อิทธิพลของปัจจัยในการดำเนินธุรกิจที่มีต่อความเติบโต ของธุรกิจ SMEs ในจังหวัดเชียงราย
DOI:
https://doi.org/10.60101/mmr.2023.267405คำสำคัญ:
SMEs, ปัจจัยในการดำเนินธุรกิจ, ความเติบโตของธุรกิจและการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยในการดำเนินธุรกิจและความเติบโตของธุรกิจ SMEs ในจังหวัดเชียงราย 2) เปรียบเทียบปัจจัยในการดำเนินธุรกิจและความเติบโตของธุรกิจ SMEs ในจังหวัดเชียงราย จำแนกตามข้อมูลของธุรกิจ และ 3) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยในการดำเนินธุรกิจที่มีต่อความเติบโตของธุรกิจ SMEs ในจังหวัดเชียงราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ในจังหวัดเชียงราย จำนวน 400 ราย ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ และการวิเคราะห์ความแปรปรวน เปรียบเทียบพหุคูณแบบ LSD
ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยในการดำเนินธุรกิจและความเติบโตของธุรกิจ SMEs ในจังหวัดเชียงราย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประเภทของธุรกิจ อายุของกิจการ และจำนวนเงินลงทุนของกิจการ ที่แตกต่างกัน ความเติบโตของธุรกิจ SMEs ในจังหวัดเชียงราย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ปัจจัยในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ ด้านการจัดการ การเงิน การตลาด และการปฏิบัติการและเทคโนโลยี มีอิทธิพลทางบวกต่อความเติบโตของธุรกิจ SMEs ในจังหวัดเชียงรายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยตัวแปรปัจจัยในการดำเนินธุรกิจ ทั้ง 4 ตัวแปรร่วมกันทำนายความเติบโตของธุรกิจ คิดเป็นร้อยละ 68.50 ผลจากการศึกษาครั้งนี้ นำมาเป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของธุรกิจ SMEs ให้มีความสามารถในการแข่งขันและความเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป
References
จุฑาภรณ์ เสาร์พูล และ สรัญณี อุเส็นยาง. (2565). ปัจจัยในการดำเนินธุรกิจของการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ประสบความสำเร็จ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 4(2), 93-112.
ชมพูนุท ด้วงจันทร์, พรนภา กำเพชร, วรรณภิรมย์ เนียมนวล, นิธินาฏ ชุมแดง, ปรียามล ยงยุทธ์, … และ นภาพร พงศ์ทองเมือง. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานธุรกิจสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย โดยวิธีวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 13(2), 27-44.
ชาญศักดิ์ เกิดสุข. (2565). กลยุทธ์การจัดการธุรกิจสู่ความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) กลุ่มธุรกิจบริการด้านอาหารและเครื่องดื่มในเขตกรุงเทพมหานคร. Journal of Modern Learning Development, 7(7), 169-187.
ตฤณ แพเขียว และ กิติยา ทัศนะบรรจง. (2565). ผลกระทบของคุณลักษณะของผู้ประกอบการ ลักษณะองค์กรตามองค์ประกอบขององค์กรสมรรถนะสูงต่อการเจริญเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของภาคธุรกิจการเกษตรในภูมิภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 8(2), 116-125.
ถนอมศิลป์ จันคณากิติกุล, นิศารัตน์ โชติเชย และ กิตติชัย เจริญชัย. (2561). ปัจจัยการบริหารธุรกิจที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประกอบการธุรกิจโรงแรม: กรณีศึกษา ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 7(2), 42-57.
ธนเดช กังสวัสดิ์. (2563). ตัวแบบกลยุทธ์ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(2), 166-178.
ธนะพัฒน์ วิริต. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จการดำเนินธุรกิจ (SMEs) จากสภาวะการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของผู้ประกอบการในจังหวัดปทุมธานี. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(2), 458-473.
ธนัญญา ไชยนันทน์, บุรพร กำบุญ, สุชาติ ปรักทยานนท์ และ ฐนันวริน โฆษิตคณิน. (2566). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจผลิตข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์ในประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 12(1), 99-115.
นันทนา แจ้งสว่าง และ ศศิธร วชิรปัญญาพงศ์. (2565). ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการธุรกิจออนไลน์
ในวิถีความปกติใหม่. วารสารวิจยวิชาการ, 5(5), 279-288.
นุชนาถ ทับครุฑ, ศุกพิชญาณ์ บุญเกื้อ และ อรอนงค์ อำภา. (2563). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดตรังโดยใช้แนวคิดในการบริหารจัดการ Balanced Scorecard. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 12(1), 1-12.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สิรีวิยาสาส์น.
บุรินทร์ ศิริเนตร์ และ กันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ. (2564). การปรับตัวเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจโรงแรมในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสหวิทยาการจัดการคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย ราชภัฏบุรีรัมย์, 5(1), 69-75.
ปิยะวัน เพชรหมี, สุจินดา เจียมศรีพงษ์ และ ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2562). ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจผ้าทอพื้นเมืองของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางในภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 14(3), 146-164.
พงศ์สฎา เฉลิมกลิ่น. (2563). การจัดการเครือข่ายทางธุรกิจในแง่มุมของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานทางธุรกิจ. Journal of Roi Kaensarn Academi, 5(2), 142-151.
พสุ เดชะรินทร์. (2566). ความสำเร็จของบริษัทไม่ได้วัดด้วยเงิน. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/columnist/1014905
รณิดา นกไทยเจริญ, สุชาติ ปรักทยานนท์, บุรพร กำบุญ และ ศิรชญาน์ การะเวก. (2566). รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อการเติบโตของธุรกิจผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในประเทศไทย. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 6(1), 246-257.
รุจิกาญจน์ สานนท์ และ จุฑา เทียนไทย. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจครอบครัว: กรณีศึกษา ธุรกิจอพาร์ตเมนต์ขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 9(2), 227-239.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2545). ทฤษฎีการประเมิน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
สมคิด บางโม. (2559). การเป็นผู้ประกอบการ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: พัฒนวิทย์.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2566). โครงสร้างธุรกิจ SME. สืบค้นจาก https://www.smebigdata.com/home
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2566). นิยาม SME. สืบค้นจาก https://www.sme.go.th/th/cms-detail.php?modulekey=332&id=1334
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2566). รายงานสถานการณ์ SME. สืบค้นจาก https://www.sme.go.th/th/download.php?modulekey=215
สุธีรา อะทะวงษา, นงนุช กันธะชัย, สุรินทร์ พิทักษ์สิกุล, ศิรสิทธิ์ ศิริวิวัฒนากุล และจิรพัฒน์ อุปถัมภ์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ ในจังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 16(1), 149-173.
อิริยา ผ่องพิทยา, ภัควลัญชญ์ ผาณิตพิเชฐวงศ์, ณัชชา ธาตรีนรานนท์, กฤษฎาภรณ์ รุจิธำรงกุล, และลาวัลย์ ต้นสกุลรุ่งเรือง. (2566). ปัจจัยด้านนวัตกรรรมทางธุรกิจในยุคดิจิทัลส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 353-364.
Cronbach, Lee J. (1970). Essentials of Psychological Testing (3rd ed.) New York: Harper.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis (6th ed.). Pearson Prentice Hall: New Jersey.
Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (2007). Balanced scorecard. In Das Summa Summarum des Management. Springer, 137-148.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว