การพัฒนากระบวนการท่องเท่ียวเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษาชุมชนบ้านดงเย็น อาเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ณิศิรา กายราศ

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์, ลาวครั่ง, อู่ทอง, สุพรรณบุรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเร่ือง “การพัฒนากระบวนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษา ชุมชนบ้านดงเย็น อาเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผสมผสานกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีผู้ให้ข้อมูล และเข้าร่วมปฏิบัติการในการวิจัย จานวน 20 คนจากผู้ประกอบการโรงงานในพื้นที่ สมาชิกกลุ่มวนเกษตร บ้านดงเย็น เด็กนักเรียน และครูภูมิปัญญา งานวิจัยน้ีมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิง สร้างสรรค์ของชุมชนบ้านดงเย็น ผ่านการบูรณาการแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และภูมิปัญญาการ ดูแลสุขภาพ ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนบ้านดงเย็นได้ใช้ประโยชน์อย่างสร้างสรรค์จากทรัพยากรธรรมชาติ ผลผลิต ทางการเกษตร และทุนวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธ์ุลาวครั่งมาสร้างนวัตกรรมสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว ในแง่นี้ชุมชนจึงสามารถใช้การท่องเท่ียวเป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาท่ีชุมชนเผชิญอยู่ ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตทาง การเกษตรล้นตลาด และผลกระทบจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ทาให้เกิดมลพิษทางอากาศ เป็นต้น การศึกษานี้จึง สรุปได้ว่ารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนบ้านดงเย็น ประกอบด้วยกระบวนการแบบมีส่วนร่วมใน 4 ขั้นตอนได้แก่ 1) การระดมสมองและการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการด้านการท่องเท่ียว 2) การทดสอบ ผลิตภัณฑ์และบริการด้านการท่องเที่ยว 3) การสร้างปฏิสัมพันธ์ และขยายการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยวใน กิจกรรมการท่องเที่ยวแบบสร้างสรรค์ และ 4) การพัฒนาสินค้าและบริการเชิงสร้างสรรค์สาหรับตลาดในวงกว้าง

References

Creative Cities Network.(2006). Toward Sustainable Strategies for Creative Tourism. Discussion Report of the Planning Meeting for 2008 International Conference on Creative Tourism;2006 Oct25-27; Santa Fe. New Mexico: UNESSCO; 1-7.
Phengkona, J. (2011). Creativity-Based Learning. Retrieved from http://www.chumphon2.mju.ac.th/km/?p=389
Richards, G., & Marques, L.(2012). Exploring creative tourism: Editors’ introduction. Journal of Tourism Consumption and Practice, 4(2), 1–11.
Suphanburi Provincial Administrative Organization. (2018). Vision and Strategic Development Plan for Suhpanburi Province (2018-2021). Retrieved from http://www.suphanburi.go.th/suphan/Vision.php
Termpittayapaisith, A. (2011). Thailand’s Creative Economy. Retrieved from http://www.nesdb.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=2774
Thairath. (2016). Demanding the National Council for Peace and Order to order Sugar Factory not to accept burned sugarcane. Retrieved from https://www.thairath.co.th/content/565309
Tiewpakklang.com. (2011) U-Thong Tourism “U-Thong—Hub of civilization in the Suvarnabhumi:Suphanburi province 2013” Retrieved from https://travel.mthai.com/region/ central/72056.html
Vide, R.K.. (2013).Promoting Sustainability of Tourism by Creative Tourism Development: How far is Slovenia.Innovative Issues and Approaches in Social Sciences. 6(1): 77-102.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01.01.2022