ภาวะผู้นำแบบพัฒนา การสนับสนุนทางสังคมขององค์การ และพฤติกรรมการทำงานตามค่านิยม 12 ประการ ของพนักงานองค์การเอกชนแห่งหนึ่ง

Main Article Content

ธีรวุฒิ ศรีมังกร
บังอร โสฬส

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มุ่งตรวจสอบความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบพัฒนา การสนับสนุนทางสังคมขององค์การ และพฤติกรรมการทำงานตามค่านิยมเป้าหมายของรัฐบาล 12 ประการ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาประกอบด้วย พนักงานองค์กรเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 340 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 4 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบ แบบสอบถามภาวะผู้นำแบบพัฒนาของผู้ตอบ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมจากองค์การ และแบบสอบถามพฤติกรรมการทำงานตามค่านิยม 12 ประการ แบบสอบถาม 3 ฉบับหลังมีค่าความเชื่อมั่นสูง (α = .979, .948, .851, p < .05) ผลการวิเคราะห์ลักษณะของกลุ่มตัวอย่างพบว่า มีตัวอย่างที่ให้ความร่วมมือตอบแบบสอบถามจำนวน 300 คน คิดเป็นร้อยละ 88 จากจำนวนทั้งหมดที่รับแบบสอบถามไป ซึ่งประกอบด้วย พนักงานชายและหญิงจำนวนใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 51, 49 ตามลำดับ) อายุกระจายในทุกช่วงวัยทำงาน ส่วนใหญ่มีระยะเวลาการทำงานระหว่าง 0-5 ปี (ร้อยละ 61.00) สถานภาพโสด (ร้อยละ 73.30) ระดับการศึกษาปริญญาตรี (ร้อยละ 75.70) และเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการ (ร้อยละ 90.30) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบผลสนับสนุนสมมติฐานว่า ภาวะผู้นำแบบพัฒนาทั้งโดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการทำงานตามค่านิยม 12 ประการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs > .495, ps < .01) การสนับสนุนทางสังคมขององค์การทั้งโดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการทำงานตามค่านิยม 12 ประการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs > .615, ps < .01) และภาวะผู้นำแบบพัฒนาทั้งโดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการสนับสนุนจากองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs > .537, ps < .01) นอกจากนี้พบอำนาจในการทำนายพฤติกรรมการทำงานตามค่านิยมหลัก 12 ประการ ของภาวะผู้นำและการสนับสนุนทางสังคมถึงร้อยละ 30.4 ผลที่พบทำให้เสนอแนะได้ว่า การเสริมสร้างภาวะผู้นำ และการให้การสนับสนุนทางสังคมขององค์การให้มีเพิ่มขึ้นในพนักงาน จะทำให้พนักงานมีพฤติกรรมตามค่านิยม 12 ประการเพิ่มตามไปด้วย การศึกษาต่อไปควรค้นหาวิธีการเสริมสร้างภาวะผู้นำและการสนับสนุนทางสังคมขององค์การที่เหมาะสมและได้ผลตามที่มุ่งหมายต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช). (2557). รายการคืนความสุขให้คนในชาติ (Online). สืบค้นได้จาก : http://www.thaigov.go.th/index.php/th/program1/item/ 84701-id84701. [2559, กันยายน 2].

เตชทัต ใจท้วม. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนแปลงตามการรับรู้ของพนักงานกับการเสริมสร้างพลังอำนาจเชิงจิตวิทยาในงาน และความผูกพันในงานของพนักงาน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

น้ำเพชร สุขเพ็ง. (2558). ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างความมุ่งอนาคตควบคุมตน ความเชื่ออำนาจในตนและทัศนคติที่ดีต่อการทำงานกับพฤติกรรมการทำงานตามค่านิยม 12 ประการ ข้าราชการทหาร. กรุงเทพฯ : คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เปรมจิตร คล้ายเพ็ชร์. (2548). การสนับสนุนจากองค์การความยุติธรรมองค์การที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การและความตั้งใจลาออก. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พจนานุกรรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน. (2554). พฤติกรรม (Online). สืบค้นได้จาก : http://www.royin.go.th/dictionary/. [2559, กันยายน 5].

พรรณิภา สืบสุข. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ลักษณะงานและภาวะผู้นำการพัฒนา (Transformational Leadership) ของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับความสุขในการทำงานของพยาบาล. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงการณมหาวิทยาลัย.

สิทธิโชค วรานุสันติกุล. (2546). จิตวิทยาสังคม: ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สิริอร วิชชาวุธ. (2549). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

AL-Hussami, M. A. (2008). Study of Nurses’ Job Satisfaction: The Relationship to Organizational Commitment, Perceived Organizational Support, Transactional Leadership, Transformational Leadership, and Level of Education. European of Science Research, 22.

Eisenberger, R., Armeli, S., Rexwinkel, B., Lynch, P. D., & Rhoades L. (2001). Reciprocation of Perceived Organizational Support. Journal of Applied Psychology, 86 : 42 - 51.

Eisenberger, R., Huntington, R., Hutchison, S., & Sowa, D. (1986). Perceived Organizational Support. Journal of Applied Psychology, 71, 500 - 507.

Morrison, R., Jones, L., & Fuller, B. (1997). The relationship between leadership style and empowerment on the job. The Journal of Nursing Administration, 27 (5), 27 - 34.

Muchinsky, P.M. (2003). Psychology Applied to Work (7th ed.). Wadsworth : Belmont.

Rhoades, L. & Eisenberger, R. (2002). Perceived Organizational Support: A Review of the Literature. Journal of Applied Psychology, 87(4), 698 - 714.

Shore, L. M., & Tetrick, L. E. (1991). A Construct Validity Study of the Survey of Perceived Organizational Support. Journal of Applied Psychology, 76, 637 – 643.

Walumbwa F. & Lawler J. J. (2005). Transformational Leadership, Organizational Commitment. Job Satisfaction: A Comparative Study of Kenya and U.S. Financial Firms, 15, 235 – 256.