Learning potential empowerment of Local Communities in Management of Natural Resources in Head Watershed Forest of Nam Rad Forest – Ma Loh Canal, Surat Thani Province

Main Article Content

ภมรรัตน์ สุธรรม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาบริบทของชุมชนบ้านน้ำราด  ศึกษาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางกายภาพและความหลากหลายทางชีวภาพเบื้องต้น  เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ  และเพื่อหารูปแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  ผลการศึกษา  พบว่า  บริบทพื้นที่ป่าต้นน้ำป่าน้ำราด-คลองมะเลาะ  ตั้งอยู่ในตำบลบ้านทำเนียบและย่านยาว  คำว่า “น้ำราด”  หมายถึงน้ำที่ไหลแผ่กระจายไปทั่วพื้นที่ป่าต้นน้ำ  จึงเรียกชื่อว่า  “ป่าน้ำราด”  ตามลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ที่เป็นป่าต้นน้ำในพื้นที่ที่ราบสูงซึ่งล้อมรอบด้วยภูเขาซึ่งอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าดิบชื้นที่ดูดซับน้ำไว้ให้ไหลรินได้ตลอดทั้งปีอันเป็นแหล่งกำเนิดของคลองมะเลาะ  จากการศึกษาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางกายภาพและความหลากหลายทางชีวภาพเบื้องต้นพบว่า จากในอดีตเมื่อ  50 ปีที่ผ่านมามีระบบนิเวศป่าอุดมสมบูรณ์  คลองมะเลาะเป็นแหล่งน้ำที่สะอาด ปัจจุบันป่าต้นน้ำ-คลองมะเลาะถูกบุกรุกและเสื่อมโทรม  พื้นที่ป่าและความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ลดลง บางชนิดสูญพันธ์  สภาพน้ำในคลองสกปรก ระบบนิเวศแหล่งน้ำสูญเสียความสมดุล ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน  ผลจากการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ในการจัดการทรัพยากรป่าต้นน้ำโดยเทคนิค A.I.C. ชุมชนได้ร่วมกันกำหนดภาพอนาคตพื้นที่ป่าต้นน้ำและคลองมะเลาะ “ให้คลองสวย  น้ำใสสะอาด  ป่าธรรมชาติสมบูรณ์” สร้างแนวทางการบริหารจัดการ  โดยเน้นกิจกรรมด้านการสร้างจิตสำนึก เช่น รณรงค์สร้างจิตสำนึกให้กับคนในชุมชน ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟู เช่น การสร้างฝายแม้ว การปลูกป่าทดแทน และได้รูปแบบการจัดการทรัพยากรร่วมโดยชุมชนในรูปแบบการสร้างเครือข่ายอนุรักษ์ร่วมกันตั้งต้นน้ำถึงปลายน้ำและกำหนดกฏกติกาในการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดความยั่งยืน เช่น ห้ามทิ้งขยะมูลฝอยลงในคลอง ห้ามโค่นต้นไม้บริเวณป่าต้นน้ำ เป็นต้น

Article Details

Section
Research Article

References

กรมทรัพยากรน้ำ . (2552) การเสริมสร้างและพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและป่าต้นน้ำ กรณีศึกษาลุ่มน้ำปิงและลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กมลรัตน์ พรหมสิงห์. (2555) ศักยภาพของชุมชนในการจัดการป่าต้นน้ำเทือกเขาบรรทัดในจังหวัดตรัง.วิทยานิพนธิ์สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ .


จันทนา อินทปัญญา. (2551) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชากรในบริเวณพื้นที่โดยรอบวนอุทยานเขาหลวง จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดอุทัยธานี. สำนักวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,กรุงเทพมหานคร.
จินตนา สังข์ขาว. (2553) การจัดการทรัพยากรป่าไม้แบบมีส่วนร่วมด้วยแนวคิดธนาคารตันไม้:กรณีศึกษาบ้านคลอง เรือ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์สาขาการจัดการทรัพยากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร.
วิถี ติยะบุตรและคณะ. (2551). รูปแบบการจัดการทรัพยากรโดยการมีส่วนร่วมของเด็กเยาวชนและชุมชน กรณีศึกษาพื้นที่ป่าดงมัน อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร.กรุงเทพมหานคร:สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว).
สำนักนโยบายและแผนพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม.(2549).แผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2550-2554.กรุงเทพมหานคร:สำนักนโยบายและแผนพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม.
สุวิทย์ วรรณศรี. (2553) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาชุมชนในเขตลุ่มน้ำป่าสักตอนบน อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์.สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัย ราชภัฎเพชรบูรณ์.
อคิน รพีพัฒน์.(2547).การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา.กรุงเทพมหานคร: ศูนย์การศึกษานโยบายสาธารณสุข.
อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2544).วิธีคิดเชิงซ้อนในงานวิจัยชุมชม : พลวัตชุมชนและศักยภาพของชุมชนในการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.