จริยธรรมการวิจัย

จริยธรรมการตีพิมพ์บทความในวารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

วารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ให้ความสำคัญกับการรักษามาตรฐานจริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ ดังนั้นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์อย่างเคร่งครัด

หน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ

  1. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาและตรวจสอบบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์กับวารสารทุกบทความ โดยพิจารณาความสอดคล้องของเนื้อหาบทความกับกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร รวมถึงตรวจสอบคุณภาพบทความในกระบวนการประเมินคุณภาพบทความก่อนการตีพิมพ์
  2. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องอิงเหตุผลทางวิชาการเป็นหลักในการพิจารณาบทความ และไม่มีอคติต่อผู้นิพนธ์และบทความที่พิจารณาไม่ว่าด้วยกรณีใด รวมถึงสนับสนุนความถูกต้องทางวิชาการของบทความตีพิมพ์ในวารสาร
  3. มีการดำเนินการเพื่อรับรองคุณภาพของงานวิจัยที่ตีพิมพ์ โดยให้ความสำคัญต่อความใหม่ และความชัดเจนของบทความ ตลอดจนความเกี่ยวข้องกับขอบเขตของวารสาร
  4. จัดให้มีกระบวนการพิจารณาประเมินบทความจากผู้ประเมินบทความที่มีความชำนาญต่อเนื้อหาของบทความ รวมถึงมีระบบการปกปิดเป็นความลับในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาประเมิน และมีระบบปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ประเมินบทความ
  5. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่ว่าจะเพื่อประโยชน์ในเชิงธุรกิจหรือนำไปเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง
  6. บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบการคัดลอกผลงานผู้อี่นในบทความอย่างจริงจัง (Plagiarism) อย่างจริงจัง โดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้ และเป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการ
  7. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องไม่ปิดกั้น เปลี่ยนแปลง หรือแทรกแซงข้อมูลที่ใช้แลกเปลี่ยนระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและผู้นิพนธ์
  8. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนและผู้ทรงคุณวุฒิบทความแก่บุคคลอื่นๆ ในทุกกรณี
  9. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ของวารสารอย่างเคร่งครัด
  10. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องรักษามาตรฐานของวารสาร รวมถึงพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพและมีความทันสมัยเสมอ

หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เขียน

  1. บทความที่ผู้เขียนส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน รวมถึงไม่นำต้นฉบับที่ยังอยู่ในกระบวนการประเมินของวารสารไปส่งวารสารอื่น
  2. ผู้เขียนพึงกระทำตามขั้นตอนของวารสาร เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของเนื้อหาที่ได้นำมาตีพิมพ์เผยแพร่
  3. ผู้เขียนต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น และต้องมีการอ้างอิงทุกครั้งเมื่อนำผลงานของผู้อื่นมาอ้างอิงในเนื้อหาบทความของตนเอง
  4. ผู้เขียนต้องทำการอ้างอิงให้ถูกต้องทุกครั้งเมื่อนำผลงานของผู้อื่นมานำเสนอหรืออ้างอิงประกอบในเนื้อหาบทความของตนเอง และต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น
  5. ผู้เขียนต้องให้ความสำคัญกับรูปแบบการเขียนบทความตามที่วารสารกำหนดไว้ โดยเฉพาะรูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิง
  6. หากเป็นผลงานวิจัย ได้ขอจริยธรรมการวิจัยตามหลักการที่ถูกต้อง หากผลงานทางวิชาการของผู้เขียนเกี่ยวข้องกับการใช้สัตว์ ผู้เข้าร่วม หรืออาสาสมัคร หรือผลการวิจัยมีประเด็นที่เปราะบางต่อผู้ให้ข้อมูล ผู้นิพนธ์ต้องแนบหนังสือรับรองจริยธรรมจากคณะกรรมการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ทดลอง มาพร้อมต้นฉบับ
  7. ชื่อผู้เขียนที่ปรากฏในบทความต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในบทความนั้น ๆ จริง
  8. ผู้เขียนต้องยินยอมโอนลิขสิทธิ์ให้แก่วารสารก่อนการตีพิมพ์ และไม่นำผลงานไปเผยแพร่หรือตีพิมพ์กับแหล่งอื่น ๆ หลังจากที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์บทความแล้ว
  9. ข้อมูลที่นำเสนอในผลงาน ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดจากการศึกษาวิจัย ผู้เขียนต้องไม่บิดเบือน ปลอมแปลง หรือนำเสนอข้อมูลอันเป็นเท็จ

หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ประเมินบทความ

  1. ผู้ประเมินบทความต้องตระหนักว่าตนเองเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของบทความที่รับประเมินอย่างแท้จริง
  2. ผู้ประเมินต้องไม่คัดลอกเนื้อหาในบทความนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน
  3. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาระยะเวลาประเมินตามกรอบเวลาประเมินที่วารสารกำหนด รวมถึงไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความให้ผู้อื่นได้รับรู้
  4. ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ การพิจารณาคุณภาพของบทความต้องคำนึงถึงคุณภาพบทความเป็นหลัก และพิจารณาบนหลักการและเหตุผลทางวิชาการโดยปราศจากอคติหรือความขัดแย้งส่วนตัว
  5. ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลในบทความแก่บุคคลอื่น ๆ
  6. บทความที่กองบรรณาธิการจัดส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นผู้ประเมิน และเป็นบทความที่ผู้ทรงคุณวุฒิอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้เขียนเป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ผู้ทรงคุณวุฒิบทความควรแจ้งปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