บททดลองนำเสนอ ประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวทางสังคม: วิกฤตกับความสัมพันธ์ของกลุ่มและชนชั้นในจังหวัดพะเยา

Main Article Content

มนตรา พงษ์นิล

บทคัดย่อ

บทความทางวิชาการนี้ต้องการทดลองนำเสนอการศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวทางสังคมมุมมองใหม่ โดยชี้ให้เห็นถึงพลวัตการเคลื่อนไหวของความสัมพันธ์ของกลุ่มและชนชั้นอันเกิดจากวิกฤติทางสังคมในบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ บทความนี้เลือกจังหวัดพะเยาเป็นกรณีศึกษา โดยใช้เอกสารทางวิชาการและวรรณกรรมประเภทต่าง ๆ ในระดับประเทศและในระดับจังหวัดพะเยามาประกอบการวิเคราะห์เชิงพรรณนาปรากฏการณ์ กรณีศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวทางสังคมในพะเยาตั้งแต่ทศวรรษ 2500-2550 ว่ามีวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่าง ๆ ได้แก่ หนี้สินและความยากจน การขายบริการทางเพศและขายแรงงาน วิกฤตทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความขัดแย้งของอุดมการณ์ทางการเมืองตามลำดับ วิกฤตข้างต้นมีความสัมพันธ์กับการขยายตัวของรัฐ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองในระดับประเทศและในระดับจังหวัด การศึกษานี้ต้องการเสนอว่า วิกฤตที่เกิดขึ้นในบริบททางประวัติศาสตร์ของพะเยาส่งผลให้เกิดการก่อตัวและแตกตัวของชนชั้นและกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งใช้อุดมการณ์การพัฒนาชุดต่าง ๆ เป็นปฏิบัติการ อย่างไรก็ดี วิกฤติที่มีการเปลี่ยนแปลงในบริบททางประวัติศาสตร์ของพะเยา ส่งผลให้ปฏิบัติการของแต่ละกลุ่มมีการเปลี่ยนแปลงและมีการจัดความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างกลุ่มและชนชั้นที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กองทุนเพื่อสังคม (SIF) และชมรมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำกว๊านพะเยาและมูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา. ฤดูกาลแห่งป่าบ้านต๊ำใน ป่าชุมชนบ้านต๊ำใน อีกตัวอย่างหนึ่งของคนอยู่กับป่า. มปท., มปป.

โครงการพะเยาเพื่อการพัฒนา. ปราชญ์เมืองพยาว: ลมหายใจแห่งชีวิตและองค์ความรู้ของปราชญ์ท้องถิ่นและศิลปินพื้นบ้านจังหวัดพะเยา. พะเยา: โรงพิมพ์เจริญอักษร, 2543.

โครงการพะเยาเพื่อการพัฒนา. คน น้ำ ป่า ผญาพยาว: บทเรียนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในลุ่มน้ำอิงโดยองค์กรชุมชน. พะเยา: โรงพิมพ์เจริญอักษร, 2546.

จันทร์ติ๊บ ฟูเฟืองและคณะ. คนหาปลา: ชีวิตบนผืนน้ำกว๊านพะเยา. ชมรมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำกว๊านพะเยาและ โครงการพะเยาเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์, 2546.

เจริญ อาทิตยาและคณะ. ประสบการณ์การพัฒนาแนวทางศาสนาและวัฒนธรรม: งานวิจัยประเมินผลศูนย์สังคมพัฒนาสังฆมณฑลเชียงใหม่. เชียงใหม่: ศูนย์สังคมพัฒนาสังฆมณฑลเชียงใหม่, 2540.

ชัยวัฒน์ จันธิมา. กว๊านพะเยา: บทเรียนและความทรงจำ. พะเยา: โรงพิมพ์เจริญอักษร, 2545.

บำรุง บุญปัญญา. 3 ทศวรรษ แนวคิดวัฒนธรรมชุมชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2549.

ประภาส ปิ่นตบแต่ง. การเมืองบนท้องถนน: 99 วันสมัชชาคนจน. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและผลิตตำรามหาวิทยาลัยเกริก, 2541.

พรรณี บัวเล็ก. ลักษณะของนายทุนไทยในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2457-2482: บทเรียนจากความรุ่งโรจน์สู่โศกนาฏกรรม. กรุงเทพฯ: พันธกิจ, 2545.

