การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการใช้คำปรากฏร่วมภาษาจีนของนักศึกษาไทย กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

ผู้แต่ง

  • พิมพร วัฒนากมลกุล สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์ข้อผิดพลาด, คำปรากฏร่วมภาษาจีน, นักศึกษาไทย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษารูปแบบข้อผิดพลาดในการใช้คำปรากฏร่วมภาษาจีน และวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดข้อผิดพลาดใน การใช้คำ และนำผลการวิจัยมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาด้านการสอนคำปรากฏร่วมภาษาจีน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนชั้นปีที่ 3 และ 4 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ จำนวน 61 คน เลือกแบบ เจาะจง สำหรับการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนตัว การทดสอบความรู้ความเข้าใจในการใช้คำปรากฏร่วม และศึกษาความยากง่ายของคำปรากฏร่วม จาก ผลการวิจัย พบว่า ข้อผิดพลาดในการใช้คำปรากฏร่วมภาษาจีนของผู้เรียนชาวไทย ประกอบด้วย 3 ประเภท ได้แก่ ข้อผิดพลาดทางอรรถศาสตร์(语义偏误)ข้อผิดพลาดในการใช้คำประกอบร่วมกัน( 搭配偏误) และข้อผิดพลาดในการใช้ ชนิดคำ(词性误用偏误) ข้อผิดพลาดที่เกิดมากที่สุด คือ ข้อผิดพลาดทางอรรถศาสตร์ (语义偏误)ในส่วนของการแสดง ความหมายไม่สอดคล้องกันกับบริบท คิดเป็นร้อยละ 39.44 รองลงมาคือ ข้อผิดพลาดในการใช้คำประกอบร่วมกัน(搭配偏 误) ในส่วนของการประกอบกันทางความหมายไม่เหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 24.59 และข้อผิดพลาดทางอรรถศาสตร์( 语义 偏误) คือ ผิดพลาดในคำพ้องความหมายหรือความหมายใกล้เคียง คิดเป็นร้อยละ 21.31 สำหรับข้อผิดพลาดที่น้อยที่สุด ได้แก่ ข้อผิดพลาดในการใช้ชนิดคำ(词性误用偏误) คิดเป็นร้อยละ 1.64 สาเหตุหลักของการเกิดข้อผิดพลาดในการใช้คำ ปรากฏร่วม มี 4 สาเหตุ (1) การนำภาษาแม่และภาษาเป้าหมายมาแปลตัวต่อตัวอย่างง่าย (2) ผู้เรียนมีกลวิธีการเรียนรู้คำ ปรากฏร่วมที่ไม่คุ้นเคย (3) ผู้สอนอธิบายคำปรากฏร่วมไม่เพียงพอ และ(4) ด้านตำราและอุปกรณ์การเรียนการสอน ทั้งนี้จาก ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น จะได้นำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขการจัดการเรียนการสอนคำปรากฏร่วมภาษาจีนของชาว ไทยต่อไปในอนาคต

References

Chang Jingyu. (1985). A Brief Discussion on Same morpheme words. Language Teaching and Linguistic Studies, 2, 50-58.

Corder, S.P. (1967). The significance of learners’ errors. International review of Applied Linguistics, 5, 161-170

Ellis, R. (1985). Understanding second language acquisition. Oxford: Oxford University Press.

Jiang Xin. (2000). An exploratory research of Teaching Chinese as a Second Language of learning strategies. Language Teaching and Linguistic Studies, (01) 61-68.

Jing Zheng. (2012). An Analysis of Chinese lexical errors and learning strategies among Thai students. Master’s thesis, Minzu University of China.

Li Yamei. (2005). On the Chinese Vocabulary Learning Strategies of Thai Students. Master’s thesis, Yunnan Normal University.

Downloads