การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและการตัดสินใจลงทุนธุรกิจร้านอาหารทั่วไปในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ, การตัดสินใจลงทุน, ธุรกิจร้านอาหารทั่วไปบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ รวมถึงการตัดสินใจลงทุนธุรกิจร้านอาหารทั่วไปในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถามจำนวน 189 ชุด และแบบสัมภาษณ์ผู้ประกอบการร้านอาหารทั่วไปในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 ราย ใช้สถิติเชิงพรรณนา บรรยายคุณลักษณะของผู้ประกอบการ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาดำเนินกิจการ ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน นอกจากนี้ยังใช้สถิติเชิงอนุมาน ในการทดสอบสมมติฐานการวิจัย คือ การวิเคราะห์การถดถอย (Linear Regression) และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 31-40 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและดำเนินกิจการระยะเวลามากกว่า 5 ปี จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า เทคโนโลยี เป็นปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจลงทุนธุรกิจร้านอาหารทั่วไป ขณะที่การเมืองและกฎหมาย เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจลงทุนธุรกิจร้านอาหารทั่วไป ส่วนปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน คือ การจัดการ และด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลมีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจลงทุนธุรกิจร้านอาหารทั่วไป ในขณะที่ด้านการเงิน และด้านการตลาด ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจลงทุนธุรกิจร้านอาหารทั่วไปในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
จิตรลดา ตรีสาคร และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2561). ปัจจัยความสำเร็จที่มีผลต่อศักยภาพการแข่งขันในตลาด AEC สำหรับผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 13(1), 159-177.
ชมรมภัตตาคารและร้านอาหารจังหวัดเชียงใหม่. (2562). สถิติผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารประจำปี พ.ศ. 2563. สืบค้นจาก http://www.cmrchiangmai.net
ชานนท์ มหาสิงห์, จอมขวัญ สุวรรณรักษ์ และ วิชัย เจริญธรรมานนท์. (2563). ปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการร้านอาหารขนาดกลางที่มีสาขาเครือข่ายในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 3(3), 81-99.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2558). แนวทางการควบคุมภายในที่ดี. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.
พันธุ์ทิพย์ อภิรมย์เดชานนท์ และ วีรพล ทวีนันท์. (2562). แนวทางการออกแบบธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพในเขตอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20 (น. 1473-1479). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วทัญญู บุตรรัตนะ และ พงษ์ธร สุวรรณธาดา. (2558), การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจร้านอาหารบริเวณถนนศรีจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. ใน การประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2558 (น. 1714-1720). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศุภกฤต หลิมเลิศรัตน์. (2561). การศึกษาผลกระทบจากปัจจัยสภาพแวดล้อมเกื้อหนุนที่มีต่อความสามารถและโอกาสผู้ประกอบการ: กรณีศึกษาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). ปี 2563 ธุรกิจร้านอาหารเผชิญกับโจทย์ท้าทายสูงและรูปแบบการแข่งขันที่เปลี่ยนไป. สืบค้นจาก https://kasikornresearch.com
ศิริญา ตังนฤมิตร. (2558). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สมทบ แก้วเชื้อ, บัณฑิต ผังนิรันดร์ และ ธนพล ก่อฐานะ. (2562). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 15(2), 33-44.
สว่างพงษ์ แซ่จึง. (2559). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจเฟรนไชส์ร้านอาหารไทยประเภทร้านก๋วยเตี๋ยว ในเขตจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
สุดใจ ดิลกฑรรศนนท์. (2558). การจัดการเชิงกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). ภาวการณ์ทำงานของประชากรในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2562. สืบค้นจาก http://www.nso.go.th
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2563). รายงานสถานการณ์ SME ปี พ.ศ. 2563 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. สืบค้นจาก https://www.sme.go.th
อิสรีย์ ติยะพิพัฒน์. (2564). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริการอาหาร. สืบค้นจาก http://www.elfhs.ssru.ac.th/itsaree_ti/mod/forum/view.php?id=71
Aguilar, F. J. (1967). Scanning the business environment. Basingstoke: Macmillan.
George, D., and Mallery, P. (2003). SPSS for windows step by step: A simple guide and reference. (4th ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Hinkle, D.E, William, W., and Stephen, G. J. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. (4th ed.). New York: Houghton Mifflin.
Krejcie, R. V., and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. SAGE Journals, 30(1), 607-610.
Lavie, D. (2006). The Competitive Advantage of Interconnected Firms: An Extension of the Resource-Based View. Academy of Management Review, 31(3), 638-658.
Levy, M., and Weitz, A. B. (2012). Retailing Management Eighth Edition. (8th ed.). New York: McGraw-Hill Irwin.
Ireland, D. R., Hitt, M. A., and Hoskisson, R. E. (2009). The Management of Strategy Concepts & Cases. London: Evans Publishing Group.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 ปินเก่อ เหอ, ดรุชา รัตนดำรงอักษร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว