การส่งบทความ

วารสารนี้ยังไม่เปิดรับบทความ ในช่วงเวลานี้

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความนี้ไม่เคยได้รับการเผยแพร่หรือส่งเพื่อขอรับการพิจารณาในวารสารหรืองานประชุมวิชาการอื่น ๆ มาก่อน (สามารถเขียนรายละเอียดได้ในช่องข้อความถึงบรรณาธิการ)
  • บทความต้องมีการปรับตามแบบฟอร์มของวารสารและจัดส่งมาในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
  • ผู้เขียนมีการให้ URLs กรณีเอกสารที่อ้างอิงมีแหล่งที่มาจากอินเทอร์เน็ต
  • การอ้างอิงในเนื้อหา และเอกสารอ้างอิงท้ายบทความใช้ตามหลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างถูกต้องไม่มีปัญหาการลอกเลียนงานวิชาการ (Plagiarism) และได้แปลงเป็นภาษาอังกฤษตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์การลงรายการอ้างอิงสําหรับ Foreign Language แล้ว
  • หากท่านยกเลิกการส่งบทความลงวารสารนี้หลังจากผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาแล้ว ท่านยินดีที่จะเสียค่าปรับเป็นจำนวนเงิน 2,000 บาท
  • การส่งความ ต้องมีการระบุ ถึงชื่อผู้เขียน สังกัด และข้อมูลติดต่อ โดยสามารถส่งเข้า กล่องข้อความระบบวารสาร

คำแนะนำผู้แต่ง

วารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย

วารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัยเปิดรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ โดยบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์จะต้องไม่เป็นผลงานวิจัย/วิชาการที่เคยได้รับการเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน หรือไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ของวารสารอื่น บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสารฉบับนี้จะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนอย่างน้อย 2 ท่านต่อหนึ่งบทความ  กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง โดยมีข้อเสนอแนะในการส่งบทความดังนี้

ดาวน์โหลด template บทความ (docx)

การเตรียมต้นฉบับบทความ

ชื่อเรื่อง

ควรสั้นกะทัดรัดได้ใจความครอบคลุม ตรงกับวัตถุประสงค์และเนื้อเรื่อง (ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

ชื่อผู้เขียน

เฉพาะชื่อเท่านั้น ห้ามใส่ตำแหน่งทางวิชาการ หรือยศใดๆทั้งสิ้น ทั้งภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

เป็นร้อยแก้ว เขียนเฉพาะเนื้อหาที่สำคัญ ให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ วิธีการ ผลการศึกษาหรือข้อเสนอแนะ (อย่างย่อ) และต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ความยาวไม่เกิน 300 คำ)

คำสำคัญ (Keyword)

ควรเลือกคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบทความ ประมาณ 3-5 คำ ใช้ตัวอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทความที่เป็นภาษาอังกฤษมีเฉพาะคำสำคัญภาษาอังกฤษ 

บทนำ

อธิบายถึงความเป็นมา ความสำคัญของปัญหาที่ทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ของผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ สมมติฐานและขอบเขตของการวิจัย โดยต้องอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลด้วย

วัตถุประสงค์

บอกเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายที่นักวิจัยต้องการค้นคว้าหาข้อเท็จจริง  สิ่งที่ควรระวังในการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ ต้องเขียนสิ่งที่เป็นเป้าหมาย  มิใช่สิ่งที่เป็นวิธีการดำเนินงานวิจัย การเขียนต้องใช้ภาษาที่ง่าย สั้น กะทัดรัดและสื่อความได้แจ่มกระจ่าง

ระเบียบวิธีวิจัย

อธิบายขั้นตอนการวิจัย โดยกล่าวถึงแหล่งข้อมูล วิธีการรวบรวมข้อมูล วิธีการใช้เครื่องมือในการศึกษาหรือการวิจัย และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย

ผลการวิจัย

แสดงผลที่ได้จากการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

สรุปผล

นำผลการวิจัยมาสรุปโดยย่อ ให้เข้าใจง่าย ไม่ควรมีข้อมูลตัวเลขประกอบมาก

อภิปรายผล

อธิบายการสรุปผลว่าเป็นเช่นนี้เพราะอะไร และสอดคล้องหรือขัดแย้งกับเอกสารหรืองานวิจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องอย่างไร พร้อมอ้างอิงประกอบ

ข้อเสนอแนะ

อธิบายถึงการนำผลที่ได้จากการศึกษาไปใช้ประโยชน์ หรือข้อเสนอแนะปัญหาที่พบในการศึกษา
เพื่อนำไปใช้ในการศึกษาครั้งต่อไป

เอกสารอ้างอิง

(References)

ให้เขียนเอกสารอ้างอิงเฉพาะที่ได้อ้างอิงไว้ในตัวบทความนี้เท่านั้น โดยเขียนแบบแบบ APA ตามรูปแบบที่กำหนด และแปลเอกสารอ้างอิงที่เป็นภาษาไทยให้เป็นภาษาอังกฤษตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์การลงรายการอ้างอิงสําหรับ Foreign Language และใส่ไว้ในหัวข้อ References

 การส่งต้นฉบับ

1. ให้พิมพ์บทความลงบนหน้ากระดาษ ขนาด B5 (7.17”×10.12”) ระยะขอบ บน 1” ล่าง0.75” ภายนอก0.75” ภายใน0.75” โดยใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK

2.ให้พิมพ์บทความลงบนกระดาษ B5 โดยใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK

  • ชื่อเรื่อง ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK ตัวหนา ขนาด 18
  • ชื่อผู้ผู้วิจัย ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK  ขนาด 15
  • สังกัดของผู้วิจัยและE-mail ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK  ขนาด 12
  • หัวข้อหลัก ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK ตัวหนา ขนาด 14
  • เนื้อเรื่อง ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK  ขนาด 14

โดยมีเนื้อหาบทความประมาณ10-15หน้า 

3. ภาพประกอบ ควรแนบไฟล์ภาพต้นฉบับพร้อมเขียนคำอธิบายภาพ และควรเขียนหมายเลขกำกับภาพ เพื่อความถูกต้องและง่ายต่อการจัดเรียงข้อมูล

ตัวอย่างเช่น 

รูปภาพ

ภาพที่ 1 แสดง.....

