การทูตวิชาการ และความ(ไม่)รู้ ในความสัมพันธ์ไทย-จีน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอแนวทางใหม่ในการศึกษาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีนผ่านการสำรวจบทบาทของนักวิชาการและการสร้างองค์ความรู้ที่สนับสนุนการกระชับความสัมพันธ์ไทย-จีนในช่วงทศวรรษ 1970-1980 บทความนี้เสนอว่าความรู้ทางวิชาการและนักวิชาการเป็นทั้งเครื่องมือและตัวแสดงสำคัญในการสานความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน ผ่าน “การทูตวิชาการ” ที่รัฐบาลไทยและจีนสนับสนุนการไหลเวียนของนักวิชาการและความรู้ทางวิชาการระหว่างไทย-จีน การทูตวิชาการได้นำไปสู่การปรับเปลี่ยนสำนึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ชาติไทย และคนจีนในประเทศไทยจากการเป็น “คนอื่น” (The Other) สู่การเป็นส่วนที่สำคัญของชาติไทย ทั้งนี้การผลิตความรู้ของนักวิชาการนั้นในด้านหนึ่งก็ถูกผลักดันด้วยกระแส “ชาตินิยมวิชาการ” ของนักวิชาการไทยและจีนที่ต้องการปกป้องผลประโยชน์แห่งชาติของตนผ่านการสร้างองค์วามรู้ชุดหนึ่งขึ้น การสร้างองค์ความรู้ที่ปรับเปลี่ยนสำนึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ชาติไทย และคนจีนในประเทศไทยเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการลืมเลือนการเป็นศัตรูคู่ขัดแย้งในอดีตระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนในยามที่ความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการคานอิทธิพลของโซเวียตและเวียดนามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้เป็นของผู้เขียน คณะกรรมการวารสาร ภาควิชาประวัติศาสตร์ฯ กองบรรณาธิการ ตลอดจนกรรมการกลั่นกรองประจำฉบับ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องกับข้อคิดเห็นเหล่านั้น
References
กลุ่มนักข่าวการเมือง อักษรบัณฑิต. คึกฤทธิ์เปิดม่านไม้ไผ่. กรุงเทพฯ: อักษรบัณฑิต, 2518.
กิตติกร คนศิลป. “นัยสำคัญของนโยบายการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการของไทยแก่สาธารณรัฐประชาชนจีน 2518-2530.” วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531.
ขจัดภัย บุรุษพัฒน์, บรรณาธิการ. ชาวจีนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา, 2517.
เขียน ธีระวิทย์. “จีนศึกษาของไทย: เหลียวหลังแลหน้า” ใน จีนใหม่ในศตวรรษที่ 21. 17-26. กรุงเทพฯ: มติชน, 2549,
______. ทรรศนะของคนไทยที่มีต่อจีนและญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518.
คณะกรรมการสืบค้นประวัติศาสตร์ไทยเกี่ยวกับจีนในเอกสารภาษาจีน. ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-จีน พ.ศ.1825-2395. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี, 2523.
คึกฤทธิ์ ปราโมช. “ข้างสังเวียน.” สยามรัฐ. 28–30 มิถุนายน ค.ศ.1978, 7.
“จดหมายจากเจีย แยนจองถึงสุจิตต์ วงษ์เทศ ลงวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ.1982” ใน ศิลปวัฒนธรรม 3, ฉ.10 (กันยายน 2525): 46.
จุลชีพ ชินวรรโณ. 35 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน พ.ศ.2518-2553. กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊กส์, 2553.
เจียง อิ้งเหลียง. ประวัติศาสตร์ชนเชื้อชาติไท. แปลโดยคณะกรรมการสืบค้นประวัติศาสตร์ไทยเกี่ยวกับจีนในเอกสารภาษาจีน. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี, 2531.
พวงทอง รุ่งสวัสดิทรัพย์ ภวัครพันธุ์. สงครามเวียดนาม: สงครามกับความจริงของ “รัฐไทย”. กรุงเทพฯ: คบไฟ, 2549.
รัตนาพร เศรษฐกุล. โครงการประเมินสถานภาพไทศึกษา: เอกสารประกอบการประชุมเสนอผลการวิจัย. เล่ม 10. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.
ศิลป โหรพิชัย และ สันต์ สุวรรณประทีป. คนจีน 200 ปีภายใต้พระบรมโพธิสมภาร ภาค 2. กรุงเทพฯ: เส้นทางเศรษฐกิจ, 2531.
ศูนย์จีนศึกษา. คู่มือการใช้ศัพท์ภาษาจีน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546.
สกินเนอร์, จี. วิลเลียม. สังคมจีนในประเทศไทย: ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์. แปลโดย พรรณี ฉัตรพลรักษ์ และคณะ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2548.
สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์. กบฏจีนจน “บนถนนพลับพลาไชย”. กรุงเทพฯ: มติชน, 2555.