มุกดา อินต๊ะสารและคณะ. 10 ปี ศูนย์รวมน้ำใจธนาคารหมู่บ้าน ความมุ่งมั่น ร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนท้องถิ่น อ.ดอกคำใต้. หนังสือส่งเสริมความรู้ด้านงานพัฒนา ชุดที่ 16. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน), 2546.

ยศ สันตสมบัติ. แม่หญิงสิขายตัว: ชุมชนและการค้าประเวณีในสังคมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, 2535.

ยงยุทธ ชูแว่น. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ประมวลและสังเคราะห์ความรู้เพื่อเขียนตำรา เรื่อง การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไทย". สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2547.

วิทยาลัยครูเชียงราย. ใต้ฟ้าเมืองพะเยา. โครงการผลิตหนังสือเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม จังหวัดพะเยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2526.

สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ. ประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมเมืองพะเยา. กรุงเทพฯ: มติชน, 2538.

สุวิน บุญนัด, ขอบคุณชาวพะเยา. บรรณาธิการโดย วิมล ปิงเมืองเหล็ก. มปท., 2546.

สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม. การจัดการการเงินชุมชน กรณีเครือข่ายธนาคารหมู่บ้าน จังหวัดพะเยา. ชุดบทเรียนจากชุมชน ลำดับที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม, 2545.

อภิชาต สถิตนิรามัยและคณะ. ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย. แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). เชียงใหม่: ล๊อคอินดีไซน์เวิร์ค, 2556.

อานันท์ กาญจนพันธุ์และมิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด. วิวัฒนาการของการบุกเบิกที่ดินทำกินในเขตป่า: กรณีศึกษาภาคเหนือตอนบน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 2538.

อุเชนทร์ เชียงเสน. การเมืองภาคประชาชน. กรุงเทพฯ: มติชน, 2561

มนตรา พงษ์นิล. “สิทธิชุมชนกับการกู้วัดติโลกอารามในกว๊านพะเยา.” หนังสือรวมบทความจากการประชุมทางวิชาการประจำปี มหาวิทยาลัยรังสิต ครั้งที่ 2 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิตวันที่ 3 เมษายน (2551): 255-263.

คณะกรรมการป่าชุมชน กลุ่มแม่บ้านและกลุ่มเยาวชนบ้านต๊ำใน. “รายงานชุดความรู้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติบ้านต๊ำใน.” โครงการการจัดการความรู้ในลุ่มน้ำแม่ต๊ำเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โครงการพะเยาเพื่อการพัฒนา, สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.), 2547.

คณะทำงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดพะเยา. “การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม จังหวัดพะเยา: รายงานฉบับสมบูรณ์.” สนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.), 2556.

จิราลักษณ์ จงสถิตมั่น. “วิกฤตทางวัฒนธรรมกับการดำรงชีวิตของเยาวสตรี: กรณีศึกษาผลกระทบของการพัฒนาชนบทภาคเหนือ (การวิจัยเอกสารเรื่องสถานภาพและบทบาทของสตรีภาคเหนือกับพัฒนาการของการขายบริการทางเพศ).” ทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2535.

นิวัตร สุวรรณพัฒนา. “ความคาดหวังของครอบครัว และบทบาทของลูกสาวใน ชุมชนค้าประเวณี : กรณีศึกษา หมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดพะเยา.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540.

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. “พัฒนาการจิตสำนึกและปฏิบัติการทางการเมืองของชาวเสื้อแดงในจังหวัดเชียงใหม่.” รายงานการวิจัยในชุดโครงการทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย, กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แผนงานสร้างเสริมการเรียนรู้กับสถาบันอุดมศึกษาไทย เพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.), สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (PPSI), 2555.

ปรีชา คุวินทร์พันธุ์. “รายงานผลการวิจัย พะเยาท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์กับความเป็นท้องถิ่น: หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์กับการท่องเที่ยว.” ทุนวิจัยกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.

ปลายอ้อ ชนะนนท์. “บทบาทนายทุนพ่อค้าที่มีต่อการก่อ และขยายตัวของทุนนิยมภาคเหนือของประเทศไทย พ.ศ.2464-2523.” วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529.

ไพลิน เขื่อนทา. “ลักษณะและพัฒนาการของกลุ่มการเมืองท้องถิ่นเทศบาลเมืองพะเยา ระหว่าง พ.ศ.2517 – 2538.” การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2539.

