การจัดสวัสดิการให้กับนักกีฬาโอลิมปิกของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • รุ่งวิวรรณ สิงพรม คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อำพร ศรียาภัย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุพิตร สมาหิโต คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การจัดสวัสดิการ, นักกีฬาโอลิมปิก, แนวทาง

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้ศึกษาสถานภาพความเป็นอยู่ปัจจุบันของนักกีฬาโอลิมปิก เพื่อจัดทำแนวทางในการจัดสวัสดิการให้กับนักกีฬาโอลิมปิกของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นผู้บริหารระดับนโยบาย ของสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยที่มีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และองค์กรกีฬาที่เกี่ยวข้องกับการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก จำนวน 20 คน และนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ จำนวน 77 คน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยมีลักษณะเป็นอัตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 4 ระดับ ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยการคำนวณค่าความสอดคล้อง IOC (Index of Item Objective Congruence) เพื่อหาค่าความแม่นตรงเชิงเนื้อหา (content validity) และหาค่าความเชื่อมั่น (reliability) โดยวิธีของครอนบาช (Cronbach' s Alpha Correlation Coefficient) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติค่าความถี่ (frequency) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และค่าร้อยละ (percentage) ผลการวิจัยพบว่า นักกีฬาโอลิมปิกไทยยังไม่มีความมั่นคงในชีวิตเท่าที่่ควร มีความต้องการการส่งเสริมสวัสดิการเพื่อบำรุงขวัญกำลังใจของนักกีฬาและสร้างความมั่นคงในชีวิต ทั้งผู้บริหารองค์กรกีฬาและนักกีฬามีความต้องการสวัสดิการสำหรับนักกีฬาโอลิมปิกอยู่ในระดับมาก ไปในทิศทางเดียวกันทั้ง 5 ด้าน ตามลำดับความสำคัญ คือ ด้านอาชีพ ด้านการศึกษา ด้านความมั่นคงและปลอดภัย ด้านสุขภาพอนามัย และด้านการให้คำปรึกษาและแนะนำ สำหรับแนวทางในการจัดสวัสดิการให้นักกีฬาโอลิมปิกของประเทศไทยทั้ง 5 ด้าน เพื่อเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลเป็นรูปธรรม รัฐบาลควรจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบวางนโยบายและแนวทางการปฏิบัติในการจัดสวัสดิการให้กับนักกีฬาโอลิมปิกโดยตรง และมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการให้อาชีพที่มั่นคงแก่นักกีฬาภายหลังเลิกเล่นกีฬา ดูแลเรื่องการประกันสุขภาพ สร้างความมั่นคงและความปลอดภัย เพื่อให้นักกีฬาโอลิมปิกไทยได้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข มีคุณภาพ โดยไม่เป็นภาระของครอบครัวของสังคมและของประเทศชาติ

References

Bridgman, T., Cummings, S., & Ballard, J. (2019). Who built Maslow’s pyramid? A history of the creation of management studies’ most famous symbol and its implications for management education. Academy of Management Learning & Education, 18(1), 81-98.

Gates, L. B., Hughes, A., & Kim, D. H. (2015). Influence of staff attitudes and capacity on the readiness to adopt a career development and employment approach to services in child welfare systems. Journal of Public Child Welfare, 9(4), 323-340.

Henry, I. (2013). Athlete development, athlete rights and athlete welfare: A European Union perspective. International Journal of the History of Sport, 30(4), 356-373.

Heprakhon, P., & Naipinit, A. (2017). The relationship between work welfare and performance of employees Government Housing Bank of the North-Eastern. MBA-KKU Journal, 10(1), 42-58. (in Thai)

International Olympic Committee. (2005). Athletes’ kit IOC Athlete career programme. Lausanne: Switzerland.

International Olympic Committee. (2015). The IOC annual report: Credibility, Sustainability and Youth. Lausanne: Switzerland.

Khamhom, R. (2014). Social welfare and Thai society (4th ed.). Bangkok: Thammasat University Press. (in Thai)

Ministry of Social Development and Human Security. (2007). Regulations of the Ministry of Social Development and Human Security: The payment of subsidies to help people affected by social problems in an emergency B.E. 2547. Retrieved January 9, 2021, from http://law.m-society.go.th. (in Thai)

Mitic, D. (2009). The role of university sport in education and society. In FISU Conference 25th Universiade Proceedings (pp. 147-149). University of Belgrade, Serbia.

Ngammongkolwong, S., & Nakharacruangsak, S. (2017). current situation and demands of information system for giving advice to undergraduate students of private universities of Thailand. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 11(24), 81-89. (in Thai)

Panichphan, S. (1991). Fundamentals of social work. Bangkok: Thammasat University Press. (in Thai)

Peachpunpisal, C. (2015). Caregiver in Parkinson’s disease patient. Journal of Phrapokklao Nursing College, 26, 111-116. (in Thai)

Petchsawang, P., Srisuk, S., Kumpalanuwat, D., & Veeravutthiphol, S. (2017). Managing employee benefits in organizations. Business Review Journal, 9(2), 54-67. (in Thai)

Rogge, J. (2002). International Athletic Conference 2002. Lausanne: Switzerland.

Siricha, W. (2020). Health status and expectation to the case policy for elderly of the elderly in Songkhla Province. Academic Journal of Mahasarakham Provincial Public Health Office, 4(8), 48-60. (in Thai)

Srisa-san, B. (2017). Preliminary research (10th ed.). Bangkok: Suveeriyasan. (in Thai)

Sriyabyaya, A. (2014). Sports management in the educational institute for the development of national sports (Doctoral dissertation). Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)

Sriyabyaya, A., Samahito, S., & Swatdikiat, P. (2015). Managing sport in educational institutes for national sports development. ABAC Journal, 35(2), 32-46.

Sutathon, B. (2014). Opinions on welfare of employees of small Tannery industry at 30th km. Sukumvit Road Samut Prakan Province (Master’s thesis). Dhonburi Rajabhat University, Bangkok. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21.12.2021