แนวทางการสร้างความยั่งยืนในการ พัฒนาชุมชนไทยภายใต้แนวความคิด เศรษฐกิจพอเพียง

ผู้แต่ง

  • นรีนุช ดำรงชัย คณะภาษาและการสื่อสาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

การจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน, การพัฒนาที่ยั่งยืน, การสื่อสารเพื่อการพัฒนา, เศรษฐกิจ พอเพียง, วงจรแห่งศรัทธา

บทคัดย่อ

ภายใต้ความแปรปรวนและภัยธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมี ประสิทธิภาพเป็นปัจจัยสำคัญในการนำไปสู่การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน งานวิจัยชิ้นนี้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพ โดยเน้นการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม จากชุมชน 3 แห่ง ที่ประสบความสำเร็จทั้งด้านของการพัฒนาชุมชนและการบริหารจัดการทรัพยากรนํ้า ได้แก่ ชุมชนดงขี้เหล็ก จังหวัดปราจีนบุรี ชุมชนภูถํ้าภูกระแต จังหวัดขอนแก่น และชุมชนบ้านลิ่มทอง จังหวัดบุรีรัมย์ จากการวิเคราะห์ พบว่า “วงจรแห่งศรัทธา” คือ จุดเริ่มต้นของการเกิดกระบวนการอันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และมี 4 องค์ ประกอบที่จะนำพาชุมชนไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนา ได้แก่ การมีผู้นำที่ดีและเข้มแข็ง การมีแนวทางแก้ไข ปัญหาและแนวความคิดในการพัฒนาที่เหมาะสม การมีรูปแบบการสื่อสารเพื่อการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ และการมีความใส่ใจและมุ่งมั่นกับการบริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ในกระบวนการ ขับเคลื่อนจำเป็นต้องมี “ความตระหนัก” ในสภาพปัญหาของชุมชน อันจะนำไปสู่การปฏิบัติโดยการนำ “ความรู้” จากกระบวนการในการเรียนรู้และความคิด ที่เน้นให้ความสำคัญกับวิถีของชุมชนอย่างแท้จริงไปปฏิบัติ จนเกิดเป็นพลังความ “ศรัทธา” ที่จะช่วยในการหล่อเลี้ยงวงจรในการขับเคลื่อนชุมชนให้เกิดขึ้นอย่างไม่สิ้นสุด

References

Bergsteiner, H. and Dharmapiya, P. (2016). “The Sufficiency Economy Philosophy Process.” In Avery, G.C. & Bergsteiner, H. (Eds). Sufficiency Thinking: Thailand’s Gift to an Unsustainable World (pp. 32-53). Sydney: Allen & Unwin.

Charoensilp-oran, C. (1999). Development Discourse. Bangkok: Kledthai. (in Thai)

Hydro and Agro Informatics Institute. (2017). Community Natural Water Management Museum Inspired by the King’s Initiative. Bangkok: Ministry of Science and Technology. (in Thai)

Melkote, S.R. (2003). “Theories of Development Communication”. In M. Bella (Eds.), International and Development Communication: A 21st Century Perspective (pp.129-146). Sage Publications: California.

Mody, Bella. (2003). “Development Communication”. In M. Bella (Eds.), International and Development Communication: A 21st Century Perspective (pp.125-146). Sage Publications: California.

Office of the Royal Development Projects Board. (2007). Sufficiency Economy, the philosophy for life. Bangkok. (in Thai)

Office of the Royal Development Projects Board. (2010). The King’s Working Philosophy. Bangkok. (in Thai)

Phongpit, S. (2007). Sufficiency Economy (for lecturers). Bangkok: Phalangpunya. (in Thai)

Rifkin, S.B. (1996). “Paradigms lost: Toward a new understanding of community participation in health programmes.” Acta Tropica, 61, 79-92

Rogers, E.M. (1995). Diffusion of Innovations (4th ed.). New York: Free Press.

Roopkhamdee, W. (2008). Philosophy of Sufficiency Economy and Community Development. In Sufficiency Economy Philosophy and Sustainable Development Center (editor.). Philosophy of Sufficiency Economy and Development Management (pp.179-201).
National Institute of Development Administration. (in Thai)

Thongpakdee, N. (2007). Philosophy of Sufficiency Economy: Background and Meaning. NIDA Development Journal. Vol.47, No. 1, pp.1-24. (in Thai)

White, K. (1999). “The Importance of Sensitivity to Culture in Development Work.” In T. Jacobson & J. Servaes (Eds.), Theoretical Approaches to Participatory Communication (pp. 17-50). Cresskill, NJ: Hampton.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-29