ศึกชิง "กัมพูชา" และ "ฮาเตียน" ระหว่างราชสำนักสยามและตระกูลเหงวียน ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ต่อเนื่องจนถึงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทางประวัติศาสตร์ของบรรดารัฐจารีตบนแผ่นดินใหญ่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การล่มสลายของกรุงศรีอยุธยาใน ค.ศ. 1767 ก่อเกิดสภาวะ “สุญญากาศ” ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ห้วงเวลานั้นเองที่พระยาตาก (สิน) รวบรวมผู้คนทางภาคตะวันออกของสยาม ขับไล่กองทัพอังวะและสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ หนึ่งในนโยบายฟื้นฟูราชอาณาจักรสยามของพระเจ้าตากสิน คือขยายอำนาจไปทางทิศตะวันออกในพื้นที่ที่ปัจจุบันคือประเทศกัมพูชาและบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ผลคือการเผชิญหน้ากับอ๋องตระกูลเหงวียน (Nguyễn) ที่ขยายอิทธิพลมายังพื้นที่ดังกล่าว ในระยะการเผชิญหน้านั้นมีเหตุการณ์เกิดขึ้นมากมาย อ๋องตระกูลเหงวียนเผชิญกับขบวนการเติยเซินทำให้นโยบายขยายอิทธิพลที่กำลังขับเคี่ยวกับสยามเปลี่ยนไป ที่ผ่านมาประวัติศาสตร์แห่งชาติของไทยและเวียดนามกล่าวถึงเรื่องนี้จากมุมมองของตนเป็นหลัก งานศึกษาเรื่องนี้ในลักษณะเปรียบเทียบหลักฐานไทยกับเวียดนามยังมีจำนวนน้อย งานวิจัยชิ้นนี้ใช้หลักฐานเวียดนามที่ยังไม่ค่อยถูกนำมาอ้างอิงคือ บันทึกความจริงแห่งราชอาณาจักรด่ายนาม บันทึกตระกูลหมัก บันทึกแห่งซาดิ่งห์ ซึ่งเป็นหลักฐานชั้นต้นภาษาเวียดนามร่วมสมัยกับเหตุการณ์ โดยประเด็นหลักในการศึกษา ได้แก่ ประการแรก เหตุใดสยามและตระกูลเหงวียนจึงพยายามขยายอิทธิพลของตนเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว ประการที่สอง หลักฐานเวียดนามรับรู้และมีมุมมองต่อการที่สยามรุกเข้าไปในเขตปากแม่น้ำโขงอย่างไร นอกจากนี้ยังพยายามเชื่อมร้อยและต่อภาพที่สมบูรณ์ของศึกครั้งนี้จากหลักฐานที่เกี่ยวข้องในหลายภาษา
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้เป็นของผู้เขียน คณะกรรมการวารสาร ภาควิชาประวัติศาสตร์ฯ กองบรรณาธิการ ตลอดจนกรรมการกลั่นกรองประจำฉบับ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องกับข้อคิดเห็นเหล่านั้น
References
เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-4. กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา, 2555.
ท่านผู้หญิงวรุณยุพา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา, ก่องแก้ว วีระประจักษ์, จรรยา มาณะวิท, พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล, ภัททิยา ยิมเรวัต, ศานติ ภักดีคำ, ศิรินันท์ บุญศิริ และ อรวรรณ ทรัพย์พลอย. พงศาวดารเขมร จ.ศ. 1217 ใน ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 12. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2549.
ปรามินทร์ เครือทอง. ชำแหละแผนยึดกรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ: มติชน, 2555.
ปรามินทร์ เครือทอง (บรรณาธิการ). ปริศนาพระเจ้าตาก. กรุงเทพฯ: มติชน, 2555.
พันจันทนุมาศ (เจิม). พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ: จดหมายรายวันทัพ, อภินิหารบรรพบุรุษ และเอกสารอื่น. กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา, 2551.
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์). กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา, 2552.
วินัย พงศ์ศรีเพียร. หมิงสือลู่-ชิงสือลู่ บันทึกเรื่องจริงแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงฯ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2559.
ศานติ ภักดีคำ. เขมรรบไทย ว่าด้วยประวัติศาสตร์การสงครามระหว่างไทย-เขมร. กรุงเทพฯ: มติชน, 2554.
สุเนตร ชุตินธรานนท์. พม่ารบไทย: ว่าด้วยการสงครามระหว่างไทยกับพม่า. กรุงเทพฯ: มติชน, 2537.
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 12. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2549.
Viện S ử h ọc, Viện Khoa học Xã Hội Việt Nam (Institute of History Studies, Department of Social Sciences of Việtnam). Đại Nam Thực lục, tập 1 (Veritable Records of the Great South). HàNội: NXB Giáo dục, 2007.
Viện Việ t Nam Học v à Khoa học Phát triển, Đại học Quốc gia Hà Nội (Institute of Vietnamese Studies, Hanoi National University). Hà Tiên trấn Hiệp trấn Mạc thị gia phả (Genealogy of the Mạc Family). HàNội: NXB Thế Giới, 2006.
Trịnh Hoài Đức. Gia Định Thành Thông Chí (Gia Dinh Gazetteer). n.p.: NXB Đồng Nai, 2005.
Chen, Chingho A. “Mac Thein Tu and Phraya Taksin: A Survey of Their Political Stand Conflicts and Background.” in Proceedings Seventh IAHA Conference Bangkok 22-26 August 1977 Vol.II edited by William Warren. Bangkok: Chulalongkorn University Press, 1977.
Cooke, Nola and Li, Tana edited. Water Frontier: Commerce and the Chinese in the Lower Mekong Region, 1750-1880. Singapore: Singapore University Press; Lanham, MD: Rowman & Littlefield, 2004.
Dutton,George. The Tây Sơn Uprising: Society and Rebellion in Eighteen-Century Vietnam. Chiang Mai: Silkworm Books, 2008.
Pawakapan,Puangthong R. “Warfare and Depopulation of the Trans-Mekong Basin and the Revival of Siam’s Economy.”in Warring Societies of Pre-Colonial Southeast Asia edited by Michael W. Charney and Kathryn Wellen. Copenhagen: NIAS Press, 2018.
Sakurai,Yumio and Kitakawa,Takako. “Ha Tien or Banteay Meas in the Time of the Fall of Ayutthaya.” in From Japan to Arabia: Ayutthaya’s Maritime Relations with Asia, edited by Kennon Breazeale. Bangkok: The Foundation for the promotion of Social Sciences and Humanities Textbooks Project, 1999.
Sellers, Nicholas. The Princes of Hà-Tiên(1682-1867). n.p.: Thanh-Long, 1983.
Smithies, Michael (edited). Alexander Hamilton: A Scottish Sea Captain in Southeast Asia 1689-1723. Chiang Mai: Silkworm Books.Taylor, Keith W. A History of the Vietnamese. Cambridge: Cambridge University Press, 2013.
Woodside, Alexander Barton. Vietnam and the Chinese Model: A Comparative Study of Nguyen and Ch’ing Civil Government in the First Half of the Nineteen Century. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press, 1971.