มนตรา พงษ์นิล. “รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง พลวัตวัฒนธรรมของประวัติศาสตร์การพัฒนาในอาณาบริเวณกว๊านพะเยา.” สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2548.

วณี ปิ่นประทีปและคณะ. “โครงการศึกษาตัวแบบการมีส่วนร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพระดับชุมชนระหว่างกองทุนของภาครัฐ องค์การบริหารส่วนตำบล และกองทุนสุขภาพชุมชน พื้นที่นำร่อง 7 พื้นที่.” มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, 2549.

สหัทยา วิเศษ. “ภูมิปัญญาชาวบ้านในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำ: ศึกษาเฉพาะกรณีกลุ่มฮักป่าศรีถ้อย ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา.” วิทยานิพนธ์พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2540.

สุนทร สุขสราญจิต. “100 ปี คนจีนในพะเยา.” รายงานวิจัย, มหาวิทยาลัยพะเยา, 2557.

อมรา พงศาพิชญ์และคณะ. “การศึกษาถึงความสอดคล้องระหว่างหลักการกับผลการปฏิบัติงานของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ : รายงานผลการวิจัย.” กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.

อริยา เศวตามร์. “การสร้างความหมายเกี่ยวกับชุมชนในกระบวนการผ้าป่าข้าวภายใต้บริบทของงานพัฒนาแนววัฒนธรรมชุมชนในจังหวัดพะเยา.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2542.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. “ปาฐกถานำ ปฏิรูปสังคมไทยหลังการเลือกตั้ง: บทบาทชนชั้นนำและการเมืองภาคประชาชน” ใน การประชุมเปิดตัวโครงการ “ประชาธิปไตย กับท้องถิ่น” (Sapan Project - CMU). นำข้อมูลขึ้นเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2554. http://www.peace.mahidol.ac.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=815&Itemid=162 (สืบค้นเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2561).

นิธิ เอียวศรีวงศ์. เสื้อเหลืองเป็นใครและออกมาทำไม. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1278919534&catid=02. (สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2558).

ประชาไท. เสวนาโต๊ะกลม: ทบทวนขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทย (พร้อมบทวิจารณ์). นำข้อมูลขึ้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2553, http://www.prachatai.com/journal/2010/09/31134(สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2558).

สภาองค์กรชุมชน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. นำข้อมูลขึ้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2556, สืบค้นจาก http://www.codi.or.th/2015-08-04-10-57-48 (สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562).

MGR Online ภาคเหนือ. คนพะเยารวมตัวริมกว๊าน ยืนหยัดค้าน กม.ล้างผิด. นำข้อมูลขึ้นเมื่อวันที่12 พฤศจิกายน 2556, https://mgronline.com/local/detail/9560000140635(สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562).

MGR Online ภูมิภาค. เปิดอกหนุ่มใหญ่เมืองกว๊านฯสายเลือดอีสาน จุดประกาย พธม.พะเยา-ต้านระบอบ“ทักษิณ”. นำข้อมูลขึ้นเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552, https://mgronline.com/daily/detail/9520000004406 (สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562).

sanook.com. แดงพะเยากว่า 3 พันร่วมเปิดอำเภอเสื้อแดง. นำข้อมูลขึ้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2555,https://www.sanook.com/news/1107638/ (สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562).

sanook.com. ป้ายปริศนา ขอแยกประเทศ โผล่กลางเมืองพะเยา.นำข้อมูลขึ้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2557, https://www.sanook.com/news/1431099/. (สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562).

VoiceTV. “หมอประสงค์-เจ๊ดา” เปิด 13 หมู่บ้านเสื้อแดงพะเยา.นำข้อมูลขึ้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2555, https://www.voicetv.co.th/read/27283 (สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562).

Migdal, Joel. State in Society: Study How States and Societies Transform and Constitute One Another. Cambridge: Cambridge University Press, 2001.

Phatharathananunth, Somchai. Civil Society and Democratization: Social Movements in Northeast Thailand. Reprinted 2nd. Copenhagen S.: NIAS Press, 2007.

Shigetomi, Shinichi (edited). The State and NGOs: Perspective from Asia1. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 2002.

Walker, Andrew. Thailand’s Political Peasant: Power in the Modern Rural Economy. Madison: The University of Wisconsin Press, 2012.

Keyes, Charles. ““Cosmopolitant” Villagers and Populist Democracy in Thailand.” A conference on “Revisiting Agrarian Transformations in Southeast Asia”, Chiang Mai, Thailand, 2010.