การสืบทอดศิลปะการแสดงหนังตะลุงในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม, หนังตะลุง, สุราษฎร์ธานีบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสืบทอดศิลปะการแสดงหนังตะลุง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้และแนวคิดเกี่ยวกับศิลปะการแสดงหนังตะลุงเป็นกรอบในการวิจัยผ่านกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล จาก 3 วิธี คือ
การสังเกต การสัมภาษณ์ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้สืบทอด กลุ่มภาครัฐ และกลุ่มภาคเอกชน ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับการสืบทอดศิลปะการแสดงหนังตะลุง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์เชิงพรรณนาโวหารโดยใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเป็นกรอบในการวิเคราะห์ข้อมูล
จากการศึกษาพบว่าศิลปะการแสดงหนังตะลุง จังหวัดสุราษฎร์ธานี มี 2 ลักษณะหลัก
1) การสืบทอดผ่านระบบเครือญาติ และ 2) การสืบทอดผ่านครูสู่ศิษย์ โดยส่วนใหญ่มีการสืบทอดผ่านระบบเครือญาติจากรุ่นสู่รุ่นผ่านการฝึกหัดและฝึกฝนจากคนในครอบครัว เช่น จากปู่สู่พ่อ จากพ่อสู่ลูก จากพี่สู่น้อง เป็นต้น และการสืบทอดจากครูสู่ศิษย์ เป็นการสืบทอดจากครู อาจารย์ หรือปราชญ์ชาวบ้านผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับหนังตะลุงผ่านสถานศึกษา สมาคม ชมรม และหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีบทบาทในการสงวนรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมศิลปะการแสดงหนังตะลุงเพื่อให้เยาวชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้เกิดความตระหนักและให้ความสำคัญในการสืบทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมศิลปะการแสดงหนังตะลุง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผ่านการเข้าร่วมโครงการ กิจกรรม และการจัดฝึกอบรม เป็นต้น
References
Department of Cultural Promotion. (2017). Operating Manual the Cultural Heritage According to the Promotion and Preservation of Cultural Intangible Heritage Act , B.E. 2016 (2nd ed.). Bangkok: WVO officer of printing mall (In Thai).
Jantarana, D. (2022, October 17). Shadow Puppet. (P. Nuankhao, Interviewer)
Kaewchan, P. (2022, October 16). Shadow puppet. (P. Nuankhao, Interviewer)
Kamdar, J. (2022, October 16). Club presdent Maledphanbanturg. (P. Nuankhao, Interviewer)
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center Prince of Songkhla University. (2018, March 13). Shadow play. Retrieved December 12, 2022, from https://clib.psu.ac.th/
southerninfo/content/2/50385f2c (In Thai)
Mueangmaen, T. (2022, October 12). Teacher, Bansaikam School. (P. Nuankhao, Interviewer)
Nakhon Si Thammarat College of Dramatic Arts. (2019). Knowledge Management of Shadow Puppet: A case study of Mr. Sumol Sakkaew. Nakhon Si Thammarat: Nakhon Si Thammarat College of Dramatic Arts (In Thai).
Nerngchamnong, K. (2016). Intangibie Cultural Heritage Management in The Context of Thailand. Journal of Educational Studies, 10(2), 1-12 (In Thai).
Petkaew, C. (2005). Nang Talung in Thailand. Surat Thani: Udomlarp (In Thai).
Phetsri, R. (2022, October 14). Musician. (P. Nuankhao, Interviewer)
Pongkaew, T. (2022, October 15). Shadow puppet. (P. Nuankhao, Interviewer)
Promtape, O. (2010). Learning of Shadow Players for Their Existence of Shadow Plays in Modern Society. Princess of Naradhiwas University Journal, 2(1), 42-43 (In Thai).
Thepharod, T. (2022, October 15). Club member Numthepsin. (P. Nuankhao, Interviewer)
Thongthod, T. (2015). Study Procedure Applying the Property of the Film Artist National Suchart subsin with the Development of Local Communitie. Retrieved November 29, 2022, from https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/310826 (In Thai)
Unesco. (2003, October 17). Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage. Retrieved October 9, 2022, from http://unesdoc.unesco.org/images/0013/001325/132540e.pdf
Wongmek, S. (2015). Music for Shadow Puppet Case Study on Nang Rungfah Sangtong Muang District, Nakhon Si Thammarat. Asian Journal of Arts and Culture, 14(2), 123-139 (In Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว