การพัฒนาทักษะอาชีพทางการตลาดผู้สูงอายุ: การเรียนรู้เพื่อส่งเสริม ภาวะพฤฒพลัง สำหรับผู้สูงอายุในจังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • เพชรา บุดสีทา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

ทักษะอาชีพทางการตลาด , ภาวะพฤฒพลัง , ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยการพัฒนาทักษะอาชีพทางการตลาดผู้สูงอายุ: การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมภาวะพฤฒพลัง สำหรับผู้สูงอายุในจังหวัดกำแพงเพชร มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพ ความต้องการพัฒนาศักยภาพการประกอบอาชีพของผู้สูงอายุฯ 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นในการพัฒนาทักษะอาชีพการตลาดผู้สูงอายุฯ 3) เพื่อประเมินผลการพัฒนาทักษะอาชีพทางการตลาดผู้สูงอายุ: การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมภาวะพฤฒพลัง สำหรับผู้สูงอายุในจังหวัดกำแพงเพชร ดำเนินการวิจัยโดยการสำรวจศักยภาพ ความต้องการพัฒนาศักยภาพการประกอบอาชีพของผู้สูงอายุฯ กับผู้สูงอายุ จำนวน 400 คน จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นในการพัฒนาทักษะอาชีพการตลาดผู้สูงอายุฯ และประเมินผลการพัฒนาทักษะอาชีพการตลาดผู้สูงอายุโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการใช้หลักสูตรระยะสั้นในการพัฒนาทักษะอาชีพการตลาดผู้สูงอายุ จำนวน 20 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบที (t-test dependent)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผู้สูงอายุมีศักยภาพด้านสุขภาพ ด้านการมีส่วนร่วมและทำประโยชน์ต่อสังคม ด้านความมั่นคง ด้านสภาพที่เอื้อต่อการมีพฤตพลัง และมีความต้องการพัฒนาศักยภาพการประกอบอาชีพของผู้สูงอายุ: เพื่อส่งเสริมภาวะพฤฒพลัง สำหรับผู้สูงอายุในจังหวัดกำแพงเพชร ด้านการตลาด ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.56)
2. ผลการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นในการพัฒนาทักษะอาชีพการตลาดผู้สูงอายุ: การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมภาวะพฤฒพลังฯ ประกอบด้วย 5 รายวิชา คือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาด การวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า การบริหารงานด้านการตลาดในการทำธุรกิจ การเสนอขายสินค้าแบบออนไลน์ การเสนอขายสินค้า ณ ร้านค้า
3. ผลประเมินผลการพัฒนาทักษะอาชีพทางการตลาดผู้สูงอายุ: การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมภาวะพฤฒพลังสำหรับผู้สูงอายุฯ พบว่า ผู้สูงอายุ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2561). รายงานผลการดำเนินงานรองรับสิทธิผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ประจำปีงบประมาณ 2561. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, สํานักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. (2547). พระราชบัญญัติผู้สูง พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: เจ เอส การพิมพ์.

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). รายงานสถิติรายปีประเทศไทยปี 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

กุศล สุนทรธาดา และ กมลชนก ขําสุวรรณ. (2553). ระดับการมีพฤฒพลังของผู้สูงอายุไทยรวมทั้งศึกษาปัจจัยที่กําหนดคุณลักษณะของผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลัง. ใน การประชุมวิชาการประชากรศาสตร์แห่งชาติ 2553 (26-38). กรุงเทพฯ: สมาคมนักประชากรไทย.

เกศริน มนูญผล. (2544). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อเสริมสมรรถภาพด้านการจัดทําหนังสือเสริมประสบการณ์ที่สอดคล้องกับทองถิ่น. (ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

จารีย์ ปิ่นทอง, ธนภรณ์ จิตตินันทน์ และ ปภัสสร แสวงสุขสันต์. (2561). สังคมสูงวัยกับความท้าทายของตลาดแรงงานไทย. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/AAA/AgePeriodCohort.pdf

ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข, ภาณุวัฒน์ เชิดเกียรติกูล และ ปณิตา วรรณพิรุณ. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้และอาชีพของผู้สูงอายุ: การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมภาวะพฤฒพลัง. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พีรพงศ์ ทิพนาค, สมภพ สุวรรณรัฐ, วรัทยา ธรรมกิตติภพ, และ อนุชัย รามวรังกูล. (2552). เทคนิคการติดตามและประเมินผล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เพชรา บุดสีทา. (2562). การจัดการการตลาด. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

มาสริน ศุกลปักษ์ และ กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธ์. (2560). องค์ประกอบด้านสุขภาพตามแนวคิดสภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุ : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ,11(ฉบับพิเศษ), 53-63.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2556). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2555. สนับสนุนโดยกองทุนผู้สูงอายุคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: ทีคิว พี.

เริงลักษณ์ โรจนพันธ์. (2539). เทคนิคการฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2525). พัฒนาหลักสูตรและการสอน-มิติใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

วิไลพร วงค์คีนี. (2555). ปัจจัยทำนายพฤฒพลังของประชากรเขตเมือง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สงัด อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มิตรสหาย.

สมคิด บางโม. (2545). องคการและการจัดการ (พิมพครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สมภพ สุวรรณรัฐิ (2560). รูปแบบการส่งเสริมอาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตภาคกลาง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Taba, Hilda. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: New York: Harcourt, Brace & World.

Tyler, Ralph W. (1949). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago: The University of Chicago Press.

World Health Organization. (2002). Active ageing: a policy framework. Retrieved from https://extranet.who.int/agefriendlyworld/wp-content/uploads/2014/06/ WHO-ActiveAgeing-Framework.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30