การใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการกำกับอารมณ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • กาญจนา วงค์ษา สาขาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ชิดชไม วิสุตกุล สาขาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรมแนะแนว, การกำกับอารมณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการกำกับอารมณ์                   ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้ได้ตามเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบการกำกับอารมณ์ของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วย              ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการกำกับอารมณ์ เปรียบเทียบพัฒนาการการกำกับอารมณ์ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการกำกับอารมณ์และกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวปกติและศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ฯ                กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 62 คน จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1.ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการกำกับอารมณ์ 2.แผนการจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการกำกับอารมณ์ 3.แบบวัดการกำกับอารมณ์ 4.แบบสังเกตพฤติกรรมการกำกับอารมณ์ 5.แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test for Independent Samples

ผลการวิจัยพบว่า ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการกำกับอารมณ์มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน คือ 81.23/83.70   กลุ่มทดลองมีการกำกับอารมณ์หลังการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการกำกับอารมณ์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 และในกลุ่มทดลองที่เรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการกำกับอารมณ์มีพัฒนาการการกำกับอารมณ์ สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนรู้โดยใช้กิจกรรมแนะแนวแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

Department of Juvenile Observation and Protection. (2020). Annual Report 2020. Retrieved from http://www.djop.go.th/Djop/index.php (In Thai)

Dingle, G. A., Hodges, J., & Kunde, A. (2016). Tuned in emotion regulation program using music listening: effectiveness for adolescents in educational settings. Frontiers in Psychology, 7(1), 1-10.

Gross*, J. J., & Thompson, R. A. (2007). Emotion Regulation: Conceptual foundation. Handbook of Emotion Regulation, 3, 24.

Gross, J. (2002). Emotion regulation: Affective, Cognitive, and social consequences. Psychophysiology, 39(3), 281-291.

Gullone, E., & Taffe, J. (2011). The Emotion Regulation Questionnaire for Children and Adolescents (ERQ–CA): A Psychometric Evaluation. Psychological Assessment, 24(2), 409-417.

Khammanee, T. (2006). 14 Teaching Methods for Professional Teachers (8th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University. (In Thai).

Lertsrimonkol, P. (2018). Effects of Emotional Regulation Training Program on Teamwork Skills of Sixth Grade Students. Degree of Master of Education (Education Psychology) Faculty of Educational, Chulalongkorn University (In Thai).

Ministry of Education. (2010). Guidelines for Organizing Student Development Activity According to The Basic Education Core Curriculum B.E.2551 (2nd ed.). Bangkok: Cooperative Union Printing (In Thai).

Phromwong, C. (2013). Developmental Testing of Media and Instructional Package. Silpakorn Educational Research Journal, 5(1), 7-20 (in Thai).

Suandusitpoll. (2017). Violence in Youth. Retrieved June 15, 2022, from https://suandusitpoll.dusit.ac.th. (In Thai)

Thanomthin, K. (2010). A Study and Development of Guidance Activities Package to Enhance Self-Control in English Study of Pratom 6 Students. Degree of Master Education (Guidance and Counseling Psychology) Faculty of Education, Srinakharinwirot University (In Thai).

Thompson, R. A. (1994). Emotion Regulation: A Them in Search of Definition. Monographs of Society for Research in Child Development, 59(2-3), 25-52.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27.12.2022