สุที หริมเทพาธิป. “เจีย แยนจอง (ยรรยง จิระนคร) เกิดที่หาดใหญ่ ไปเรียนเมืองจีน ค้นคว้าเรื่อง ‘คนไท’ ใน ยูนนาน เป็น ‘ศาสตราจารย์สองแผ่นดิน’” ใน “คนไท” ไม่ใช่ “คนไทย” แต่เป็นเครือญาติชาติภาษา : รวมความรู้ "ไทยศึกษา" ของ "ศาสตราจารย์สองแผ่นดิน", บรรณาธิการโดย สุจิตต์ วงษ์เทศ, 448-459. กรุงเทพฯ: มติชน, 2548.
สุภางค์ จันทวานิช และคนอื่น ๆ, บรรณาธิการ. ชาวจีนแต้จิ๋วในประเทศไทยและในภูมิลำเนาเดิมที่เฉาซัน. เล่ม 1-2. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534-2539.
สุลักษณ์ ศิวรักษ์. คำนำในการพิมพ์ครั้งแรก, ใน พลิกต้นตระกูลไทย: ประวัติศาสตร์ไทยในทัศนะของชาวจีน. พิมพ์ครั้งที่ 2. ต้วน ลีเซิง, 6–10. กรุงเทพฯ: พิราบ, 2527.
______. “ก่อนเข้าสู่จีนเป็นครั้งที่ 6.” ใน ขอดเกล็ดมังกร. 1-9. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย, 2537.
หลี ฟูจิ. บันทึกเรื่องสิบสองปันนา. แปลโดยคณะกรรมการสืบค้นประวัติศาสตร์ไทยเกี่ยวกับจีนในเอกสารภาษาจีน. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี, 2527.
หวาง เสี่ยวเยี่ยน. “สาเหตุที่ชาวจีนอพยพไปอยู่ที่เมืองไทยและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ.” ศิลปวัฒนธรรม 8, ฉ.3 (มกราคม 2530) : 112-120.
อรอนงค์ น้อยวงศ์. กัมพูชา: นโยบายต่างประเทศไทยสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2541.
อานันท์ ปันยารชุน. “ปาฐกถาพิเศษ” ใน ความสัมพันธ์ไทย-จีน: เหลียวหลังแลหน้า, บรรณาธิการโดย เขียน ธีระวิทย์ และ เจีย แยนจอง, 7-23. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.
“ไท้กั๋วเหยี่ยนจิวกั๋วจี้เสวียซู่เถ่าลุ่นฮุ่ยอวีเหลียงเว่ยจงกั๋วเสวียเจ่อ” (การประชุมวิชาการนานาชาติไทยศึกษากับนักวิชาการจีนสองท่าน). ใน ไท่จู๋ฉี่หยวนอวีหนานเจากั๋วเหยี่ยนจิวเวิ่นถี (การวิจัยปัญหาชนชาติไทกับอาณาจักรน่านเจ้า). เล่ม 3, 303-304.
จดหมายจากไฉ เจ๋อหมินถึงเฉิน หลวี่ฟ่าน, 3 สิงหาคม ค.ศ.1978 อ้างใน เฉิน หลวี่ฟ่าน. “จงไท่กวนซีรั่วกันเวิ่นถีเหยี่ยนจิวเค่อถีเสี่ยวเจี๋ย” (สรุปประเด็นการวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์จีน-ไทย). ใน ไท่จู๋ฉี่หยวนอวีหนานเจากั๋วเหยี่ยนจิวเวิ่นถี (การวิจัยปัญหาชนชาติไทกับอาณาจักรน่านเจ้า). เล่ม 1. บรรณาธิการโดย เฉิน หลวี่ฟ่าน. ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์หนังสือจีน, 2003, 6.
เฉิน จิ้งฟาง. “อีซื่อเฉิงกงเตอตุ้ยไว้เจียวหลิวฮวอต้ง” (ความสำเร็จของการแลกเปลี่ยนทางวิชาการกับต่างประเทศ). ตงหนานย่า (วารสารเอเชียอาคเนย์) 4 (1984): 45–46.
เฉิน หลวี่ฟ่าน และ ตู้อวี้ถิง, “หูปี้เลี่ยผิงต้าหลี่กั๋วซื่อโฟ่วอิ๋นฉี่ไท่จู่ต้าเลี่ยงหนานเชียน” (จักรพรรดิกุบไลข่านทรงพิชิตอาณาจักรต้าหลี่ทำให้ชนชาติไทยอพยพลงใต้ขนานใหญ่จริงหรือ). ใน ไท่จู๋ฉี่หยวนอวีหนานเจากั๋วเหยี่ยนจิวเวิ่นถี (การวิจัยปัญหาชนชาติไทกับอาณาจักรน่านเจ้า). เล่ม 1, 50-64.