4. ส่งบทความผ่านระบบ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/index เท่านั้น โดยดำเนินการสมัครสมาชิกและเข้าสู่ระบบของท่าน

แบบฟอร์มวารสาร Dowload

 

ตัวอย่างการอ้างอิง

การอ้างอิงในเนื้อหาใช้ระบบนาม-ปี

การอ้างอิงในเนื้อหา

ผู้แต่ง 1 คน

ชาวไทย

หน้าข้อความ : ชื่อ/สกุล/(ปีพิมพ์)  เช่น พรพรรณ จันทร์แดง (2557)

หลังข้อความ : (ชื่อ/สกุล,/ปีพิมพ์) เช่น (พรพรรณ จันทร์แดง, 2557)

ชาวต่างประเทศ

หน้าข้อความ : สกุล/(ปีพิมพ์) เช่น Bramwell (1993)

หลังข้อความ : (สกุล,/ปีพิมพ์) เช่น (Bramwell, 1993) 

ผู้แต่ง 2 คน

ชาวไทย

หน้าข้อความ : ชื่อ/สกุลคนที่ 1 และคนที่ 2/(ปีพิมพ์) เช่น  วราภรณ์ เชาว์วิศิษฐ และสุวลัย กลั่นความดี (2532)

หลังข้อความ : (ชื่อ/สกุลคนที่ 1 และคนที่ 2,/ปีพิมพ์) เช่น (วราภรณ์ เชาว์วิศิษฐ และสุวลัย กลั่นความดี, 2532)

ชาวต่างประเทศ

หน้าข้อความ : สกุลคนที่ 1/and/สกุลคนที่ 2/(ปีพิมพ์) เช่น Armstrong and Kotler (2015)

หลังข้อความ : (สกุลคนที่ 1,/ปีพิมพ์/&สกุลคนที่ 2,/ปีพิมพ์) เช่น (Armstrong & Kotler, 2015)

การเขียนรายการเอกสารอ้างอิง (References)

หนังสือทั่วไป

ผู้แต่ง 1 คน

ตัวอย่างเช่น

สกุล,/อักษรย่อชื่อ./(ปีพิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

Kotler, P. (2000). Marketing management (10th ed.). Boston: Prentice-Hall.

Lanjananda, P. (2005). Principles of marketing. Bangkok: Thammasarn. (in Thai)

หมายเหตุ กรณีที่ไม่มีปีพิมพ์เผยแพร่ปรากฏ ให้ใส่ (n.d.)

ผู้แต่ง 2 คน

ตัวอย่างเช่น 

สกุล,/อักษรย่อชื่อคนที่ 1,/ & สกุล,/อักษรย่อชื่อคนที่ 2./(ปีพิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

Armstrong, G., & Kotler, P. (2015). Marketing: An introduction (12th ed). New Jersey: Pearson Education.

Lawless, H. T., & Heymann, H. (2010). Sensory evaluation of food: Principles and practices (2nd ed.).
New York: Science+Business Media.

บทความวารสาร

สกุล,/อักษรย่อชื่อ./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/เลขปีที่(เลขฉบับที่),/เลขหน้า.

Chamnian, M. (2019). Community identity communication for tourism promotion. Journal of Management and Development Ubon Ratchathani Rajabhat University, 6(1), 235-256. (in Thai)

Joshi, A., Kale, S., Chandel, S., & Pal, D. K. (2015). Likert scale: Explored and explained. British Journal of Applied Science & Technology, 7(4), 396–403.

Yunyongkasemsuk, R. (2013). Symbolic interaction theory and the explanation of social phenomena from actor perspective. Journal of Politics Administration and Law, 5(2), 69-89. (in Thai)

หมายเหตุ ชื่อบทความ จะใช้หลักเกณฑ์การเขียนรูปแบบเดียวกับชื่อเรื่องหนังสือทั่วไป

ชื่อวารสารให้เขียนชื่อเต็มของวารสารนั้น และพิมพ์ตัวแรกของคำตัวใหญ่ ยกเว้น คำบุพบทให้พิมพ์ตัวเล็ก เช่น of, and, the, an

ข้อมูลจากเว็บไซต์

สกุล,/อักษรย่อชื่อ หรือ ชื่อหน่วยงานสังกัดนั้น./(ปี)./ชื่อบทความ./Retrieved เดือน วัน, ปี, from/URL.

Janejetsada, S. (2016). Consumer behavior and marketing channels for different generations.
Retrieved June 10, 2020, from https://www.thaitradeusa.com. (in Thai)

United Nation. (2020). World population ageing 2020 highlights. Retrieved March 18, 2021, from https://www.un.org.development.desa.pd/files/files/documents/2020/Sep/un_pop_20.

หมายเหตุ Retrieved หมายถึง “สืบค้นเมื่อ”

หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เลขที่ 1 ถนนอู่ทองนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300  โทรศัพท์ 0 2160 1343-5  โทรสาร 0 2160 1341 Email : [email protected]

บทความวิจัย

Policy

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและอีเมลของท่านที่กรอกลงในเว็บไซต์วารสารนี้จะไม่นำไปใช้ประโยชน์อื่นนอกเหนือจากงานวารสารและไม่เปิดเผยให้กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดทราบ