การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจสื่อออนไลน์ ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของผู้ประกอบการ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • ฉายสิริ พัฒนถาวร หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • บุษบา สุธีธร สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • เสาวนี ชินนาลอง สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การเปิดรับ , การใช้ประโยชน์ , ความพึงพอใจ , สื่อออนไลน์ , สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเปิดรับสื่อออนไลน์ การใช้ประโยชน์จากสื่อออนไลน์ และความพึงพอใจสื่อออนไลน์ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจากผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2)  เปรียบเทียบการเปิดรับการใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจในการใช้สื่อออนไลน์ตามประเภทของผู้ประกอบการ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับ การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจสื่อออนไลน์ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล


การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวนทั้งสิ้น 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติอ้างอิง ได้แก่ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ ความแปรปรวน การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน


ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความถี่ในการเข้าชมสื่อออนไลน์ทุกประเภทของสสว.ในลักษณะนาน ๆ ครั้ง ซึ่งในการเข้าชมนั้นส่วนใหญ่จะใช้เวลาไม่เกิน 15 นาทีทุกสื่อ โดยเลือกเฉพาะเนื้อหาที่สนใจหรือเปิดผ่าน ๆ เพื่อค้นหาเนื้อหาที่น่าสนใจมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างมีการใช้ประโยชน์และมีความพึงพอใจสื่อออนไลน์ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญ กับการใช้ประโยชน์สื่อออนไลน์ ด้านความต้องการรวมตัวและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเพื่อให้เข้าใจสภาพการดำเนินงานและปัจจัยแวดล้อมของกิจการ ทั้งนี้มีความพึงพอใจต่อเฟซบุ๊กแฟนเพจมากที่สุด รองลงมาคือ เว็บไซต์ ยูทูบ และทวิตเตอร์ ตามลำดับ 2) ประเภทของผู้ประกอบการที่แตกต่างกันมีการเปิดรับสื่อออนไลน์ของสสว.ไม่แตกต่างกัน แต่มีการใช้ประโยชน์และมีความพึงพอใจในภาพรวมแตกต่างกัน โดยผู้ประกอบการที่อยู่ในกลุ่มผลิตจะมีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจน้อยกว่าผู้ประกอบการในกลุ่มบริการและกลุ่มค้าส่งและค้าปลีก 3) ในภาพรวมการเปิดรับสื่อออนไลน์ของสสว.
มีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้ประกอบการทุกกลุ่ม โดยการใช้ประโยชน์สื่อออนไลน์เพื่อสนองความต้องการด้านต่าง ๆ ของกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการมีความสัมพันธ์ระดับสูง กับความพึงพอใจสื่อออนไลน์ของสสว.ในทิศทางเดียวกันทุก ๆ ด้าน ได้แก่ ด้านความต้องการสารสนเทศ หรือข้อมูล ด้านความต้องการสร้างความมีเอกลักษณ์ ด้านต้องการการรวมตัวและปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และด้านต้องการความบันเทิง

References

กาญจนา แก้วเทพ และ นิคม ชัยขุนพล. (2544). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โพรดักส์.

ขวัญฤทัย สายประดิษฐ์. (2551). บทบาทนักประชาสัมพันธ์กับการประชาสัมพันธ์ในสื่อใหม่ตอนที่ 1. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 20(65), 42-51.

พีรพัฒน์ ตุลยาเดชานนท์. (2555). การเปิดรับข้อมูลข่าวสารความพึงพอใจ และความภักดีต่อตราสินค้า ของสมาชิกเฟซบุ๊กแฟนเพจธุรกิจสินค้าในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2542). การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพฯ: ที.พี.พริ้นท์.

วรลักษณ์ ดวงอุดม. (2550). การแสวงหาข่าวสาร การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจของนักลงทุนจากสหภาพยุโรปกับการลงทุนในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สุภวัฒน์ สงวนงาม. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกรับชมรายการข่าวของสถานีโทรทัศน์ของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานคร. (การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเนชั่น, กรุงเทพฯ.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2560). รายงานสถานการณ์ SME ปี 2560. สืบค้นจาก http://www.sme.go.th/th/ download.php?modulekey=215

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

เอมิการ์ ศรีธาตุ. (2559). พฤติกรรมการใช้และการรับรู้อิทธิพลของสื่อดิจิทัลต่อเจเนอเรชันวายและเจเนอเรชันแซดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมาณฑล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Assael, H. (2004). Consumer Behavior: A Strategic Approach (6th ed.). Boston, MA: Houghton Mifflin.

Chittithaworn, C., Islam, M. A., Keawchana, T. & Yusuf, D. H. M. (2011). Factors Affecting Business Success of Small & Medium Enterprises (SME) in Thailand. Asian Social Science, 7(5), 180-190.

Katz, E., Blumler, J., & Gurevitch, M. (1974). Utilization of mass communication by the individual. In J. Blumler & E. Katz (Eds.), The uses of mass communication: Current perspectives on gratifications research (pp. 19-34). Sage.

Klapper, J. T. (1960). The Effects of Mass Communication. Glencoe, Ill.: Free Press.

McQuail, D., J. Blumler & R. Brown. (1972). The television audience: a revised perspective. in D. McQuail (Ed.). Sociology of Mass Communication. Longman.

Schramm, Wilbur. (1973). Handbook of Communication. Chicago: Ran Mcnally College.

Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis (2nd Ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30