เซี่ย ซือจง. “หนานเจา ไท่กั๋ว หยุนนานกู่กั๋ว: ตังไต้จงไท่กั๋วจู๋จู่อี้เตอจิ้งเจิงกั้วเฉิง” (น่านเจ้า ประเทศไทย และอาณาจักรโบราณยูนนาน: การปะทะของชาตินิยมไทย-จีนในยุคร่วมสมัย). เข่ากู่เหรินเล่ยเซวียเซียคัน (วารสารมานุษยวิทยาและโบราณคดี) 49 (1993): 50–69.
สถาบันวิจัยประวัติศาสตร์ประจำมณฑลยูนนาน, “จู้ไทกั๋วต้าสือก่วนไหลหว่อสั่วจั้วถัน” (เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ไฉ เจ๋อหมินเยี่ยมเยือนเพื่อสนทนากับทางสถาบัน). ใน ไท่จู๋ฉี่หยวนอวีหนานเจากั๋วเหยี่ยนจิวเวิ่นถี (การวิจัยปัญหาชนชาติไทกับอาณาจักรน่านเจ้า) เล่ม 2, 226-227.
สำนักการต่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรม. “จงไท่เหวินฮว่าเจียวหลิวเตอเท่อเตี่ยนเหอเวิ่นถี (ตี้ปาปู้เฟิน)” (รูปแบบการสื่อสารแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจีน-ไทยและปัญหา). ใน ไท่จู๋ฉี่หยวนอวีหนานเจากั๋วเหยี่ยนจิวเวิ่นถี (การวิจัยปัญหาชนชาติไทกับอาณาจักรน่านเจ้า) เล่ม 3, 16–17.
หวาง เสี่ยวเยี่ยน. “หัวเหรินอี๋หมินจวี๋ไทกั๋วเตอหยวนอินจี๋ฉีจิงจี้ฮวอต้ง” (สาเหตุที่ชาวจีนอพยพไปอยู่ที่เมืองไทยและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ). ยวิน หนานเซอหุ้ยเคอเสวีย (วารสารสังคมศาสตร์ยูนนาน) 6 (1982), 91–98.
หวาง เหว่ยหมิน, ไทกั๋วหัวเหรินเมี่ยนเมี่ยนกวน (หลากมุมมองต่อคนจีนในประเทศไทย). คุนหมิง: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยยูนนาน, 1993.
“A brief introduction of China International Association for Friendly Contact” China International Association for Friendly Contact, http://www.caifc.org.cn/en/content.aspx?id=616 (accessed on 19 August 2018).
Brady, Anne-Marie. Making the Foreign Serve China: Managing the Foreigners in the People’s Republic. Lanham: Rowman & Littlefield Publishers, 2003.
Chambers, Michael R. “The Chinese and the Thais are Brothers: The Evolution of the Sino-Thai Friendship.” Journal of Contemporary China 14, no. 25 (2005): 599-629.
Chen Lüfan and Du Yuting. “Whether Kublai Khan’s Conquest of the Dali Kingdom Gave Rise to the Mass Migration of the Thai People to the South.” Journal of the Siam Society 77, no. 1 (1989): 33–41.
Chen Lüfan. “A Brief Analysis on Cultural Relics of Nanzhao-Dali Kingdom.” Journal of the Siam Society 77, no. 1 (1989): 43–53.
Chulacheeb Chinwanno. “Rising China and Thailand’s Policy of Strategic Engagement.” In The Rise of China: Responses from Southeast Asia and Japan, edited by Jun Tsunekawa, 81-109. Tokyo: The National Institute for Defense Studies, 2009.
Keyes, Charles. “Who are the Tai? Reflections on the invention of identities.” In Ethnic Identity: Creation, Conflict and Accommodation, 3rd ed, edited by Lola Romanucci-Ross and George De Vos, 136-160. London: Altamira press, 1995.
Liang Yongjia. Inalienable Narration: The Nanzhao History between Thailand and China (January 20, 2011). Asia Research Institute Working Paper, No. 148. Available at https://ssrn.com/abstract=1743933 or http://dx.doi.org/10.2139/ssrn.1743933
Mullaney, Thomas S. Coming to Terms with the Nation: Ethnic Classification in Modern China. Berkeley: University of California Press, 2011.
Sittithep Eaksittipong. “Textualizing the ‘Chinese of Thailand’: Politics, Knowledge and the Chinse in Thailand during the Cold War.” Ph.D. diss. National University of Singapore, 2017.
Skinner, G. William. Chinese Society in Thailand: An Analytical History. Ithaca: Cornell University, 1957.
Thongchai Winichakul. “The Changing Landscape of the Past: New Histories in Thailand since 1973.” Journal of Southeast Asian Studies 26(1): 99-120.
Yong Deng. “Sino-Thai Relations: From Strategic Co-operation to Economic Diplomacy.” Contemporary Southeast Asia 13, no. 4 (March 1992): 360-374.