การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กจังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • สุรีย์พร เพ็งเลีย ดอร์ดูนู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ภาวิดา มหาวงค์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, โรงเรียนขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดสุโขทัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดสุโขทัย เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็นเครื่องมือทดลอง ได้แก่ รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับโรงเรียนโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดสุโขทัยประกอบด้วย หลักการหรือคำนิยาม จุดมุ่งหมาย ขั้นตอนการประยุกต์ใช้ และเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบทดสอบความเข้าใจชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียนโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 2 ท่าน ครูผู้สอนจำนวน 18 ท่านของโรงเรียนบ้านดงเดือยและโรงเรียนบ้านดอนสำโรงตำบลดงเดือย อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัยคัดเลือกด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที (t-test Independent) ผลการศึกษาการใช้รูปแบบฯ ตามตัวชี้วัดที่ 1 การทดสอบความรู้เกี่ยวกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของบุคคลากรโรงเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.15 (S.D.=.89) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนของบุคลากรก่อนและหลังการใช้รูปแบบฯ พบว่า คะแนนหลังการใช้รูปแบบฯ สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวชี้วัดที่ 2 การประเมินวงจรชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก พบว่า วงจรชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในมิติภาวะผู้นำร่วมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.84 มิติการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 มิติการมีวิสัยทัศน์ร่วมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.63 มิติการทำงานเป็นทีมแบบร่วมแรงร่วมใจและมิติสภาพแวดล้อมเชิงบวกมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.56 ตามลำดับ ตัวชี้วัดที่ 3 การประเมินการสร้างวัฒนธรรมแห่งกัลยาณมิตร พบว่า วัฒนธรรมแห่งกัลยาณมิตรในมิติการสนับสนุนจากผู้นำมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 มิติการชอบในการริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89 มิติความไว้วางใจและความนับถือมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 มิติกัลยาณมิตรทางวิชาการมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.66 ตามลำดับ
สรุปได้ว่า การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดสุโขทัยมีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการได้แก่ หลักการและแนวคิด จุดมุ่งหมาย วงจรชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ขั้นตอนและกิจกรรม และการสะท้อนผลหรือข้อมูลย้อนกลับ มีตัวชี้วัดคุณภาพของรูปแบบ 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของบุคลากร วงจรชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 5 มิติ และวัฒนธรรมแห่งกัลยาณมิตร 4 มิติ ถือเป็นกระบวนการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเป็นมืออาชีพ มีมาตรฐานวิชาชีพและมีจิตวิญญาณความเป็นครู มีการปฏิบัติหน้าที่สอดคล้องกับบริบทความต้องการของท้องถิ่น เกิดความตระหนักถึงคุณค่าของตนเอง ริเริ่มการประยุกต์ใช้ของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นเครื่องมือในการยกระดับศักยภาพการจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

References

National Strategy Drafting Act Subcommittee (2560). The 20-Year National Strategy. Bangkok: The Secretariat of The
Prime Minister
Manit Asanok and Chawalit Chookampaeng. (2560). Coaching and Mentoring Approaches in Teacher Professional
Development by Using Video for Enhancing Teaching Competency in Schools. Journal of Educational Measurement Mahasarakham University, 23(2), 123-137.
Chutima Rukbanglaem, Ekarin Sungtong, Chaowlit Kerdthip and Chidchanok Churngchow (2559). Ethical
Leadership: The PowerDriven Force to Leadership in Educational Institute. Princess of Naradhivas University Journal, 8(1), 168-181.
Choochat Puangsomjit. (2558). Professional Learning Community. STOU Education Journal, 10, 1: 34-41.
Punya Khampaya. (2560). t-test. Bureau of Laboratory Personnel Development: Department of Science Service.
Retrieved Online From http://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_knowledge/blpd -9-2560-t_test.pdf
Prawase Wasi. (2554). Contemplative Education. Bangkok: Contemplative Education Center
Mahidol University.
Pranee Onsri. (2557). Contemplative Education: Education for Human Development in 21st century. Journal of The
Royal Thai Army Nurses, 15(1), 7-11.
Rattana Buosonte. (2552).Qualitative research in education, 3th, Bangkok: Khansamai Publication
Rattana Buosonte. (2560). Participatory Action Research in Education. Retrieved Online From
http://www.rattanabb.com/html/Re271260.pdf
Waraporn Boonchieng. (2558). Participatory Action Research-PAR. Retrieved Online From
http://www.crc.ac.th/2015/pdf/5.1.5-8-Par-.pdf
Woralak Chookamnerd, Ekkarin Sungtong and Chawalit Kerdtip. (2557). A Model of a Professional Learning
Community of Teachers Toward 21st Century Learning of Schools in Thailand. Hatyai Academic Journal,
12(2), 123-134.
Wichian Chaibang. (2554). Teachership : Lamplaimat Pattana School. Buriram: Lamplaimat Pattana School.
Darling-Hammond, L. (1999). Teacher quality and student achievement: A review of state
policy evidence. Seattle, WA: Center for the Study of Teaching and Policy,
University of Washington.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30.06.2020