1. บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร

1.1 บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่กลั่นกรองคุณภาพของบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร โดยพิจารณาว่าบทความที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อตีพิมพ์จะต้องไม่เคยมีการตีพิมพ์มาก่อน มีการเสนอประเด็นที่แปลกใหม่ มีรูปแบบการนำเสนอที่ชัดเจน มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับขอบเขตของวารสาร และไม่มีการคัดลอกผลงานผู้อื่น (plagiarism)

1.2 เพื่อให้บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมีคุณภาพ บรรณาธิการมีหน้าที่กำกับดูแลกระบวนการพิจารณา เริ่มจากการประเมินเบื้องต้น ตรวจสอบการคัดลอกผลงานผู้อื่น (plagiarism) โดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้ และส่งบทความไปยังผู้ประเมิน โดยบรรณาธิการจะไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ทรงคุณวุฒิ  

1.3 หากบรรณาธิการตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่น ในกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการจะหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้นิพนธ์ทันทีเพื่อขอคำชี้แจง เพื่อประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้น

 

2. บทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์

2.1 ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมาให้กองบรรณาธิการพิจารณา เป็นผลงานใหม่ และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน

2.2 ผู้นิพนธ์ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัยอย่างถูกต้อง เที่ยงตรง ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ 

2.3 ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความอย่างครบถ้วน 

2.4 ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำผู้เขียน”

2.5 ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง

2.6 ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้ (ถ้ามี)

2.7 ผู้นิพนธ์ต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี) ให้กับบรรณาธิการก่อที่จะมีการส่งบทความเข้าสู่กระบวนการพิจารณา

 

3. บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ

3.1 ผู้ประเมินบทความ ต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ (confidentiality)

3.2 หลังจากได้รับบทความจากบรรณาธิการวารสาร และผู้ประเมินบทความตระหนักว่าตนเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ (เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่นๆ) ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆ

3.3 ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความที่จะมีต่อสาขาวิชานั้นๆ คุณภาพของการวิเคราะห์ และความเข้มข้นของผลงาน ไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความวิจัย

3.4 หากผู้ประเมินพบว่าบทความที่ประเมินมีลักษณะของการคัดลอกผลงานผู้อื่น (plagiarism) หรือมีเนื้อหาที่อ่อนไหว อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อบุคคลที่สาม ผู้ประเมินบทความมีหน้าที่แจ้งให้บรรณาธิการทราบ