ส่วนประสมทางการตลาดบริการ และการยอมรับเทคโนโลยีบนสมาร์ตโฟน ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชัน GHB ALL ของลูกค้า ธนาคารอาคารสงเคราะห์

ผู้แต่ง

  • เบญจมาศ วงศ์พุฒิ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • วิจิตรา จำลองราษฎร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • เอกรงค์ ปั้นพงษ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาดบริการ, การยอมรับเทคโนโลยีบนสมาร์ตโฟน, การตัดสินใจใช้แอปพลิเคชัน GHB ALL

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดบริการ การยอมรับเทคโนโลยีบนสมาร์ตโฟน และการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชัน GHB ALL ของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ และ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดบริการ และการยอมรับเทคโนโลยีนสมาร์ตโฟน ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชัน GHB ALL ของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ลูกค้าของธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำนวน 361 คน โดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย ผู้วิจัยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า ส่วนประสมทางการตลาดบริการ การยอมรับเทคโนโลยีบนสมาร์ตโฟน และการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชัน GHB ALL ของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ อยู่ในระดับมากที่สุด และส่วนประสมทางการตลาดบริการ การยอมรับเทคโนโลยีบนสมาร์ตโฟนส่งผลต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชัน GHB ALL ของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสมการพยากรณ์สามารถพยากรณ์ผลการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชัน GHB ALL ได้ถูกต้องร้อยละ 86.60

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2559). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 16).กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชูศักดิ์ จรูญสวัสดิ์. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลและการใช้สถิติในงานวิจัย. กรุงเทพฯ: ส.เสริมมิตรการพิมพ์.

ณรงค์เกียรติ์ อ่ำบุญ. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการและปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ Application MyMo ของลูกค้าธนาคารออมสินในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปทุมธานี.

ณัฏฐนันท์ พิธิวัตโชติกุล. (2558). การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปทุมธานี.

ณัฐณี คุรุกิจวาณิชย์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการธนาคารทางโทรศัพท์ของธนาคารออมสิน ในเขตธนาคารออมสินภาค 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (2565). แอปพลิเคชัน GHB ALL. สืบค้นจาก https://www.ghbank. co.th/electronic-services/application/ghb-all-gen

ธนาคารอาคารสงเคราะห์. (2564). รายงานข้อมูลสาขาสำหรับผู้บริหารของธนาคารอาคารสงเคราะห์เขตพิษณุโลก. สืบค้นจาก https://www.ghbank.co.th.

ธัญพร วัฒนสิน. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการธนาคารทางโทรศัพท์ของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์สาขาสวนอุตสาหกรรมสหพัฒน์แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ธานินท์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ : สามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สุธาสินี ตุลานนท์. (2562). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

อธิคม มีนยุทธ. (2561). กระบวนการตัดสินใจในการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านโทรศัพท์สมาร์ตโฟนของลูกค้ากลุ่ม Gen Y ในจังหวัดสมุทรปราการ. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

Kotler, P. (2012). Marketing Management. New Jersey: Prentice Hall.

Kotler, P., Keller, K. L., & Chernev, A. (2022). Marketing management (16th ed.). London: Pearson Education.

Likert, R. (1957). Some applications of behavioral research. Paris: Unesco.

Ooi, K. B., & Tan, G. W. H. (2016). Mobile technology acceptance model: An investigation using mobile users to explore smartphone credit card. Expert Systems with Applications, 59(October), 33-46.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30