึกษา: สำนักงานอัยการสูงสุด. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
มนตรี พิริยะกุล. (2558). ตัวแปรคั่นกลางและการทดสอบอิทธิพลทางอ้อม. วารสารการจัดการและการพัฒนา, 2(1), 11-31.
ศนิพร ปิยพจนากร. (2558). การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความต้องการของงานกับทรัพยากร
ในงาน การรับรู้พฤติกรรมในองค์การ และความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน โดยมีการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การเป็นตัวแปรกำกับ: กรณีศึกษา ครูโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ศศิวรรณ อินทรวงศ์. (2560). อิทธิพลระหว่างการรับรู้ความสามารถในตนเอง การรับรู้ลักษณะงานที่ตนปฏิบัติและคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงานที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษากลุ่มใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
สุทัตตา พานิชวัฒนะ. (2560). การรับรู้ความสามารถของตนเอง ทรัพยากรในงาน และความผูกพันในงานโดยมีความต้องการของงานที่ท้าทายเป็นตัวแปรกำกับ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สุรสิทธิ์ บุญชูนันท์ และกรวิช เหล่าพิทักษ์โยธิน. (2562). อิทธิพลของคุณภาพระบบสารสนเทศ คุณภาพบริการ และคุณภาพข้อบังคับ ต่อความง่ายต่อการใช้งาน การรับรู้ประโยชน์ และการยอมรับการใช้งาน ระบบการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของเจ้าหน้าที่ศุลกากร กรมศุลกากรประเทศไทย. RMUTT Global Business and Economics Review, 14(1), 73-90.
เสาวนีย์ มหาชัย ชาคริต สกุลอิสริยาภรณ์ และ แก้วตา ผู้พัฒนพงศ์. (2562). การใช้เทคโนโลยีมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร สังกัดสำนักงานศายยุติธรรมในจังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.
อรอุมา บัวทอง. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้ความสามารถตนเอง การกำหนดเป้าหมาย บุคลิกภาพเชิงรุก กับประสิทธิผลในการทำงาน ของพนักงานสถาบันการเงินแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
อัครเดช ไม้จันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
Anfajaya, M. A. and Rahayu, A. (2019). The Role of Self-Efficacy in Organizational Citizenship Behavior. Advances in Social Science, Education and Humanities Research, 395 108-111.
Bandura, A (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: WH Freeman.
Bowditch, J. L., & Buono, A. F. (1990). A Primer on Organizational Bahavior (2nd ed).
New Jersey, USA: John Wiley & Son.
Cohen, J. (1992). Quantitative Methods in Psychology: A Power Primer. Psychological Bulletin, 112, 155-159. Retrieved From https://doi.org/10.1037/0033-2909.112.1.155
Davis, F. D. (1989). Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, and User Acceptance of Information Technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-340.
DeLone W. H. and McLean E. R. (1992). Information Systems Success: The Quest for the Dependent Variable. Information Systems Research, (3), 60-95.
Hanham, J., Lee, C.B., and Teo, T. (2021). The influence of technology acceptance, academic self-efficacy, and gender on academic achievement through online tutoring. Computers & Education, 172, 1-14. Retrieved From https://doi.org/10.1016/j. compedu.2021.104252
Hayes, F. A. (2013). SPSS PROCESS documentation. Retrieved From http://www.marketing-wiwi.uni-jena.de/wmarmedia/dokumente/ WS+15_16/DAM/ Process_ Anleitung_alle_Modelle.pdf
Herzberg, F., Mausner, B. & Snyderman, B. B. (1959). The motivation to work.
New York: John Wiley & Sons.
Jones, G. R. (1986). Socialization tactics, self-efficacy, and newcomers' adjustments to organizations. Academy of Management journal, 29(2), 262-279.
Na-Nan, K., Chaiprasit, K. and Pukkeeree, P. (2018). Factor analysis-validated comprehensive employee job performance scale. International Journal of Quality & Reliability Management, 35(10), 2436-2449.
Tabachnick, B. G., & Fidell, L. S. (2001). Using Multivariate Statistics. Boston:
Allyn and Bacon.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York, USA: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 อัดชา พันธ์ทองหล่อ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว