ปัญหาการศึกษาภาษาอังกฤษในญี่ปุ่น: มิติประวัติศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งศึกษาปัญหาการศึกษาภาษาอังกฤษในญี่ปุ่นโดยเฉพาะปัญหาทักษะการสื่อสาร โดยวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างประเด็นอัตลักษณ์ที่ผูกติดกับภาษาต่างชาติ กับโครงสร้างการศึกษาภาษาอังกฤษที่จัดขึ้นในแต่ละยุคซึ่งก่อให้เกิดปัญหาประสิทธิภาพการศึกษาที่ส่งผลต่อเนื่องตามมา งานศึกษานี้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 ยุค ได้แก่ 1) การศึกษาภาษาต่างชาติก่อนการเปิดประเทศปี1853 2) กระแสสูงของการศึกษาภาษาอังกฤษจากยุคเปิดประเทศสู่ต้นสมัยเมจิ (1853-1883) 3) กระแสตีกลับจากกลางยุคเมจิถึงการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 (1883-1945) 4) การคืนสถานะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (1945-1987) และ 5) กระแสโลกาภิวัตน์กลางทศวรรษ 1980 ถึงต้นศตวรรษที่ 21 (1987-2011) ผลการศึกษาพบว่าประเด็นอัตลักษณ์ที่ผูกติดกับภาษาต่างชาติ ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างการศึกษาภาษาอังกฤษในญี่ปุ่นตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน แม้ญี่ปุ่นรับรู้ถึงความสำคัญของการศึกษาภาษาของชาติตะวันตกโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ แต่ก็ตระหนักถึงภยันตรายจากภายนอกที่อาจพ่วงมากับการเล่าเรียนจึงกำหนดแนวทางให้การศึกษาภาษาอังกฤษเป็นเพียงเครื่องมือในการรับวิทยาการตะวันตก ที่ไม่กระทบกับอัตลักษณ์ความเป็นญี่ปุ่น หลักการดังกล่าวนำไปสู่การลดทอนเนื้อหาของการศึกษาภาษาอังกฤษให้จำกัดเฉพาะด้านไวยากรณ์และการอ่านแปลความ โดยเฉพาะตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 ที่การศึกษาภาษาอังกฤษในโรงเรียนมีฐานะเป็นเพียงวิชาเรียนที่ใช้ในการสอบวัดความรู้หรือสอบเข้าศึกษาต่อ แต่เมื่อเข้าสู่ปลายศตวรรษที่ 20 กระแสโลกาภิวัตน์และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร ก็ทำให้ญี่ป่นุ ต้องปฏิรูปการศึกษาภาษาอังกฤษครั้งใหญ่โดยเฉพาะในด้านทักษะการสื่อสาร อย่างไรก็ตามการส่งเสริมการศึกษาภาษาต่างชาติที่มากขึ้นก็กระทบกับอัตลักษณ์ความเป็นญี่ปุ่น จนนำไปสู่แนวทางการจัดการศึกษาที่มีความลักลั่นขัดแย้งกันเองจนถึงปัจจุบัน
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้เป็นของผู้เขียน คณะกรรมการวารสาร ภาควิชาประวัติศาสตร์ฯ กองบรรณาธิการ ตลอดจนกรรมการกลั่นกรองประจำฉบับ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องกับข้อคิดเห็นเหล่านั้น
References
แฟร์แบงค์, จอห์น เค., เอ็ดวิน โอ. ไรเชาเออร์, และ แอลเบิร์ต เอ็ม. เครก. เอเชียตะวันออกยุคใหม่: จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน. ล.1. แปลโดย เพ็ชรี สุมิตรและคนอื่นๆ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2550.
สุกัญญา นิธังกร. การศึกษาไทย-ญี่ปุ่นยุคปรับตัวสู่สมัยใหม่: เหตุใดก้าวไกลต่างกัน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2549.
อาโซ, มากาโต. การศึกษากับการพัฒนาประเทศญี่ปุ่น. บรรณาธิการโดย ชลลดา จิตติวัฒนพงศ์. แปลโดย ประเสริฐ จิตติวัฒนพงศ์. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์, 2529.
Burks, Ardath W. “Japan’s Outreach: The Ryugakusei.” In The Modernizers: Overseas Students, Foreign Employees, and Meiji Japan. Edited by Ardath W. Burks. Boulder and London: Westview Press, 1985.
Buruma, Ian. Inventing Japan. New York: Modern Library, 2003.
Duke, Benjamin. The History of Modern Japanese Education: Constructing the National School System, 1872-1890. New Brunswick, New Jersey, and London: Rutgers University Press, 2009.
Minoru, Ishizuki. “Overseas Study by Japanese in the Early Meiji Period.” In The Modernizers: Overseas Students, Foreign Employees, and Meiji Japan. Edited by Ardath W. Burks. Boulder and London: Westview Press, 1985.
Morikawa, Terumichi. “Mori Arinori.” In Ten Great Educators of Modern Japan. Edited by Benjamin C. Duke. Tokyo: University of Tokyo Press, 1989.
Friedman, Jeffrey. “English Education in the Era of Meiji Japan.” World Englishes 35, no. 1 (2016): 3-17. https://onlinelibrary.wiley.com/doi/pdf/10.1111/weng.12169 (accessed February 10, 2018).
Fujimoto-Adamson, Naoki. “Globalization and history of English education in Japan.” Asian EFL Journal 8, no. 3 (2006): 259-282. https://www.asian-efl-journal.com/1204/quarterlyjournal/2006/09/globalization-and-history-of-english-education-in-japan/#squelch-taas-tab-content-0-3 (accessed February 2, 2018).
Hagerman, Craig. “English language policy and practice in Japan.” Osaka JogakuinCollege Kiyo Journal, (October 1, 2009): 47-64. http://www.wilmina.ac.jp/ojc/edu/kiyo_2009/kiyo_06_PDF/2009_04.pdf (accessed February 2, 2018).
Hosoki, Yukiko. “English Language Education in Japan: Transitions and Challenges.” Kokusai kankeigaku bulletin 6, no.1/2 (2011): 199-215. https://ci.nii.ac.jp/els/contentscinii_20171220111728.pdf?id=ART0009882896 (accessed February 2, 2018).
Reesor, Matthew. “The Bear and the Honeycomb: A History of Japanese English Language Policy.” NUCB Journal of Language Culture and Communication 4, no.1 (2002-05): 41-52. http://www.nucba.ac.jp/themes/s_cic@cic@nucba/pdf/njlcc041/05REESOR.PDF (accessed February 2, 2018).
Sasaki, Miyuki. “The 150 year History of English Language Assessment in Japanese Education.” Language Testing 25, no. 1 (2008): 63-68. http://journals.sagepub.com/doi/pdf/10.1177/0265532207083745 (accessed February 10, 2018).
Shimizu, Minoru. “Japanese English Education and Learning: A History of Adapting Foreign Cultures.” Educational Perspectives 43, no. 1-2 (2010): 5-11. https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ912110.pdf (accessed February 2, 2018).
Triane, Novita. “English Education at Elementary School in Japan.” Premise Journal 6, no. 1 (2017): 20-28. https://www.researchgate.net/publication/319937235_English_Education_at_Elementary_School_in_Japan (accessed February 10, 2018).
Ministry of Education, Culture, Sports, Science and Technology. “Developing a Strategic Plan to Cultivate ‘Japanese with English Abilities’.” http://unpan1.un.org/intradoc/groups/public/documents/APCITY/UNPAN008142.htm (accessed February 10, 2018).
Ministry of Education, Culture, Sports, Science and Technology. “Regarding the Establishment of an Action Plan to Cultivate ‘Japanese with English Abilities’.” http://www.gifunet.ed.jp/kyoka/eigo/CommunicativeEnglish/Regarding%20the%20Establishment%20of%20an%20Action%20Plan%20to%20Cultivate%20%A1%C8Japanese%20 with%20English%20Abilities%A1%C9.htm (accessed February 10, 2018).
Ministry of Education, Culture, Sports, Science and Technology. “Towards Advancement of ‘AcademicAbility’.” http://www.mext.go.jp/b_menu/hakusho/html/hpac200201/hpac 200201_2_015.html (accessed February 10, 2018).
TOEFL. “Test and Score Data Summary for TOEFL iBT Tests.” https://www.ets.org/s/toefl/pdf/94227_unlweb.pdf (accessed February 2, 2018).