การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์จากเศษผ้าเหลือใช้ด้วยเทคนิคการเคลือบผิวผ้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเย็บผ้าและศิลปะประดิษฐ์ ตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์ อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
คำสำคัญ:
ดอกไม้ประดิษฐ์, เศษผ้าเหลือใช้, เทคนิคการเคลือบผิวผ้าบทคัดย่อ
งานวิจัย เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์จากเศษผ้าเหลือใช้ด้วยเทคนิคการเคลือบผิวผ้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเย็บผ้าและศิลปะประดิษฐ์ ตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์ อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเทคนิคการเคลือบผิวเศษผ้าเหลือใช้จากกระบวนการตัดเย็บ 2) เพื่อการทดสอบความต้านทานของสารเคลือบผิวบนเศษผ้าเหลือใช้เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์ 3) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์จากเศษผ้าเหลือใช้ด้วยเทคนิคการเคลือบผิวผ้า
ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาวิธีการเคลือบผิวผ้าของสูตรสารเคลือบผ้าด้วยเจลาติน พบว่า สูตรที่ 3 มีความเหมาะสมมากที่สุด (ร้อยละ 60) จึงได้นำสูตรที่ 3 ซึ่งเป็นสารเคลือบที่สามารถหาได้ทั่วไป และมีความเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์ ช่วยในการเพิ่มความทนทาน ขึ้นรูปผลิตภัณฑ์และเพิ่มอายุการใช้งานของดอกไม้ประดิษฐ์ จากการศึกษาเทคนิควิธีการเคลือบผิวผ้า พบว่าวิธีการฉีดสเปรย์พ่น มีความเหมาะสมมากที่สุด (ร้อยละ 60 จึงได้นำวิธีการฉีดสเปรย์พ่น มาใช้กับผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์ เนื่องจากสะดวกต่อการใช้งานเพื่อป้องกันมลภาวะต่างๆ นอกจากนี้สารเคลือบผิวยังช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีความแข็งแรงขึ้น ทนทาน และอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ซึ่งตรงกับการทดสอบวิเคราะห์ความสะท้อนน้ำผ้า พบว่าการเคลือบโดยวิธีการฉีดสเปรย์พ่น มีผลการทดสอบอยู่ในระดับ 3 คือผิวผ้าด้านหน้า เปียกเฉพาะบริเวณที่ถูกน้ำพ่น จากนั้นให้ผู้เชี่ยวชาญเลือกดอกไม้ที่เหมาะสมของ ผ้าฝ้าย ผ้าหม้อฮ่อม และผ้าจกสุโขทัยสำหรับนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์จากเศษผ้าเหลือใช้ด้วยเทคนิคการเคลือบผิวผ้า พบว่า ลักษณะดอกที่เหมาะสมมากที่สุด ได้แก่ ดอกไฮเดรนเยีย ดอกทิวลิป และดอกกล้วยไม้ฟาแลน (ร้อยละ 80 เท่ากัน) รองลงมา ได้แก่ ดอกกล้วยไม้แวนด้า และดอกบัวหลวง (ร้อยละ 60 เท่ากัน)
References
Bunyika, P. (2016). Finishing decoration reflecting paper water from sessile bark for handicraft products . Pathumthani: Master's thesis, Faculty of Home Economics Technology, University of technology Rajamangala Thanyaburi (In Thai).
Chaikanbang, C. (2004). Come and ask for community business case study: “Fai Mai Ancient Bamboo” Kalasin network . (In Thai).
Chaowang, S. (2009). Application of folk wisdom in the development of commercial wicker Nakhon Ratchasima Province. Mahasarakham: Master of Arts Thesis Cultural Sciences Mahasarakham University. (In Thai).
Chongram, W. (2011). Design and development of artificial flower packaging from mulberry paper and para rubber to transport Artificial flower handicraft group made from mulberry paper and para rubber, Klantha sub-district, Muang district, Changburiram province . (In Thai).
Yingcharoen, S. (2002). Artificial flowers. Bangkok: Dan Suttha Printing House (In Thai).
Yomana, J. (2011). The Effects of Teaching with Historical Methods on Learning Achievement and Critical Thinking Ability on Phuket Local History for Mathayomsuksa 4 Students at Muang Thalang School Phuket. (In Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว