ความตระหนักและการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยวชาวไทยใน การอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติในเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ กลุ่มตัวอย่างในเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ นักท่องเที่ยว ชาวไทย จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบสะดวก และข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.987 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) One-way ANOVA และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวมีการตระหนักรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาก การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การตระหนักรู้มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.203 แนวทางและรูปแบบการมีส่วนร่วมการจัดการการอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อมแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ประกอบด้วย การให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การสร้างความตระหนัก จิตสำนึก พฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และนักท่องเที่ยว
Article Details
References
กนกกานต์ แก้วนุช. (2560). มุมมองของนักท่องเที่ยวต่อผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(3), 64-81.
กนกวรรณ เกียรติเสวี ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์ และสุวัฒนา ธาดานิติ. (2563). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรประมงชายฝั่งอย่างยั่งยืน อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 6(1), 44-69.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ ปี 2560 (จำแนกตามภูมิภาคและจังหวัด) (Domestic Tourism Statistics Q1-Q4 (Classify by region and province)). https://www.mots.go.th/more_news.phpcid=504&filename=index
ชลิดา เหนี่ยวบุบผา, วิสาขา ภู่จินดา และธวัชชัย ศุภดิษฐ์. (2563). การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกของประเทศไทย : ความท้าทาย โอกาสและผลกระทบ. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 6(1), 134-161.
ชุลีวรรณ ปราณีธรรม, จารีย์ พรหมณะ และธัญญา กาศรุณ. (2561). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์เมืองเวียงสระโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ชุลีวรรณ ปราณีธรรม และไพฑูรย์ มนต์พานทอง. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและในโรงแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเกาะสมุย. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 19(2), 63-76.
ณัฏฐธิดา ชัยสงคราม และยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 35(2), 82-98.
นภวรรณ ฐานะกาญจน์ พงษ์เขียว และจิราภรณ์ เทียมพันธ์พงศ์. (2561). พฤติกรรมการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้มาเยือนอุทยานแห่งชาติปางสีดา. Veridian E-Journal, 11(1), 1707-1720.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และเพ็ญศิริ ศรีคำภา. (2557). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน(พิมพ์ครั้งที่ 2). ธรรมสาร.
ประพันธ์พงษ์ ชิณพงษ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่ส่งผลต่อการพัฒนามาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติของจังหวัดในเขตภาคกลาง. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9 ฉบับพิเศษ, 31-42.
รุ้งกานต์ พลายแก้ว และประภัสสร อักษรพันธ์. (2562). ผลของการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเทศบาลตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัด สุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 5(2), 233-248.
วริศรา สมเกียรติกุล. (2561). การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว: กรณีศึกษา ชุมชนตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 13(1), 47-63.
ศิลปวิชญ์ น้อยสมมิตร และโชติกา แก่นธิยา. (2562). การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนต่อนโยบายสาธารณะ. วารสารวิจยวิชาการ, 2(1), 101-116.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถนนจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2560). แผนปฏิบัติการการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” จังหวัดสุราษฎร์ธานี (ระยะ 1 ปี พ.ศ.2559 - 2560). http://www.surat-local.go.th/files/com_networknews/201703_8631e3c8410c607.pdf.
เอกลักษณ์ ธนเจริญพิศาล. (2554). ความตระหนักและการยอมรับการนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) มาใช้ในองค์การภาครัฐ: ศึกษากรณีสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Asma Begum Shila, Md. Reazul Haque, Mohammed Hossain Sarker & Syed Mohammad Aminur Rahman. (2016). The Efficacy of Citizen Participation in Environmental Conservation: Lesson From Two Contrasting Examples. European Journal of Earth and Environment, 3(2), 64-73.
Good, C. V. (1973). Dictionary of Education. 3rd ed. McGraw–Hill.
Ju Hyoung Han, Min Jae Lee & Yun-Seop Hwang. (2016). Tourists’ Environmentally Responsible Behavior in Response to Climate Change and Tourist Experiences in Nature-Based Tourism. Sustainability, MDPI, Open Access Journal, 8(7), 1-14.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.