การสร้างความยั่งยืนในผลิตภัณฑ์เกษตรชุมชนด้วยการบริหารจัดการเชิงระบบนิเวศ
DOI:
https://doi.org/10.60101/mmr.2023.265090คำสำคัญ:
การจัดการระบบนิเวศ, ความยั่งยืน , ผลิตภัณฑ์เกษตรชุมชนบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการบริหารจัดการในระบบนิเวศของผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ และพัฒนาแนวทางในการบริหารจัดการเชิงระบบนิเวศของผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์สู่ความยั่งยืน ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการถอดบทเรียน โดยมีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ นักการตลาด และนักวิชาการในชุมชน จำนวน 9 คน ในพื้นที่ปริมณฑล 2 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสมุทรสาคร และนำมาถอดบทเรียน ในส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ ทำการวิเคราะห์สมการ เชิงโครงสร้าง (SEM) ใช้แนวทางกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 540 ตัวอย่าง ให้สอดคล้องกับการใช้สถิติวิเคราะห์องค์ประกอบ ที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณคือกลุ่มผู้บริโภคที่สนใจซื้อผลิตภัณฑ์ทาง การเกษตร ในรูปแบบออนไลน์โดยทำการสำรวจในพื้นที่ปริมณฑล
ผลการวิจัยพบว่า โมเดลตามสมมติฐานที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ หรือกล่าวอีกนัยคือ (1) การบริหารการผลิต และการบริหารพันธมิตร ส่งผลโดยตรงต่อการบริหารการจัดจำหน่าย การบริหารโลจิสติกส์ การบริหารการตลาด และ (2) การบริหารการจัดจำหน่าย การบริหารโลจิสติกส์ การบริหารการตลาด ส่งผลโดยตรงต่อผู้บริโภคผลิตภัณฑ์การเกษตรชุมชนที่ยั่งยืน ซึ่งโมเดลนี้ สามารถอธิบายความแปรปรวนของผลิตภัณฑ์การเกษตรชุมชนที่ยั่งยืนได้ร้อยละ 83.12 โดยผลการวิเคราะห์เส้นทางมีความกลมกลืนกันกับโมเดลเชิงประจักษ์คือ χ2/df=1.213, p=0.1057, CFI= 0.975, GFI=0.963, AGFI=0.932, RMSEA=0.034
References
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2559). เกี่ยวกับกระทรวง. สืบค้นจาก https://www.moac.go.th/about-mission
แก้วมณี อุทิรัมย์, สายฝน อุไร และ อุดมพงศ์ เกศศรีพงษ์ศา. (2562). รูปแบบช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าของกลุ่มจักสานผลิตภัณฑ์จากเส้นพลาสติก บ้านขุมดิน ตําบลน้ำใส อําเภอจตุรพักตรพิมานจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 11(2), 19-34.
ธีรยุส วัฒนาศุภโชค. (2547). กลยุทธ์เพื่อการเติบโตสมัยใหม่ (Innovative Growth Strategy). จุฬาลงกรณ์วารสาร, 16(63), 84-99.
ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์. (2562). เกษตรอินทรีย์ วิถียโสธร… แนวทางการเกษตรจากเมืองเกษตรอินทรีย์ต้นแบบของประเทศไทย. วารสารสิ่งแวดล้อม, 23(2), 1-13.
มูลนิธิชัยพัฒนา. (2565). มูลนิธิชัยพัฒนา ฉบับเดือนธันวาคม 2565. สืบค้นจาก https://www.chaipat.or.th/publication/journal/cpf-journal-1.html
วริพัสย์ เจียมปัญญารัช. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของเกษตรกรอินทรีย์ของไทย: บทเรียนจากเกษตรกรรายย่อย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20, 199-215.
วิเชียร วิทยอุดม. (2555). ทฤษฎีองค์การฉบับแนวใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.
วุฒิ สุขเจริญ. (2559). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จี.พี.ไซเบอร์พริ้นท์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). รายงานประจำปี 2565 สำนักงานสถิติแห่งชาติ.กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.
สุเมธ ตันติเวชกุล. (2549). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
อาทิตยา พองพรหม. (2561). ความรู้เบื้องต้นด้านนิเวศเกษตร เพื่อการประยุกต์ใช้ในระบบเกษตรกรรม ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรม.
Alkaff Saqaff A., S. C.Sim, & M. N. Ervina Efzan. (2016). A review of underground building towards thermal energy efficiency and sustainable development. Renewable and Sustainable Energy Reviews, 60, 692-713.
Cheng-Hua Wang, Kuan-Yu Chen, and Shiu-Chun Chen. (2012). Total quality management, market orientation and hotel performance: The moderating effects of external environmental factors. International Journal of Hospitality Management, 31(1), 119-129.
Christopher, M. (1998). Logistics and Supply Chain Management: Strategies for Reducing Costs and Improving Services (2nd ed.). Hemel Hempstead: Prentice Hall.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed). New York: Harper Collins.
Duncan, T. R. (2005). Principles of Advertising &IMC. (2nd ed.). Boston, Mass.: McGraw-Hill/Irwin.
Hair, J. F., Black, B., Babin, B., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. New Jersey, USA: Pearson.
Jill, E. (2006). An analysis of the effectiveness of storytelling with adult learners in supervisory management. Retrieved from https://minds.wisconsin.edu/bitstream/ handle/1793/41941/2006eckj.pdf?sequence=1
Joreskog, K. G., & Sorbom, D. (1993). LISREL 8: Structural Equation Modeling with the SIMPLIS command language. Scientific Software International; Lawrence Erlbaum Associate.
Lamber M., Stock J. R., & Ellram L. M. (1998). Fundamentals of Logistics Management. Boston, Mass: Irwin/McGraw-Hil.
Lambert M. D., James R. S., & Lisa, M. E. (1998). Fundamentals logistics management (International editions). Boston: McGraw-Hill.
Logistics Corner. (2009). Integrated Logistics Management. Retrieved from http://logidticscorner.com /Docfiles/logistics/integratedlogistics.pdf
Michael, V. L., & Peter, M. L. (2008). Internet Marketing and Customer Relationships Management: A Two Step Communications Strategy. Northeast Decision Sciences Institute Proceedings, USA.: Rhode Island.
Moazed, A. & Johnson, N. L. (2016). Modern Monopolies: What It Takes to Dominate the 21st-Century Economy. New York: St. Martin's Press.
Porter, M. E. (1985). Competitive Advantage. New York: Free Press.
Schiffman, L.G. and Kanuk, L.L. (1994). Customer Behavior (5th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.
UNESCO. (2017). UNESCO Thesaurus. Retrieved from http://vocabularies. unesco.org /browser/thesaurus/en/
Zahra S. K., Alireza S., and Mohammad S. K. (2014). Explanatory study towards. analysis the relationship between Total Quality Management and Knowledge Management. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 109, 600-604.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว