ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นสากล ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

อุไรวรรณ พูลสมบัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดตัวชี้วัดคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นสากล และเสนอยุทธศาสตร์และตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเพสู่ความเป็นสากลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การกำหนดตัวชี้วัดและการตรวจสอบความเหมาะสมของตัวชี้วัดคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นสากลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดเป็นตัวชี้วัดคุณภาพผู้เรียน ตรวจสอบความเหมาะสมของตัวชี้วัดโดยใช้แบบคัดกรองและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 คน กำหนดองค์ประกอบหลักคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นสากลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ระยะที่ 2 การเสนอยุทธศาสตร์และตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นสากลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยวิธีการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบตรวจสอบยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า ตัวชี้วัดคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นสากลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีความเหมาะสม 53 ตัวชี้วัด 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความรู้ด้านวิชาการ 2) ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 3) ทักษะการสื่อสาร 4) ทักษะการคิด 5) ทักษะการแก้ปัญหา 6) ทักษะชีวิต 7) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยค่าสถิติวัดความสอดคล้องขององค์ประกอบเชิงยืนยันมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นสากลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมี 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ 2) การพัฒนาผู้เรียนด้านทักษะ 3) การพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เป็นพลโลก ซึ่งมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมและรายยุทธศาสตร์ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ : คุรุสภา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2557) รายงานการติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ตามนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาลปี 2556 กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
จักษวัชร ศิริวรรณ. (2554). ตัวแบบการประเมินโครงการ : ตัวแบบซิป (CIPP Model). (Online) สืบค้นได้จาก https://www.gotoknow.org. [2558, ธันวาคม 21).
ดนัย จันทร์เจ้าฉาย. (2554). ธรรมดีที่พ่อทำ. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มจี.
ปองสิน วิเศษศิริ. (2550). การกระจายอำนาจทางการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
เพชรยุพา บูรณ์สิริจรุงรัฐ. (2558). หลักการพัฒนาความฉลาดทางสังคม. กรุงเทพฯ : เฌ.เดียมอง.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2550) . สัตตศิลา หลักเจ็ดประการสำหรับการเปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรัยพร แสงนภาบวร. (2550). รายงานการวิจัยเรื่องการกระจายอำนาจทางการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
วิทยากร เชียงกูล. (2553). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2552 – 2553 “จะปฏิรูปการศึกษา ให้เกิดผลจริงได้อย่างไร”. (Online) สืบค้นได้จาก : http://edu.kru.ac.th. [2557, เมษายน 18].
. (2555). รายงานสภาวะการศึกษาไทย 2554-2555. (Online) สืบค้นได้จาก : http://www.bangkokbiznews.com. [2557, เมษายน 18].
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การศึกษา เพื่อศตวรรษ ที่ 21. แปลจาก 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn. กรุงเทพฯ : โอเพนเวิร์ด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติ ปีการศึกษา 2555 : บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. (Online) สืบค้นได้จาก : http://bet.obec.go.th. [2559, กุมภาพันธ์ 15].
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). คู่มือการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บริหาร ครู และนักเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการประเมินตามโครงการวิจัยนานาชาติ (PISA และ TIMSS ). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York : John Wiley and Sons.
Cronban. L.J. (1990) Essentials of Psychological Testing (5th ed.). New York : Harper Collins.
Ng, P. T. (2007). Quality assurance in the Singapore education system in an era of diversity and innovation. Educational Research for Policy and ractice, 6(3), October, 235 - 247.
Sharon, Junge K.; Sue, Manglallan; & Juliana, Raskauskas. (2003). Building Life Skills Through After school Participation in Experimental and Cooperative Learning, Child Study Journal, 33(3) ; 74 - 165.